5 STEP สร้างเว็บ WordPress ด้วยตัวเอง เริ่มจาก 0 [ไม่ต้องมีพื้นฐาน]

อยากมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง!

ในบทความนี้ผมจะมาแนะนำ วิธีการ สร้างเว็บ wordpress ด้วยตัวเอง เริ่มจาก Step 0 – จนถึงเว็บสามารถออนไลน์ได้ ซึ่งจะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ได้ แต่คิดว่าขึ้นอยู่กับความพยายามของแต่ละคนครับ หากทำตามขั้นตอนแล้ว ผมรับประกันว่าทำได้แน่นอน

เรามาเรียนรู้ขั้นตอนการสร้างเว็บไซต์ ในแบบที่คนเขียนโค้ดไม่เป็น ก็สามารถทำได้เองที่บ้าน

ในช่วงที่ไวรัสกำลังระบาด เพื่อนๆ คงต้องอยู่กับบ้าน ไม่ก็ Work From Home ทำให้มีช่วงเวลาว่างค่อนข้างเยอะ ผมแนะนำให้เพื่อนๆ ลองศึกษาอะไรใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยได้ทำ เพื่อเพิ่มโอกาสในการหารายได้เสิรม เช่น การสร้างเว็บไซต์ การตลาดออนไลน์ หรือ ทักษะอื่นๆ ที่สามารถต่อยอดเป็นช่องทางรายได้เสริมได้ และอยู่บ้านก็ทำได้

เข้าใจกันก่อน ทำไมต้องใช้ WordPress

ย้อนกลับไปสมัยก่อนโน้น การที่เราจะมีเว็บไซต์สักเว็บเนี่ย อันดับแรกคือ ต้องเขียนโปรแกรมเป็น ต่อมาก็ต้องเข้าใจหลักการทำงานของเว็บไซต์ การตกแต่งเว็บไซต์ ทักษะในการแก้ไขปัญหาต่างๆ กว่าจะเสร็จสักเว็บใช้เวลาเป็นเดือน หรือหลายเดือน ส่วนใหญ่จะฮิตใช้ Dreamweaver กัน

แต่เมื่อเทคโนโลยีด้านเว็บไซต์พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้มีคนพัฒนาเครื่องไม้เครื่องมือ ที่อำนวยความสะดวกให้กับเรา ร่นระยะเวลาการสร้างเว็บไซต์ให้น้อยลงเหลือสับดาห์ ลดการเขียน Code มีระบบหลังบ้านให้เราใช้กันง่ายๆ ซึ่งเพลตฟอร์มเหล่านี้เรียกว่า CMS หรือ Content Management System

CMS ยอดนิยมมีหลายตัว เช่น WordPress, Joomla, Drupal, Magento และอื่นๆ แต่ที่นิยมสุดๆ ก็คือตัว WordPress นี่แหละครับ ทราบไหมครับว่า เว็บไซต์ทั่วโลกใชั WordPress ทำเว็บมากถึง 35.8% ของเว็บไซต์ทั้งหมด บ่งบอกถึงคุณภาพและอะไรหลายๆ อย่าง

ก่อนไปต่อ แนะนำให้อ่านบทความเรื่อง “WordPress คืออะไร?เพื่อทำความรู้จัก WordPress มากขึ้น

STEP 1 : จดชื่อ Domain และ เช่า Hosting

จดชื่อ Domain (ชื่อเว็บไซต์)


Domain Name คือ ชื่อเว็บไซต์ แต่ละเว็บไซต์ต้องมีชื่อไม่ซ้ำกัน เป็นชื่อที่เราอ่านได้ง่าย ใช้สำหรับเข้าถึงเว็บไซต์เรานั่นเองครับ ตัวอย่างเช่น www.teeneeweb.com ชื่อเว็บ จะเป็นภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาไทย ก็ได้ไม่มีปัญหา

วิธีตั้งชื่อโดเมนที่ดี

ยิ่งสั้นยิ่งดี
ความยาวของชื่อโดเมนที่แนะนำ ไม่ควรเกิน 2-5 คำ เช่น wp+blood, tee+nee+web, face+book เป็นต้น ซึ่งจุดประสงค์คือ เพื่อให้จดจำได้ง่าย พิมพ์ก็ได้ ถ้าชื่อยาวๆ เช่น wpbloodwordpressexpert.com ลองเดาดูครับ ว่ามีใครจะกล้าพิมพ์ไหม

อ่านและจำได้ง่าย
อย่าพยายมสะกดให้ยากๆ หรือใช้พวกตัวย่อ หรืออ่านยากๆ เพราะถ้าเป็นเรา ก็ขี้เกียจจำใช่ไหมครับ ยิ่งถ้าเป็นชื่อ 2-3 คำ จะดีที่สุดครับ

มี Keyword ในโดเมน
การแทรก Keyword ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการ หรือสถานที่ ประกอบในโดเมน ช่วยให้ลูกค้าเราจำง่ายขึ้น และยังช่วยในเรื่องอันดับบนกูเกิลด้วย หรือ SEO

สื่อถึง Brand
อย่างน้อยต้องมีความเกี่ยวข้องกับแบรนด์ หรือ สินค้าของเรา ไม่มากก็น้อย บางคนตั้งชื่อตามแบรนด์ตรงๆ ไปเลยก็ได้ เช่น ผมจะขาย น้ำส้มสำหรับเด็ก ผมอาจจะตั้งชื่อว่า orangekids ก็ได้ครับ อ่านคล่อง จำก็ได้ ไปพูดให้ใครฟัง ใครก็พิมพ์ตามได้สบาย

แต่อยากให้แยกให้ออกว่า ระหว่างชื่อ แบรนด์ กับ ชื่อบริษัท บางที อาจจะคนละชื่อก็ได้ เพราะเป็นไปได้ว่าบริษัทจะมีหลายแบรนด์

นามสกุล .com หรือ dot อะไรดี?
เบื้องต้นแนะนำเป็น .com แต่ด้วยความที่ dot com คนจดเยอะมาก ชื่อที่เราต้องการ .com อาจจะไม่ว่างแล้ว ฉะนั้นอย่ายึดติดกับ .com มากเกินไป

สกุลอื่นก็มีอีกเยอะให้เลือก เช่น .co, .co.th, .net, .xyz, .shop, .online, .in.th, .asia, .biz, .clinic แต่ส่วนมากที่เค้านิยมจดกันก็จะมีดังนี้

  • .co : พวก StartUP นิยม
  • .in.th : อาจจะมองว่า เป็นธุรกิจที่อยู่ในไทย ทำเฉพาะในไทย
  • .net : เห็นได้ทั่วไป ไม่เฉพาะเจาะจง
  • .shop สำหรับร้านค้าโดยเฉพาะ
  • .biz เว็บไซต์ธุรกิจ
  • .clinic สำหรับธุรกิจคลินิก
  • .co.th สำหรับบริษัทเท่านั้นถึงจะจดได้
  • และยังมี Dot อื่นๆ อีกเยอะมากครับ ก็ลองเลือกดูตามความเหมาะสมกับธุรกิจของเพื่อนๆ นะครับ

จดโดเมนที่ไหนดี?
มีเว็บไซต์รับจดโดเมนเยอะมากครับ แต่ส่วนใหญ่ที่ได้รับความนิยมก็ประมาณนี้ครับ

ส่วนตัวผมชอบจดที่ Hostatom เพราะเป็นบริษัทคนไทย ทีม Support ก็คนไทย คุยง่าย

1. เข้าไปที่เว็บไซต์คลิกลิงค์นี้ สมัครสมาชิก Hostatom ให้เรียบร้อย แล้ว Login ค้างไว้ครับ

2. Login เสร็จแล้ว ระบบจะพามาหน้า Dashboard *หากไม่มาหน้านี้ให้คลิกลิงค์ตรงนี้ครับ “https://support.hostatom.com/cart.php?a=add&domain=register

3. คลิกเมนู “ชื่อโดเมน” และคลิกเมนู “จดทะเบียนชื่อโดเมน

วิธีจดโดเมน ขั้นตอนที่ 1
วิธีจดโดเมน ขั้นตอนที่ 1

4. กรอกชื่อโดเมนที่ต้องการ แล้วกด ค้นหา
5. ระบบจะแนะนำ ชื่อโดเมน ที่ไกล้เคียง ถ้าโดเมน dot ที่เราต้องการไม่ว่าง จะขึ้นแดงๆ

วิธีจดโดเมน ขั้นตอนที่ 2 กรอกชื่อโดเมนที่ต้องการ
วิธีจดโดเมน ขั้นตอนที่ 2

6. เลือกโดเมน dot ที่ต้องการ คลิก “เพิ่มเข้าสู่ตะกร้า” แล้วคลิก “กดชำระเงิน

ขั้นตอนนี้ ไม่ต้องกรอกอะไรครับ คลิก “ดำเนินการต่อ”

วิธีจดโดเมน ขั้นตอนที่ 3
วิธีจดโดเมน ขั้นตอนที่ 3

7. ถ้าชื่อที่เลือกถูกใจแล้ว คลิก “ชำระเงิน” ได้เลยครับ

วิธีจดโดเมน ขั้นตอนที่ 4
วิธีจดโดเมน ขั้นตอนที่ 4

8. Billing Details

  • เลือกบัญชีที่ Login อยู่ (แต่ย้ำว่า ต้องกรอกข้อมูลจริงทุกช่อง เช่น ชื่อ อีเมล์ เบอร์ ทีอยู่ เพื่อเป็นผู้ถือครองโดเมน)
  • เลือกการชำระเงิน ว่าจะโอนผ่านธนาคาร หรือ ผ่าน Paypal
  • ติ๊ก “ฉันอ่านและยอมรับข้อตกลงการใช้บริการ
  • คลิก “ยืนยันการสั่งซื้อ
วิธีจดโดเมน ขั้นตอนที่ 5
วิธีจดโดเมน ขั้นตอนที่ 5

9. รอสักพัก ระบบจะส่ง Email ยืนยันการสั่งซื้อ และดำเนินการชำระเงิน แจ้งการชำระเงินได้เลยครับ

เช่า Hosting

Hosting คือ พื้นที่สำหรับเก็บไฟล์ของเว็บไซต์ เก็บข้อมูลของเว็บไซต์ทั้งหมด เพื่อให้เว็บไซต์ออนไลน์ได้ 24 ชั่วโมง

WordPress Hosting คือ โฮสติ้ง ที่ปรับจูนให้เข้ากับ WordPress โดยตรง สามารถทำงานร่วมกับระบบ WordPress ได้อย่างไม่มีปัญหา *บางโฮสติ้งอาจจะมีปัญหา เพราะฉะนั้น ให้เลือก WordPress Hosting ดีที่สุด

หลักการเลือกแพคเกจราคาโฮสติ้ง

  • Disk Space : ขนาดพื้นที่ ควรอยู่ที่ 4BG ขึ้นไป
  • มี SSL แบบ Free ให้ใช้ *https
  • Control Panel : ส่วนใหญ่จะเป็น Direct Admin, Plesk, cPanel ใช้งานง่าย
  • ต้องมี PHP อย่างต่ำ 7.2 ขึ้นไป (แนะนำ)
  • เจ้าหน้าที่ Support 24ชม.
  • รีวิวค่อนข้างดี
  • ที่สำคัญ มีระบบติดตั้ง CMS อย่าง WordPress

ในบทความนี้ผมจะพาสมัคร Hosting ของ Hostatom ราคาไม่แพง สำหรับผู้เริ่มต้น และคุณภาพก็ใช้ได้เลยครับ จากที่เคยใช้งานจริง

แพคเกจโฮสติ้ง เริ่มต้น 690/ปี ถือว่ายังถูกมากสำหรับพื้นที่ 4GB

แต่อยากแนะนำแพคเกจ S-2 ด้วยเหตุผลดังนี้

  • ราคายังอยู่หลักร้อย 990/ปี
  • ให้พื้นที่ถึง 8GB (เหลือเฟือ)
  • จุเว็บไซต์ได้ : ไม่จำกัด
  • เข้าหน้าเว็บไซต์ : Hostatom
  • เว็บโฮสติ้ง > Web Hosting หรือคลิกลิงค์นี้
  • คลิกปุ่ม “สั่งซื้อเดี๋ยวนี้
เลือกแพคเกจ Hosting
เลือกแพคเกจ Hosting
  • เลือก “ใช้โดเมนที่มีอยู่แล้ว และอัพเดต Name Server
  • *ถ้าเพื่อนๆ ยังไม่ได้จดโดเมน ให้เลือก “จดโดเมนใหม่”
  • กรอกชื่อโดเมน และ สกุล แล้วคลิก “ใช้โดเมนนี้
เลือก Domain
เลือก Domain
  • เลือกระบบควบคุมเป็น “DirectAdmin
  • เลือกตำแหน่งที่ตั้งเป็น “Thailand
  • คลิก “ดำเนินการต่อ
หน้าสรุปการสั่งซื้อ Web Hosting
หน้าสรุปการสั่งซื้อ Web Hosting
  • ตรวจสอบ และชำระเงิน
  • คลิก “ชำระเงิน
สรุปยอดการสั่งซื้อ
สรุปยอดการสั่งซื้อ
  • หน้า ใบแจ้งชำระสินค้า กดชำระค่าบริการ และยืนยันการชำระเงินลำดับต่อไปได้เลยครับ
วิธีจดโดเมน ขั้นตอนที่ 5
หน้าสรุปและชำระเงิน
  • หลังจากนี้ จะมี Email แจ้งเตือน สามารถดำเนินการชำระเงินได้เลยครับ
  • หลังจากชำระเงินเรียบร้อย ระบบจะส่งอีเมล์ ข้อมูลการเข้าใช้งาน และให้หาส่วน “Name Server” เพื่อไปเชื่อมต่อกับ Domain Name

วิธีเชื่อม Domain กับ Hosting

มีอีกขึ้นตอนสุดท้ายที่สำคัญที่สุด เพื่อให้โดเมนและโฮสติ้งทำงานได้ คือ การลิงค์เข้าหากัน ผ่านการชี้ Name Server

ก่อนอื่นอยากให้เพื่อนๆ ไปที่ email และเช็คเมล์ที่โฮสส่งมา หลังจากที่เราชำระเงินไปแล้ว ในเมล์นั้นจะมีข้อมูลสำคัญที่ต้องใช้งานคือ

  • Direct Admin Account : ทางเข้า Control Panel สำหรับจัดการโฮสติ้งทุกอย่าง
  • DNS Setting : จะมีค่า Name Server 1 กับ 2
  • FTP Account : ทางเข้าจัดการไฟล์ ที่อยู่บนโฮสติ้ง
  • คัดลอก Name Server ได้รับในเมล์ จะมี 2 ค่าคือ
    • Name Server 1 : เช่น th21.hostatom.com
    • Name Server 2 : เช่น th22.hostatom.com
  • กลับไปที่หน้าสมาชิกอีกรอบ
  • หากการสั่งซืัอโดเมน เสร็จสมบูรณ์ จะมีสถานะ ใช้งาน
  • คลิก “มุมขวาของโดเมนนั้นๆ” ต่อด้วย “จัดการ Nameservers
เชื่อมต่อ Name Server
เชื่อมต่อ Name Server
  • คัดลอก Name Server 1, 2 มาใส่ในช่อง 1 ,2 ตามรูปด้านล่างนี้ครับ
  • เช็คให้ชัวร์ แล้วบันทึก “เปลี่ยนเนมเซิร์ฟเวอร์
  • จากนั้นต้องรอ ประมาณ 1-48 ชั่วโมงโดยประมาณ จากประสบการ์ 1-4 ชั่วโมง ก็ทำงานแล้วครับ
กรอก Name Server ของโฮสติ้ง
กรอก Name Server ของโฮสติ้ง

หลังจากขั้นตอนนี้ ให้รอ และ รอครับ ลองรีเฟรซเป็นระยะ ถ้าขึ้นหน้าจอ หน้าตัวอย่างที่โฮสติ้งตั้งไว้ แสดงว่า โดเมนพร้อมใช้งานแล้วครับ

STEP 2 : ติดตั้ง WordPress

หลังจากที่เรามี Domain และ Hosting เรียบร้อยแล้ว เรามาลุยติดตั้ง WordPress กันครับ ซึ่งผมจะพาไปรู้จัก วิธีติดตั้ง WordPress ผ่าน Direct Admin แบบที่ไม่ต้องมีสกิลหรือเทคนิคขั้นสูง

ย้อนกลับไปเช็คอีเมล์ “ข้อมูลการใช้งาน Control Panel (…) คลิกอ่านอีเมล์ และหาส่วนที่เขียนว่า Direct Admin Account ซึ่งจะมีข้อมูลให้ดัังนี้
– URL : ….:2222
– Username :
– Password :

Login Direct Admin ให้เรียบร้อยครับ

เข้าไปแล้ว จะเจอโดเมนที่เราจด คลิกที่โดเมนเข้าไปอีกรอบครับ

01 สร้างเว็บ WordPress ผ่าน DA
01 สร้างเว็บ WordPress ผ่าน DA

เลื่อนลงข้างล่างสุด ส่วน App Installer เลือก WordPress

คลิก Install

03 สร้างเว็บ WordPress ผ่าน DA
03 สร้างเว็บ WordPress ผ่าน DA

การตั้งค่าติดตั้ง WordPress (ทำช่องเฉพาะที่ผมทำกล่องสีแดง)

  • เลือก Version ล่าสุด
  • URL ด้านหน้าสุดเลือก https:// *ไม่ต้องมี www หรือมีก็ได้ครับ, เลือกโดเมน, ช่องหลังสุด ไม่ต้องกรอกใดๆ ถ้ามีให้ลบออก
  • Site Name : ตั้งให้เกี่ยวข้องเว็บไซต์
  • Site Description : คำอธิบายเว็บไซต์
  • Admin Username, Password : ใส่ user กับ pass แนะนำเน้นยากๆ
  • Admin Email : ใส่อีเมล์ของแอดมิน ควรใส่เมล์ที่ใช้งานได้จริง
  • Select Language : เลือก Thai
  • คลิก Install
04 สร้างเว็บ WordPress ผ่าน DA
04 สร้างเว็บ WordPress ผ่าน DA

รอสักพัก

05 สร้างเว็บ WordPress ผ่าน DA
05 สร้างเว็บ WordPress ผ่าน DA

รอจนกว่าจะขึ้น “Congratulations, the software was installed successfully

ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด ลองเข้าเว็บไซต์ดูครับ จะขึ้นหน้า Hello world! แสดงว่า สร้างเว็บ WordPress เสร็จสมบูรณ์ 100%

ยินดีต้อนรับสู่ WordPress
ยินดีต้อนรับสู่ WordPress

มาถึงขั้นตอนนี้แล้ว แสดงว่าเพื่อนๆ น่าจะผ่านขั้นตอนการ จดโดเมน เช่าโฮสติ้ง และติดตั้ง WordPress ผ่าน Direct Admin ถือซะว่าเป็นคู่มือวิธีติดตั้ง สำหรับมือใหม่หัดขับจริงๆ

เปิด SSL (https) แบบฟรี บน DirectAdmin

ไปที่ส่วน Advanced Features คลิกเลือก SSL Certificates

วิธีเปิด SSL (https) แบบฟรี
วิธีเปิด SSL (https) แบบฟรี
  • ติ๊กเลือกตัวเลือกที่ 2 แล้วเลือก “Free & automatic certificate from Let’s Encrypt
  • Save
  • แค่นี้ครับ รอสักแปป เดี๋ยว SSL หรือ https จะขึ้นเป็นแม่กุญแจ ด้านบนซ้ายในช่อง URL แสดงว่าทำงานได้ปกติ
ตั้งค่า SSL (https) แบบฟรี
ตั้งค่า SSL (https) แบบฟรี

STEP 3 : รู้จัก Dashboard และเลือก Theme

วิธี Login เข้าสู่หน้า Dashboard หรือ แอดมิน สำหรับตั้งค่าต่างๆ
กรอกชื่อโดเมน/wp-admin

เข้ามาในระบบหลังบ้านของ WordPress จะเห็นเมนูหลักด้านซ้ายมือ ซึ่งยังไม่ได้เยอะมาก เพราะเรายังไม่ได้ติดตั้ง Plugin เสริมใดๆ

ผมขอแนะนำเมนูหลักๆ ที่ใช้อยู่ประจำ แต่ยังไม่ได้ลงลึกมาก เดี๋ยวบทความจะยืดยาวไปกว่านี้

  • เรื่อง : สำหรับเขียนบทความ จะแบ่งเป็น หมวดหมู่ และ แท็ก
  • สื่อ : เป็นคลังเก็บไฟล์รูปภาพทั้งหมด ที่เคยอัพโหลดไว้ สามารถ เพิ่ม ลบ แก้ไข ได้ตรงนี้
  • หน้า : สำหรับสร้างหน้าเพจหลักๆ เช่น เกี่ยวกับเรา, บริการ, ติดต่อเรา
  • รูปแบบเว็บ
    • Themes : ธีมหรือหน้าตาของเว็บไซต์
    • Widgets : วิตเจ็ต เป็นโมดูลที่เราสามารถไปวางในตำแน่ง Head, Sidebar, Footer ของเว็บไซต์ได้ เช่น วิตเจ็ตปฏิทิน, ลิงค์หมวดหมู่ เป็นต้น
  • ปลั๊กอิน : สำหรับติดตั้งปลั๊กอินเสริม เพื่อเพิ่มฟีเจอร์ให้ได้ตามต้องการ
  • ตั้งค่า : สำหรับตั้งค่าหลักๆ ของเว็บไซต์
แนะนำวิธีใช้หลังบ้าน WordPress
แนะนำวิธีใช้หลังบ้าน WordPress

STEP 4 : ตั้งค่า WordPress

จริงๆ ถึงขั้นตอนที่ 3 เว็บไซต์ก็สามารถใช้งานได้แล้วครับ แต่การตั้งค่าที่กำลังจะพูดถึงเนี่ย มันก็ช่วยให้เว็บไซต์ครบเครื่องมากขึ้น จะมี 7 ขั้นตอนที่ผมได้สรุปไว้ครับ

  • ตั้งค่าหน้าแรก
  • ตั้งค่า Permalinks
  • ตั้งค่า Site Identity
  • สร้างเมนู
  • ตั้งค่าวันเวลาและข้อมูลส่วนตัวของแอดมิน
  • ติดตั้ง Plugin พื้นฐานสำหรับ WordPress

เพื่อไม่ให้บทความยืดยาวไปมากกว่านี้ อยากให้เพื่อนๆ ไปอ่านความที่ผมเคยเขียนใน teeneeweb เกี่ยวกับ “การตั้งค่า WordPress

STEP 5 : Go Live

มาถึงขั้นตอนสุดท้ายคือ STEP 5 เป็นขั้นตอนที่จะทำให้เว็บไซต์เรา ปรากฏใน Search Engine อย่าง Google ไม่งั้นถ้าเราทำเว็บอย่างสวยเลย แต่ไม่มีใครเข้า หรือไม่มีใครเห็นเลย ก็จะทำไปทำไมใช่ไหมครับ

ยังมี 2 ขั้นตอนสุดท้ายที่เราจำเป็นต้องทำ เพื่อให้ Google bot มา Crawl เว็บไซต์เราเพื่อจัดอันดับ

  • ยืนยันเว็บไซต์ผ่าน Google Search Console
  • อัพโหลด Sitemap ของเว็บไซต์ในการตั้งค่า Google Search Console

สรุป

หวังว่าบทความนี้จะเป็นตัวนำทางให้กับคนที่ กำลังหารายได้เสริม กำลังมองหางานใหม่ๆ คนที่ได้รับผลกระทบเรื่องไวรัส เว็บไซต์สามารถช่วยหารายได้ให้กับเราได้หลายๆ วิธีครับ โดยเฉพาะทำเว็บขายของออนไลน์

แม้กระทั่งบริษัท โรงงาน ร้านค้าต่างๆ ที่ยังไม่เคยลุยตลาดออนไลน์ ในช่วงวิกฤตแบบนี้ ผมว่าเป็นโอกาสดีที่จะเริ่ม สร้างเว็บไซต์ ตั้งตัวบนโลกออนไลน์ เพื่อความยั่งยืนในระยะยาว ถ้างบไม่มาก ก็ใช้ WordPress นี่แหละครับ เสียค่าค่า โดเมน และ โฮสติ้ง ที่เหลือใช้แต่ความพยายาม

ขอเป็นกำลังใจให้กับเพื่อนๆ ที่กำลังพยายาม สร้างเว็บ WordPress ด้วยตัวเอง ไม่มีอะไรยากไปกว่า ความพยายามครับ ลุยครับ…

Comments

  1. สวัสดีครับ ผมกำลังเริ่มทำเว็บไซท์ให้กับกิจการของที่บ้านครับ ผมได้สร้างเว็บไซท์ใน wordpress ขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว แต่ผมไม่รู้ว่าจะเชื่อมตัวเว็บไซท์ที่สร้างขึ้นมาใหม่กับโดเมน & โฮสติ้งที่เคยมีอยู่แล้วยังไงครับ ถ้าเห็นข้อความนี้รบกวนช่วยติดต่อกลับมาหน่อยครับ

    1. 1. ถ้าจดชื่อโดเมนแล้ว มันจะมีช่องให้เราตั้งค่า Name Server เพื่อเชื่อมกับโฮสติ้ง
      2. เวลาเช่าโฮสติ้ง มันจะมี Name Server ให้เราครับ ไว้เชื่อมกับโดเมน
      ถ้าไปไม่ถูก ให้ทางซัพพอร์ตที่เช่าช่วยตั้งค่าได้ครับ
      หรือ ib ปรึกษาผมได้ครับที่เพจ : http://www.facebook.com/tumwebdotco/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *