WordPress ข้อดี ข้อเสีย (ที่ควรรู้ก่อนใช้) แชร์จากประสบการณ์จริง

WordPress เป็นเครื่องมือสร้างเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมที่สุด ถ้าดูตามส่วนแบ่งทางการตลาด ถ้าเราคิดจะทำเว็บไซต์เว็บนึง ต้องมีชื่อเวิร์ดเพรสเป็นหนึ่งในตัวเลือกแน่นอน เพราะเวิร์ดเพรสมีส่วนแบ่งการตลาดมากถึง 65% ถ้าวัดจากตลาด CMS ด้วยกัน

ในบทความนี้ ผมจะมาพูดถึงเกี่ยวกับ WordPress ข้อดี ข้อเสีย ว่ามีอะไรบ้าง ผมจะพยายามกลั่นจากประสบการณ์จริงที่ใช้เวิร์ดเพรสมา มากกว่า 5 ปี พอจะสรุปได้ว่า เว็บแบบไหนที่ควรใช้ WordPress หรือ ไม่ควรใช้

อ่านเพิ่มเติม WordPress คืออะไร?

เวิร์ดเพรสเริ่มต้นเมื่อปี 2003 ช่วงเริ่มต้นมันเกิดมาเพื่อทำเว็บบล็อกเท่านั้น และระหว่างทาง ได้มีการอัพเดต พัฒนาฟีเจอร์ใหม่ๆ ตลอดเวลา เพื่อให้ทันเทคโนโลยี และพยายามพัฒนาให้ใช้งานง่ายที่สุด จนถึงตอนนี้ ปี 2022 ก็เกือบ 20 ปีแล้ว 

จริงๆ เพลตฟอร์มอื่นๆ ก็มีข้อดี ข้อเสีย เหมือนกัน แต่ละตัวก็จะมีดี มีเสีย แตกต่างกันออกไป เหมือนรถยนต์ ต่อให้แพงแค่ไหน ก็ต้องมีข้อเสียเหมือนกัน ในบทความนี้เรามาโฟกัสเฉพาะ ข้อดี ข้อเสีย ของ WordPress


ข้อดีของ WordPress


1. เป็น Open Source ใช้งานได้ฟรี

WordPress (.org) เปิดให้เราโหลดไปติดตั้งได้ฟรี มีธีมดีไซน์สวยงามให้เลือกมากมาย มีลูกเล่นเครื่องไม้เครื่องมือในการตกแต่งเยอะ และสามารถปรับแต่งได้ยืดหยุ่น เราจะปรับแต่งยังไงก็ได้ตามจินตนาการ(แต่ต้องฝึกหน่อยนะ)

WordPress.org กับ WordPress.com ต่างกันอย่างไร?

WordPress มีระบบการจัดหน้า หรือ Page builder ให้เราสามารถปรับแต่ง Layout ได้อิสระด้วยวิธี Drag & Drop ลากๆ วางๆ นั้นแหละ โดยไม่ต้องเขียน Code เลย ก็มีเว็บไซต์สวยๆ อวดเค้าได้

สรุปให้

WordPress.org ฟรีก็จริง แต่ถ้าเราอยากมีชื่อเว็บไซต์ หรือ Domain name ของตัวเอง จดชื่อเว็บไซต์เอง ราคาประมาณ 300-500บาท และเช่าพื้นที่โฮสติ้ง 500-2,000บาท แต่ก็ยังประหยัดอยู่ดี

วิธีจด Domain เช่า Hosting

2. ใช้งานง่าย มือใหม่ใช้งานได้ไม่ยาก

WordPress ออกแบบมาเพื่อทุกคน ปรับแต่งง่าย ยืดหยุ่นสูง ประสิทธิภาพดี ปลอดภัย และที่สำคัญที่สุดคือ ใช้งานง่าย ทำให้มือใหม่ที่พึ่งมาจับเวิร์ดเพรส เริ่มต้นได้ง่ายที่สุด แบบไม่ต้องแตะโค้ดเลย เพราะทุกอย่างสามารถปรับแต่งได้แบบ Drag & Drop

WordPress ออกแบบมาเพื่อทุกคน
WordPress ออกแบบมาเพื่อทุกคน

ในไทยเอง มีกลุ่มคนใช้งาน WordPress เยอะ มีบทความ คู่มือการใช้งาน การแก้ปัญหาต่างๆ ทำให้หาคนให้คำปรึกษาได้ไม่ยาก

ส่วนตัวผมเอง เคยใช้ Joomla มาก่อน WordPress ถ้าเทียบระหว่าง 2 ตัวนี้ ต้องบอกว่า Joomla ค่อนข้างใช้งานยากสำหรับคนทั่วไป หาปลั๊กอินเสริมยากมากๆ มีตัวเลือกไม่เยอะ ในขณะเดียวกัน เวิร์ดเพรสง่ายกว่าเยอะมากครับ ยืดหยุ่นของจริง มีระบบ Page Builder ตั้งแต่ติดตั้งใหม่ๆ

3. มี Plugin และ Theme มากมายให้เลือก

ปลั๊กอินส่วนเสริม | Plugin

Plugin คือสิ่งที่สำคัญทีสุดของ WordPress ที่มาทำหน้าที่ ขยายขีดความสามารถของระบบ ให้มีลูกเล่น มีมิติใหม่ๆ มีระบบตามที่เราต้องการ มีแทบทุกหมวดหมู่ แต่ละประเภทก็จะมีหลายคนพัฒนา มีหลายยี่ห้อให้เลือก

ปลั๊กอินส่วนเสริม | Plugin WordPress
ปลั๊กอินส่วนเสริม | Plugin

WordPress มีปลั๊กอินฟรีให้เราเลือกใช้มากถึงเกือบ 6x,xxx ตัว อันนี้เฉพาะตัวฟรีนะครับ ยังมีตัว Premium อีกเป็นหมื่น ซึ่งปัญหาไม่ใช่ว่ามีไม่พอ แต่มีเยอะเกิน ไม่รู้จะใช้ตัวไหนดี

ธีมเวิร์ดเพรส | Theme

Theme คือ หน้ากากภายนอกที่เราเห็นเป็นดีไซน์แต่ละหน้าของเว็บ เว็บจะสวยไม่สวย ส่วนหนึ่งก็มาจากการเลือกธีม แต่ละธีมก็จะถูกออกแบบโครงสร้างที่แตกต่างกัน เช่น ธีมสำหรับเว็บบริษัท, สำหรับเว็บร้านค้า, สำหรับเว็บท่องเที่ยว เป็นต้น

ซึ่งก็มีทั้งของฟรี และเสียเงิน เฉพาะตัวฟรีก็มีเยอะมาก เกือบๆ 10,xxx ธีมให้เลือก

ธีมเวิร์ดเพรส | Theme WordPress
ธีมเวิร์ดเพรส | Theme WordPress

ปัญหาคือ จะเลือกใช้ตัวไหนดีละ จะลองทีละตัวก็ไม่ไหวถูกไหมครับ แต่ไม่ต้องห่วงครับ ผมเขียนบทความแชร์วิธีการเรียบร้อยแล้ว วิธีเลือกธีมคุณภาพเกรด A

4. ยืดหยุ่นสูง ทำเว็บไซต์ได้แทบทุกประเภท

คนที่ไม่เคยใช้ WordPress มักจะมองว่าเป็นเว็บสำเร็จรูป ทำได้แค่เว็บธรรมดาง่าย

แต่จริงๆ แล้วเวิร์ดเพรสสามารถทำเว็บไซต์ได้ทุกรูปแบบเลยครับ จะเว็บไซต์ธรรมดา เว็บร้านค้าออนไลน์ เว็บองค์กร และอีกมากมาย ที่สำคัญมันสามารถเชื่อมต่อ API จากภายนอกได้ด้วย หรือจะพัฒนา Web App ด้วยเวิร์ดเพรสก็ได้ครับ จะเรียกว่าเป็น Framework ชนิดนึงก็ไม่ผิดครับ

เว็บไซต์บริษัท เว็บองค์กรทั่วไป ก็ใช้ Theme กับ Plugin ก็เพียงพอแล้ว

แต่ถ้าเป็นเว็บที่มีฟังก์ชันเฉพาะ ก็แค่เขียน Custom Plugin หรือ Custom Theme ขึ้นมาเองได้ครับ

ผมจึงเรียกเวิร์ดเพรสว่า “ระบบกึ่งสำเร็จรูป”

ภาพ Gallery ด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างผลงานที่ผมเคยทำครับ ให้ดูว่าทำได้จริง

5. รองรับ Mobile Responsive 100%

Wordpress รองรับ Mobile Responsive 100%
WordPress รองรับ Mobile 100%

สมัยนี้ ปีนี้ คงไม่มีใครไม่รู้จัก Web Reponsive หรือ แปลเป็นไทยคือ เว็บที่รองรับมือถือนั่นเองครับ อย่างน้อยก็เคยท่องเว็บไซต์ผ่านมือถือ เพราะเราใช้สมาร์ทโฟนกันหมดแล้ว

จำได้ไหมครับ เมื่อก่อน เราเข้าเว็บไซต์ผ่านมือถือ หน้าจอจะเล็กมาก ข้อความแทบจะอ่านไม่ออก ต้องซูมเข้าออกตลอดเวลา

แล้ว WordPress รองรับ Responsive ไหม?

รองรับ 100% เพราะเกือบทุก Theme รองรับ Mobile, Tablet หมดแล้วครับ เป็นมาตรฐานที่ทุกธีมต้องรองรับ ฉะนั้นสบายใจได้ครับ

อีกอย่างเรื่อง Responsive มีผลโดยตรงกับอันดับ SEO บน Google

6. รองรับ SEO

การทำเว็บไซต์ ไม่ใช่แค่การทำดีไซน์ให้สวยอย่างเดียว แต่ต้องรองรับ SEO ด้วย เพื่อให้เว็บไซต์ติดอันดับ Google

Theme ของ WordPress ส่วนใหญ่ออกแบบโครงสร้างให้ถูกต้องตามหลัก SEO อยู่แล้ว เราไม่ต้องไปนั่งกังวลว่า เอเจ้าของธีมมันทำมาดีหรือเปล่า ยิ่งธีมที่ขายดีใน Themeforest เค้าวางโครงสร้างมาดีแน่นอนอยู่แล้วครับ

เราเอาเวลาไปโฟกัสเรื่องการจัดข้อมูลพอ

ถ้าเราต้องการใส่ ถ้าเราต้องการปรับแต่ง SEO แบบละเอียดขึ้นมาหน่อย เราแค่ติดตั้ง Plugin SEO ซึ่งมีหลายตัวให้เลือก

  • ธีมส่วนใหญ่ออกแบบโครงสร้างถูกต้องตามหลัก SEO
  • Permalinks สามารถแก้ไขให้สวยงาม เช่น : https://santumweb.com/wordpress-beginners/
  • มี SEO Plugin ให้สามารถปรับแต่ง Metadata ได้ง่ายขึ้น
  • รูปภาพสามารถเขียนคำอธิบาย ALT ได้
  • ปรุงปรุงคะแนน Speed ได้ด้วย Plugin
  • รองรับ Mobile Responsive ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญ
  • มีปลั๊กอินสำหรับทำปุ่ม Social share

7. คนใช้เยอะ หาคนปรึกษาได้ง่าย

ระบบ CMS ผมว่าก็เหมือนรถยนต์ ยิ่งคนใช้เยอะ ก็ยิ่งหาอู่ซ่อมได้ง่าย ขายต่อได้ราคา

WordPress ก็เหมือนกันครับ เว็บไซต์ทั่วโลกใช้ WordPress ทำเว็บไซต์มากถึง 43% อันนี้คือรวมเครื่องมือทำเว็บทั้งหมดครับ ซึ่งเกือบครึ่งนึงเลย

เมื่อคนใช้งานเยอะ ก็มีนักพัฒนา Theme, Plugin หรือ เครื่องมือดีๆ เยอะมากๆ ให้เราใช้กัน อย่างในไทยเองก็มี WordPress community ขนาดใหญ่ มีครับรับทำเว็บ รับแก้ รับให้คำปรึกษาเยอะไปหมด

8. ไม่จำเป็นต้องรู้ Code

สมัยก่อน ถ้าเราจะสร้าง Layout แปลกๆ ซับซ้อนๆ ก็ต้องใช้สกิล CSS HTML มากพอสมควร ถ้าใครไม่รู้วิธีเขียนโค้ด ก็จบ

แต่ตอนนี้ แม้แต่ WordPress ตัวเริ่มต้นก็มี Block Editor หรือ Gutenberg ให้เราสามารถสร้าง Layout ให้เป็นเรื่องง่ายดาย

และยังมี Plugin จัดหน้า ตัวเทพๆ และฟรีอีกหลายตัว ทั้งหมดนี้เป็นระบบ Drag & Drop ลากๆ วางๆ ไม่ต้องแตะโค้ดแม้แต่นิดเดียว

9. มีระบบ Blog มาให้ในตัว

ระบบ Blog บทความข่าวสาร กิจกรรม หรือระบบที่สามารถอัพเดตบทความใหม่ๆ WordPress มีมาให้ตั้งแต่แรกเลย ไม่ต้องติดตั้งเพิ่ม อันนี้ถือว่าดีมากครับ

เพราะจากประสบการณ์ที่รับทำเว็บไซต์ด้วย WordPress เว็บส่วนใหญ่ที่ทำ จะมีหน้าสำหรับอัพเดตบทความทั้งนั้น

10. การติดตั้ง WordPress แสนง่าย!

ผมมั่นใจว่า การติดตั้ง WordPress สามารถทำได้ทุกคน ไม่ว่าจะจบคอมหรือไม่ก็ตาม เพราะเราสามารถติดตั้งผ่านระบบ Control Panel ของ Hosting ที่เราเช่า ส่วนใหญ่จะใช้ Panel ที่ชื่อ Direct Admin และ Plesk ซึ่งหลักการติดตั้งไม่ต่างกัน

คลิกลิงค์ด้านล่าง ดู STEP 2 วิธีการติดตั้งผ่าน Direct Admin

เวลาเช่า Hosting ก็ต้องเช่า Hosting ที่มีระบบ Direct Admin หรือ Plesk และต้องเช่าโฮสติ้งที่รู้ใจ WordPress ด้วยนะ ผมเคยเขียนบทความอย่างละเอียดเรื่อง “WordPress Hosting โฮสติ้งที่รู้ใจ WordPress ดีที่สุด

แต่ถ้าใครที่มีความรู้ด้านเว็บมาก่อน อยากจะติดตั้งแบบ Manual หรือ ติดตั้งผ่าน FTP สามารถทำตามคู่มือด้านล่างนี้ได้ครับ


ข้อเสียของ WordPress


1. ปลั๊กอินเยอะไป จะโหลดช้า

อย่างที่ทราบกันดีกว่า wordpress มีปลั๊กอินเฉพาะตัวฟรีก็ครึ่งแสนแล้ว บางคนโหลดใส่เป็นร้อย ก็ชอบทุกตัวที่เจอ แต่ยิ่งเราใส่เยอะ ก็ส่งผลต่อ ความเร็ว Speed ในการโหลดมากขึ้น ฉะนั้นเราต้องเลือกเท่าที่จำเป็นจริงๆ

2. WordPress, Plugin และ Theme ต้องอัพเดตบ่อย

ต้องบอกว่า WordPress Core, Plugin, Theme มักจะมี version ใหม่ๆ ออกมาตลอดเวลา ซึ่งแต่ละเวอร์ชั่นที่ออกมา ก็เพื่อพัฒนาให้มันดีขึ้นนั้นแหละ เพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีสมัยใหม่

แต่ผมก็เข้าใจครับว่า บางคนไม่ได้มอนิเตอร์ดูหลังบ้านขนาดนั้น อาจจะดูนานๆ ที ซึ่งพอทิ้งช่วงไว้นานไม่ได้อัพเดต ก็อาจจะมีปัญหาก็ได้

ฉะนั้น ถ้าไม่ว่างดูแลเอง ผมแนะนำให้หาคนดูแที่เชี่ยวชาญ WordPress โดยตรงครับ

3. ปัญหา WordPress ด้านความปลอดภัย

เรามักจะได้ยินคนคุยกันตามเว็บบอร์ดหรือโซเชียลต่างๆ ว่า WordPress ไม่ดี โดนแฮกง่าย จริงไหม?

อันนี้ผมขอฟันธงว่าไม่จริงครับ ก็เพราะว่าตัว Core ของ WordPress มันปลอดภัย มันถูกออกแบบมาอย่างดีเลย

ปัญหาอยู่ที่คนทำเว็บ หรือคนดูแลเว็บ เลือกใช้ Plugin เถื่อน หรือ ปลั๊กอินฟรีที่ไม่ได้คุณภาพต่างหาก

อยากรู้ว่าต้องเลือกปลั๊กอินยังไงให้ปลอดภัย ลองไปตามอ่านดูครับ วิธีเลือก Plugin เกรด A


สรุป WordPress ข้อดี ข้อเสีย


WordPress ข้อดี ข้อเสีย : ถึงแม้เวิร์ดเพรสจะมีเว็บไซต์ทั่วโลกใช้มากถึง 43% แต่ก็ย่อมมี ข้อดี-ข้อเสีย เป็นธรรมดา ผมหวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับเพื่อนๆ ที่กำลังหาข้อมูล กำลังตัดสินใจว่าเลือก ทำเว็บไซต์ด้วย WordPress ดีหรือไม่


หากชอบบทความแนวนี้ สาระแบบนี้ ฝากกดไลค์ กดแชร์ด้วยคร้าบบ


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *