WordPress Theme คืออะไร [พร้อมวิธีติดตั้ง และวิธีเลือกธีมเกรด A]

คำว่า Theme ซึ่งเป็นคำที่หลายๆ คน มักจะคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นใน โทรศัพท์มือถือ, แท็บเล็ต, คอมพิวเตอร์ หรือ อุปกรณ์อื่นๆ ล้วนมี ธีม สำหรับการปรับแต่งของอุปกรณ์ต่างๆ ให้ดูสวย ดูแปลกตา รวมถึง WordPress เอง ก็มี WordPress Theme สำหรับการปรับแต่งของหน้าเว็บไซต์เหมือนกัน

แต่สำหรับบางคน อาจจะยังไม่รู้จักว่า WordPress Theme คืออะไร? และมีการทำงานอย่างไร? ติดตั้งแบบไหนกัน ซึ่งในบทความนี้ ผมจะมาสอนวิธีการใช้งานทุกขั้นตอนเลยครับ รวมไปถึง วิธีการเลือกธีม ที่มีประสิทธิภาพ

ภาพตัวอย่างของ Theme บางส่วน
ภาพตัวอย่างของ Theme บางส่วน

WordPress Theme คืออะไร?

WordPress Theme หรือเรียกสั้นๆ ว่า ธีม เป็นเหมือนหน้าตาภาพลักษณ์ของเว็บไซต์ที่เราสามารถเลือกใช้งานได้แบบฟรีๆ และก็ แบบเสียเงิน ซึ่งความแตกต่างระหว่างธีมฟรีและเสียเงินนี้อยู่ที่การปรับแต่งของ WordPress ที่จะมีความยากง่าย แตกต่างกันไป

กรณีที่เราต้องการเลือกใช้งานธีมฟรีสำหรับ WordPress สามารถเลือกได้จากเว็บไซต์ WordPress.org และในกรณีที่เราจะทำการสั่งซื้อ เราสามารถสั่งซื้อได้จากเว็บที่ให้ขายธีมโดยเฉพาะ ตัวอย่างเช่น Themeforest.net หรือที่ผมใช้ทำเว็บไซต์อยู่สักส่วนมากก็จะเป็น Theme Plant ซึ่งพัฒนาโดยทีมคนไทยเองสามารถอ่านรีวิวได้จากบทความนี้ รีวิว Theme Plant ธีมที่พัฒนาโดยทีมคนไทย

Theme ทำงานอย่างไร?

หลายๆ คนเคยสงสัยไหมครับว่า ติดตั้งธีมบนเว็บไซต์แล้ว ต้องทำยังไงต่อ ติดตั้งแล้วให้ไปไหนต่อ โดยเฉพาะมือใหม่ ที่กำลังฝึกใช้ WordPress ล้วนเป็นคำถามที่ทุกคนสงสัยและอยากรู้คำตอบมาก

อย่างที่ผมได้บอกขั้นต้นไปแล้วครับว่า ธีม คือรูปแบบ หรือหน้าตาของเว็บไซต์ ซึ่งเมื่อเราติดตั้งและกดใช้งานไปแล้ว หน้าตาของหน้าเว็บไซต์ ก็จะเปลี่ยนไปตามรูปแบบธีมที่เราเลือกติดตั้งนั้นเอง และจะมีเครื่องมือการตั้งค่าต่างๆ ให้เราเลือกออกแบบ ในสไตล์ที่เราต้องการ เช่น การปรับแต่ง Header, Content และ Footer เป็นต้น

หากต้องการจัดการหน้าเว็บ หรือ จัด Layout หน้าเว็บไซต์ให้สวยๆ แนะนำให้ใช้ปลั๊กอินจัดหน้า WordPress

ดังนั้น การทำงานของธีม เปรียบเสมือนเครื่องมือที่ใช้ควบคุมหน้าตาของเว็บไซต์ โดยที่เราไม่ต้องเขียน CSS เพื่อปรับแต่งเว็บไซต์เอง แต่ละธีม จะมีการปรับแต่งให้เราเรียบร้อยแล้ว และ แต่ละธีม ก็จะมีการปรับแต่งที่แตกต่างกันไป

วิธีติดตั้ง Theme

การติดตั้งธีม จะมีหลายวิธีให้เราเลือกติดตั้ง สำหรับ WordPress แต่ในบทความนี้ ผมจะสอนวิธีติดตั้งธีม 3 วิธีด้วยกัน ดังนี้

  1. ติดตั้งธีมด้วยการค้นหาผ่าน WordPress Dashboard (เฉพาะธีมฟรีของ WordPress เท่านั้น)
  2. ติดตั้งธีมด้วยการอัพโหลดผ่าน WordPress Dashboard (ติดตั้งได้ทั้งของฟรี และ Premium)
  3. ติดตั้งธีมด้วยการอัพโหลดผ่าน FTP (ติดตั้งได้ทั้งของฟรี และ Premium)

1. วิธีติดตั้งธีมด้วยการค้นหาผ่าน WordPress Dashboard

การติดตั้ง Theme WordPress ในหน้า แดชบอร์ด เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดวิธีหนึ่ง เพียงแค่เรา Login เข้าสู่ระบบหลังบ้าน จากนั้นเลือกเมนู “Appearance” ของหน้าแดชบอร์ด แล้วคลิกที่ “Themes” ดังรูป

ขั้นตอนการเข้าหน้า Theme ในหน้า Dashboard ของ WordPress
ขั้นตอนการเข้าหน้า Theme ในหน้า Dashboard ของ WordPress

คลิกที่ปุ่ม “Add New” จากนั้นเราก็สามารถค้นหาธีมที่ต้องการติดตั้ง เช่นตัวอย่างธีมเกี่ยวกับร้านค้า ค้นหาคำว่า “Store” จากนั้นก็จะมีธีมต่างๆ ที่เกี่ยวกับร้านค้ามาให้เราติดตั้ง จากนั้นคลิกที่ “Install” เพื่อทำการติดตั้งธีมที่ต้องการได้เลย ดังรูป

ปุ่มสำหรับเพิ่มธีม WordPress
ปุ่มสำหรับเพิ่มธีม WordPress
ตัวอย่างการติดตั้ง Theme WordPress
ตัวอย่างการติดตั้ง Theme WordPress

หลังจากติดตั้งเสร็จ ก็จะมีปุ่ม “Active” ขึ้นมา เพื่อทำการเปิดใช้งานะธีมที่เราติดตั้ง ดังรูป

ตัวอย่างการเปิดใช้งานธีม WordPress หลังการติดตั้งเสร็จ
ตัวอย่างการเปิดใช้งานธีม WordPress หลังการติดตั้งเสร็จ

เพียงเท่านี้ เราก็จะได้ธีมที่เราเลือกมาใช้บนเว็บไซต์ของเราเรียบร้อยแล้ว ซึ่งหน้าตาของหน้าเว็บไซต์ อาจไม่เหมือนในรูปตอนที่เราค้นหา หากเราต้องการให้แสดงแบบในรูป เราต้องตั้งค่าเองทั้งหมดครับ เราสามารถที่จะทำให้เหมือน หรือไม่เหมือนก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสามารถของเราครับ

2. วิธีติดตั้งธีมผ่าน WordPress Dashboard ด้วยการอัพโหลด

วิธีนี้ส่วนใหญ่แล้วจะติดตั้งธีมที่เป็นของ Premium หรือ ปลั๊กอินที่ดาวน์โหลดมาจากที่อื่น เช่นจากตัวอย่างนี้ผมดาวน์โหลดมาจากเว็บไซต์ของ WordPress เอง คือ wordpress.org เพื่อนำมาเป็นตัวอย่างการติดตั้ง

ขั้นตอนแรก ให้เข้าไปที่เว็บไซต์ wordpress.org จากนั้นคลิกที่เมนู Themes แล้วค้นหาธีมที่เราต้องการ เช่นปลั๊กอินเกี่ยวกับร้านค้าเหมือนเดิน จากนั้นให้คลิกที่ “Download” ดังรูป

ตัวอย่างการค้นหาธีมในเว็บไซต์ wordpress.org
ตัวอย่างการค้นหาธีมในเว็บไซต์ wordpress.org

เมื่อได้ปลั๊กอินที่ดาวน์โลหดมาแล้ว ให้เข้าไปที่เว็บไซต์ของเรา เลือกเมนู “Appearance” ของหน้าแดชบอร์ด แล้วคลิกที่ “Themes” ดังรูป

คลิกที่ปุ่ม “Add New” จากนั้นให้คลิกที่ “Upload Theme” แล้วเลือกไฟล์ธีมที่เราดาวน์โหลดมา แล้วกด “Open” ดังรูป

วิธีเพิ่ม Theme WordPress
วิธีเพิ่ม Theme WordPress
วิธีอัพโหลด Theme WordPress ผ่าน Dashboard
วิธีอัพโหลด Theme WordPress ผ่าน Dashboard

เมื่อเลือกธีมมาแล้ว สังเกตุว่าจะมีปุ่ม “Install Now” เพื่อทำการติดตั้งธีมลงบนเว็บไซต์ของเรา เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว จะเด้งไปที่หน้าเปิดใช้งานธีม ให้คลิกที่ “Activate” เพื่อเปิดใช้งานธีม ดังรูป

กด Install Now เพื่อติดตั้ง Theme WordPress
กด Install Now เพื่อติดตั้ง Theme WordPress
กด Active Theme หลังจากติดตั้งเสร็จ
กด Active Theme หลังจากติดตั้งเสร็จ

เพียงเท่านี้เราก็จะได้ธีมที่เราติดตั้งด้วยการอัพโหลดจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เข้าไปยังเว็บไซต์ของเราแล้วครับ

3. วิธีติดตั้งธีม WordPress ผ่าน SFTP/FTP

วิธีนี้ คือวิธีที่ต้องดำเนินการทุกขั้นต้อนด้วยตนเองหมดผ่าน SFTP/FTP จากตัวอย่างนี้ผมใช้เป็นโปรแกรม Filezilla เพื่อทำการเชื่อต่อ FTP เข้าไปยังไฟล์ต่างๆ ใน Domainของเรา ซึ่งวิธีการเชื่อมต่อ SFTP/FTP แนะนำให้อ่านบทความนี้ วิธีเชื่อมต่อ FTP Username + Password FTP โดยส่วนใหญ่แล้ว เวลาเช่า Hosting ครั้งแรก ทาง Hosting จะให้เรามาเรียบร้อยแล้ว แต่ถ้ายังไม่มีก็สามารถสร้างเองได้ แนะนำให้อ่านบทความนี้ วิธีสร้าง FTP

ขั้นตอนแรกให้ทำการดาวน์โหลดธีมตาม “วิธีที่ 2” เมื่อสักครู่ และเมื่อดาวน์โหลดเสร็จแล้ว ให้ทำการ “แตก” ไฟล์ออกจากไฟล์ rar ดังรูป

ตัวอย่างการแตกไฟล์ธีม WordPress
ตัวอย่างการแตกไฟล์ธีม WordPress

จากนั้นให้ทำการเชื่อมต่อ FTP แล้วให้เข้าไปที่โฟลเดอร์ “wp-content/themes” ของ WordPress ใน Domain ของเรา และทำการลากโฟลเดอร์ Theme ที่เราแตกมาเมื่อสักครู่ ไปใส่ในโฟลเดอร์ themes ฝั่ง Doamin ของเรา เพื่อทำการอัพโหลดไฟล์เข้าไปยังเว็บไซต์ ดังรูป

ตัวอย่างการอัพโหลด Theme WordPress ผ่าน FTP
ตัวอย่างการอัพโหลด Theme WordPress ผ่าน FTP

เมื่ออัพโหลดเสร็จแล้ว ให้เข้าไปดูในเว็บไซต์เราได้เลย แล้วเข้าไปที่เมนู “Appearance” ของหน้าแดชบอร์ด แล้วคลิกที่ “Themes” สังเกตุได้ว่าจะมีธีม ที่เราได้ทำการอัพโหลดเข้ามาในเว็บไซต์เรียบร้อยแล้ว แต่ธีมจะอยู่ในสถานะ Deactive อยู่ หรือยังไม่ได้เปิดใช้งานอีก หากต้องการเปิดใช้งาน ให้กดที่คำว่า “Active” ได้เลย ดังรูป

วิธีเปิดใช้งาน Theme WordPress หลังจากติดตั้งเสร็จ
วิธีเปิดใช้งาน Theme WordPress หลังจากติดตั้งเสร็จ

วิธี Deactive หรือ Delete Themes WordPress

Deactive Theme คือ การปิดใช้งานใช้งานธีมของ WordPress เมื่อเราทำการ Deactive Theme หมายความว่าธีมตัวนั้นจะไม่ทำงานบนเว็บไซต์ของเรา

Delete Theme คือ การลบธีมออกจากเว็บไซต์ WordPress ของเรา หากต้องการลบธีม ธีมตัวนั้นต้องอยู่ในสถานะที่ Deactive (ปิดใช้งาน) ถึงจะลบได้ เพราะถ้าธีมอยู่ในสถานะ Active (เปิดใช้งาน) อยู่ จะไม่มีปุ่ม Delete ขึ้นมา

Deactive Theme WordPress

ให้เข้าไปที่เมนู “Appearance” ของหน้าแดชบอร์ด แล้วคลิกที่ “Themes” วิธี Deactive (ปิดใช้งาน) ธีมปัจจุบัน คือต้อง เปิดใช้งาน (Active) ธีมตัวอื่นก่อน เหมือนเป็นการสลับกัน สลับไปใช้ตัวนุ้น ตัวนี้ก็จะถูกปิดใช้งาน (Deactive) ดังรูป

กด Activete Theme อื่นสลับ เพื่อ Deactive Theme ปัจจุบัน
กด Activete Theme อื่นสลับ เพื่อ Deactive Theme ปัจจุบัน

Delete Theme WordPress

เลือกธีมที่ต้องการลบ แล้วคลิกที่ธีมตัวนั้นๆ ซึ่งธีมตัวนั้นจะต้องไม่ถูกใช้งานอยู่ ถึงจะสามารถลบได้ จากนั้นคลิก “Delete” ได้เลย ดังรูป

วิธี Delete Theme WordPress
วิธี Delete Theme WordPress

วิธีเลือกธีมที่มีคุณภาพ

หากเราค้นหาคำว่า WordPress Theme ใน Google ผลการค้นหาก็ออกมามากมายนับไม่ถ้วน มีทั้งของฟรีและเสียเงิน หลายคนน่าจะเคยลองใช้ธีมฟรีมากันแทบทุกคนอยู่แล้ว มีนักพัฒนามากมายที่สร้างสรรค์ธีมดีๆ มาแจกกัน แน่นอนว่าทั้งของฟรีและเสียเงินนั้นมีข้อดี ข้อเสีย แตกต่างกันไป ดังนี้

ข้อดีของธีมฟรีและเสียเงิน

  • มีการอัพเดทประจำ หรือ ไม่ควรเกิน 1 ปี
  • มีเอกสารคู่มือที่ดี
  • มีการซัพพอร์ตอย่างต่อเนื่อง
  • มีคนใช้งานเยอะๆ
  • มีรีวิวที่ดี

ข้อเสียของธีมฟรีและเสียเงิน

  • ราคา
  • ต้องมาตั้งค่าเยอะ
  • ฟีเจอร์ที่ไม่ต้องการ
  • ใช้งานยาก

โดยทั่วไปแล้วการเลือก Theme WordPress ไม่ว่าจะเป็นแบบฟรีและแบบเสียเงิน สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับต้นๆ คือ คุณภาพ, การซัพพอร์ตหลังจากที่ปล่อยให้เราใช้กันไปแล้ว, ความปลอดภัย (Security) และความเร็ว (Page Speed)

วิธีง่ายที่สุดที่จะประเมินว่าธีมนี้ดีหรือไม่ดี ให้ดูจากคอมเม้น หรือ รีวิวลากผู้ใช้ที่ซื้อไปแล้ว หากผู้พัฒนามีระบบซัพพอร์ต กระดานข่าว ให้ไปลองไล่ดูปัญหาที่พบกับธีมนั้นๆ และวิธีการแก้ไขของผู้พัฒนาว่าสามารถแก้ไขได้มากน้อยเพียงใด

การเลือกซื้อธีมของพรีเมี่ยม แนะนำเว็บ codecanyon.net ซึ่งเป็นเว็บไซต์รวม ซอร์สโค้ดต่างๆ

วิธีเลือกซื้อ Theme Premium

ลองพิจารณาและเลือกซื้อธีมดังนี้ครับ

  • Sales : ดูปลั๊กอินที่มียอดขายเยอะๆ
  • Rated : เลือกดูธีมที่มีเรทรีวิว 5 ดาว
  • Last updated : ดูว่าอัพเดตครั้งล่าสุดเมื่อไหร่ ซึ่งก็ไม่ควรเกิน 1 ปี
  • หาผู้ที่รีวิวตามเว็บไซต์ต่างๆ ใน Youtube หรือใน facebook ว่าเค้าใช้แล้วดีหรือไม่ดี มีปัญหาอะไรกันบ้าง

Theme Free กับ Premium ต่างกันอย่างไร?

ความแตกต่างระหว่างธีม Free กับ Premium ก็จะเป็นในเรื่องของฟังค์ชั่นการใช้งานต่างๆ เช่น ในส่วนของ Header หรือ Footer บางธีมฟรี ไม่สามารถ Custom ในแบบที่เราต้องการได้ จำเป็นที่จะต้องซื้อแบบ Premium มาใช้ เพราะแบบ Premium ส่วนใหญ่ นักพัฒนาทุกคน ออกแบบมาให้เราสามารถ Custom ได้ทุกอย่าง

ของ Premium บางธีม ก็อาจจะแถม Page Builder มาให้เราใช้เรียบร้อยแล้ว โดยที่เราไม่ต้องไปโหลดปลั๊กอิน Pgae Builder ต่างๆ มาติดตั้งให้ยุ่งยาก บางธีมก็มาแบบครบสมบูรณ์ทุกอย่าง

ดังนั้น ธีม Free กับ Premium ส่วนมากแล้ว จะแตกต่างตรงที่ฟังก์ชั่นการใช้งาน หรือ ลูกเล่นต่างๆ ความสมบูรณ์แบบ ความปลอดภัย และความเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์

คำแนะนำ

การติดตั้ง “ธีม WordPress” บนเว็บไซต์ หลังจากที่เปิดใช้งานเป็นเวลายาวนานแล้ว ควรเข้าไปตรวจสอบบ้าง ว่ามีการอัปเดตอะไรหรือเปล่า หรือถ้ามี แนะนำให้ อัปเดตอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการโดนแฮก หรือ ทำให้เกิดช่องโหว่กับเว็บไซต์ของเรา ก่อนที่จะอัปเดตแนะนำให้ BackUp หรือ สำรองไฟล์เก็บไว้ ด้วยปลั๊กอิน All-in-One WP Migration เพราะหลังจากอัปเดต เว็บไชต์เราอาจดูผิดปกติ เราจะได้กู้คืนได้

สรุป

WordPress Theme นั้นมีความสำคัญกับเว็บไซต์มาก เพราะจะช่วยเพิ่มฟังก์ชั่นต่างๆ ให้กับเว็บไซต์ของเรา ทำให้เว็บไซต์ของเรา ดูสวย มีลูกเล่นต่างๆ ทำให้ผู้ที่เข้ามาชมเว็บไซต์ของเรา ดูแล้วไม่น่าเบื่อครับ

WordPress Theme จะมีทั้งของ Free และของ Premium ให้เราใช้กัน หากต้องการติดตั้งลงบนเว็บไซต์ของเรา ควรศึกษาและหาข้อมูลเกี่ยวกับธีมตัวนั้นให้มากๆ ดูรีวิวทาง Social ต่างๆ เลือกซื้อ หรือ ติดตั้งที่มียอดวิวเยอะๆ คะแนนเรทติ้งสูงๆ และควรดูว่าอัพเดตครั้งล่าสุดเมื่อไหร่ ซึ่งไม่ควรเกิน 1 ปีครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *