WordPress Hosting โฮสติ้งที่รู้ใจ WordPress ดีที่สุด

การที่เราจะทำให้เว็บไซต์ที่พัฒนาด้วย WordPress มีคุณภาพ นอกจากตัวเว็บที่เราทำแล้ว อีกหนึ่งปัจจัยที่ผมคิดว่า เป็นกระดูกสันหลังของเว็บไซต์ หรือเบื้องหลังของเว็บไซต์ คือ Web Hosting ซึ่ง การเลือกโฮสติ้งที่รู้ใจ WordPress โดยตรง หรือที่เรียกกันว่า WordPress Hosting เป็นอีกปัจจัยที่จะช่วยรีดประสิทธิภาพของเว็บไซต์ได้ดี

เบื้องหลังของเว็บไซต์ที่ประสบความสำเร็จ เว็บไซต์ที่ติด SEO หน้าแรกของกูเกิล ก็คือ Hosting ที่มีคุณภาพ และถ้าอยากให้เว็บไซต์ที่สร้างด้วย WordPress มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่ดี เราต้องเลือกโฮสติ้งที่รู้ใจ WordPress ที่สุด ก็คือ WordPress Hosting

บ่อยครั้งที่ผมเห็นคนถามในกลุ่มเฟสบุ๊คว่า “WordPress Hosting ที่ไหนดี” ถามกันเยอะมาก บทความนี้ผมเลยถือโอกาสในรวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจ ที่พอจะชี้แนวทางได้ว่า ควรเลือกโฮสติ้งรูปแบบไหนที่เหมาะกับเว็บไซต์

ผมขอเกริ่นนิดนึง เผื่อคนที่ยังไม่ทราบว่า เว็บโฮสติ้งมีกี่ประเภท ซึ่งแต่ละประเภท ก็จะมีคุณสมบัติเฉพาะ และเหมาะกับรูปแบบเว็บที่แตกต่างกันออกไป

  • Share Hosting
  • VPS Hosting
  • Dedicated Hosting
  • Cloud Hosting
  • WordPress Hosting *เราจะพูดถึงเฉพาะตัวนี้

WordPress Hosting คืออะไร?

WordPress Hosting โฮสติ้งที่รู้ใจ WordPress ดีที่สุด
WordPress Hosting โฮสติ้งที่รู้ใจ WordPress ดีที่สุด

WordPress Hosting หรือ Managed WordPress Hosting คือ เว็บโฮสติ้งที่มีการตั้งค่า Server ให้ตอบสนองต่อการดึงข้อมูลของ WordPress จาก Server ให้เร็วขึ้น  ปรับจูนให้เข้ากับ WordPress ได้ดีที่สุด ในแแง่ประสิทธิภาพและความปลอดภัย รวมถึงให้สามารถติดตั้ง WordPress ได้แบบ One Click Installation ผ่านระบบ Control Panel

นอกจากนี้ก็จะมีระบบการจัดการเวอร์ชั่น PHP ให้รองรับรุ่นล่าสุด เพื่อให้ทำงานร่วมกับ Theme และ Plugin ได้อย่างไม่มีปัญหาตามมา การปรับจูนระบบการเก็บแคช (Cache) เพื่อให้เว็บไซต์โหลดไวขึ้น

ส่วนมากจะใช้ Hardware ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้ไม่เกิดการ Downtime ได้ง่ายๆ เพื่อให้รองรับการสำรองข้อมูลอัตโนมัติ

ถ้าเป็นผู้ให้บริการเวิร์ดเพรสโฮสติ้งดังๆ จากต่างประเทศ จะพัฒนาปลั๊กอินสำหรับการจัดการแคชโดยเฉพาะ เช่น Siteground พัฒนาปลั๊กอินอย่าง SG Optimizer, Cloudways พัฒนาปลั๊กอินอย่าง Breeze เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้าน Speed ให้โหลดไวขึ้น

คุณสมบัติของ WordPress Hosting

คุณสมบัติของ WordPress Hosting
คุณสมบัติของ WordPress Hosting

คุณสมบัติหลักของโฮสติ้งคือ ปรับปรับจูนให้ทำงานกับ WordPress ได้อย่างไร้รอยต่อ เริ่มตั้งแต่การติดตั้ง สามารถติดตั้งแบบ One Click Installation การอัพเดตแบบอัตโนมัติ การเก็บแคชที่ทำให้เว็บไซต์โหลดไว การอ่านเขียนไฟล์บนโฮสติ้ง ซึ่งนี่คือส่วนหนึ่งของฟีเจอร์ที่ต้องมีแน่ๆ

แก่นของ WordPress hosting คือ ลดความยุ่งยากในการใช้งาน

เบื้องหลังของ Hosting ที่รู้ใจ WordPress แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  • Shared WordPress Hosting ( แชร์โฮส )
  • Managed WordPress Hosting ( คลาวด์โฮส )

1. Shared WordPress Hosting

แชร์โฮส : คือ โฮสติ้งที่ต้องแชร์ ร่วมกันแบ่งปันทรัพยากร เช่น รถบัส 1 คัน นั่งได้หลายสิบคน แต่ละคนก็จะมีพื้นที่อันจำกัด ซึ่งแชร์โฮส อาจจะไม่ได้เป็นโฮสติ้งที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เหมาะสำหรับเว็บไซต์ขนาดเล็ก

จากประสบการณ์ที่เคยใช้ ก็ดีระดับนึงเลยนะครับ ระบบพื้นฐานมีให้ครบ รองรับการติดตั้ง WordPress เหมือนกัน เพียงแต่ว่า ถ้ามองในแง่ ประสิทธิภาพ ถ้าเทียบกับ Cloud อาจจะเทียบไม่ได้อยู่แล้ว

ข้อดี

  • ราคาถูกมาก เริ่มต้นตั้งแต่ 500 – 3,500
  • ใช้งานง่ายผ่านระบบ Control Panel อย่าง Direct Admin, cPanel, Plesk
  • ติดตั้ง CMS ได้ผ่านระบบ Control Panel

ข้อเสีย

  • หากเว็บไซต์อื่นๆ ที่อยู่ใน Server เดียวกันมีการใช้งานที่สูง อาจจะกระทบเรื่องความเร็วทุกเว็บไซต์
  • ถ้ามีเว็บใดเว็บนึงติด ไวรัส ก็มีสิทธิ์ลามถึงเว็บไซต์เราได้
  • ความปลอดภัยต่ำ ไม่เหมาะกับเว็บไซต์ที่ต้องการความปลอดภัยสูง
  • ปรับแต่งได้น้อย

หากเช่า Hosting แล้วแต่ยังติดตั้ง WordPress ไม่เป็น สามารถทำตามบทความนี้ได้ครับ ติดตั้ง WordPress ด้วยตัวเอง

2. Managed WordPress Hosting

คลาวด์โฮส : มี Server กระจายอยู่ทั่วโลกตาม Data Center ในประเทศตามภูมิภาคต่างๆ มีการเชื่อมโยงกันโดยใช้เทคโนโลยี Cloud หรือ ก้อนเมฆ ทำให้ข้อมูลมันไหลเวียนตลอดเวลา หาก Server ตัวใดตัวนึงเสีย ก็ไม่ล่ม

โดยปกติการที่เราจะมีเครื่อง Server 1 เครื่อง ต้องใช้งบสูงมาก หลักหลายหมื่นบาท แต่การมาของเทคโนโลยี Cloud ทำให้เราเป็นเจ้าของ Server ได้ด้วยเงินหลักพัน

Cloud Server ทั่วไปๆ เช่น Google Cloud, AWS, Digital Ocean เราจะได้ Server เปล่าๆ มันจะต้องตั้งค่าด้วยตัวเองทั้งหมด ซึ่งค่อนข้างยากมาก สำหรับคนที่ไม่ได้มีความรู้ด้านการตั้งค่า Server แต่ยังอยากใช้ Cloud

ฉะนั้น ผู้ให้บริการโฮสติ้งทั่วโลก จึงพัฒนา Cloud Hosting ที่รองรับ WordPress โดยเฉพาะ เรียกว่า “Managed WordPress Hosting

ทำให้เราสามารถใช้ Cloud Server ที่รองรับ WordPress ในราคาไม่ได้แพงมาก จ่ายตามจริง สามารถตั้งค่าทุกอย่างผ่านระบบ Control Panel

ข้อดี

  • มีความเสถียรสูง
  • สามารถเลือก Data Center ที่ไกล้กับเราที่สุด ( ในไทยก็ส่วนใหญ่เป็น สิงคโปร์ )
  • ทีม Support ดูแลให้เราทุกอย่าง เราใช้อย่างเดียว

สิ่งที่ Managed WordPress hosting มีให้คือ

Speed

โฮสติ้งจะถูกปรับจูนให้โดยเฉพาะ ให้ทำงานกับ WordPress ได้อย่างลงตัว

Security

ความปลอดภัย การ Set-UP Hosting สำหรับ WordPress โดยเฉพาะ เพื่อช่วยให้เว็บไซต์มีความปลอดภัยมากขึ้น

BackUP

ส่วนใหญ่ที่เคยใช้ จะเป็นการ่ BackUP รายวัน หรืออย่างน้อยสับดาห์ละครั้งก็ยังดีครับ

Support

เราจะได้รับทีมที่เก่งเรื่อง WordPress โดยเฉพาะ แก้ไขปัญหาให้เราได้จริงๆ

Caching

ระบบการเก็บแคช เพื่อให้เว็บไซต์โหลดไวขึ้น ถ้าเจ้าดังๆ ก็จะพัฒนาปลั๊กอินแคชขึ้นมาเป็นของตัวเอง

Staging

คือ ตัวทดสอบ สมมติเราต้องการแก้ไขเว็บไซต์ แต่ยังอยากแก้ตัวจริงก่อน เราสามารถใช้ระบบ Staging ในการทดลองแก้ไขจนแน่ใจ ค่อยอัพขึ้น

Auto Updates

อัพเดต WordPress, Plugin ให้เราอัตโนมัติ น่าจะเหมาะสำหรับคนที่ไม่ว่างทำเองมากๆ

Control Panel

มีระบบ Control Panel เช่น Direct Admin, Plesk, cPanel

ทำไมต้องใช้ Hosting ที่รู้ใจ WordPress?

ประสบการณ์ส่วนตัว จากที่เคยใช้ Web Hosting มาทุกประเภท ตั้งแต่ Share Host, VPS, Cloud, Dedicated Server และ Hosting ที่รู้ใจ WordPress

ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีคุณสมับติบางอย่างที่ไม่เหมือนกันเลย

ตัวอย่างปัญหาของ Hosting ที่ไม่รองรับ WordPress
เวลาจะ Update WordPress, Plugin, Theme ผ่านหลังบ้าน อาจจะไม่ผ่าน ต้องอัพเดตผ่าน FTP โดยตรง บางครั้งอัพโหลดรูปภาพผ่าน Media ก็ไม่ผ่าน ติดพวก Permission หรือ สิทธิ์การแก้ไขไฟล์ นี่แค่ตัวอย่างปัญหาส่วนหนึ่ง แต่ผมคิดว่ามันน่าปวดหัวมาก

การมี Hosting ที่รู้ใจ และเข้าใจการทำงานของ WordPress อย่างไร้รอยต่อ มันทำให้เว็บไซต์ที่สร้างด้วย WordPress เนี่ย ทำงานได้ไหลลื่น ทั้งหน้าบ้าน และระบบหลังบ้าน

และที่สำคัญที่สุด การมีโฮสติ้งที่ทำงานร่วมกับ WordPress ได้เป็นอย่างดี มันช่วยลดภาระ ความปวดหัว ของเหล่าคนดูแลเว็บเว็บไซต์ด้วย เราไม่ต้องเจอกับปัญหาจุกจิก ที่เกิดจากการเลือกโฮสติ้งไม่ดี หรือ ไม่เข้าใจ WordPress จริงๆ

[สำหรับเว็บไซต์ที่สร้างด้วย WordPress] ก่อนที่เราจะเลือกว่า “เช่า web hosting ที่ไหนดี” ควรเลือกหา Hosting ที่รองรับ WordPress ก่อน แล้วค่อยเลือกว่า เช่าโฮสติ้งเจ้าไหนดี

สเปค Hosting ที่รองรับ WordPress

WordPress เป็น CMS ที่มีคนใช้งานมากที่สุด และมีการพัฒนาตัวเองตลอดเวลา ฉะนั้นจึงหา Hosting ที่รองรับ WordPress ได้ไม่ยาก แทบจะทุกเจ้า ทุกผู้ให้บริการด้านโฮสติ้ง ที่ออกแพคเกจที่รองรับ WordPress โดยตรง ซึ่งสเปคของโฮสติ้งที่ WordPress แนะนำ ดังนี้

  • PHP เวอร์ชั่น 7.3 หรือ เทียบเท่า.
  • MySQL เวอร์ชั่น 5.6 หรือ เทียบเท่า หรือ  MariaDB เวอร์ชั่น 10.1 หรือ เทียบเท่า.
  • รองรับ SSL หรือ HTTPS

อยากให้โฟกัสที่ เวอร์ชั่นของ PHP เป็นหลัก ควรใช้เวอร์ชั่นตามที่แนะนำตรงๆ

ถามว่าใช้เวอร์ชั่นที่ต่ำกว่าได้ไหม? ตอบว่า ได้ครับ แต่ยิ่งต่ำยิ่งเสี่ยงด้านความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และบางปลํ๊กอินอาจจะไม่รองรับก็ได้ หมายความว่า ยิ่งเราใช้ PHP เวอร์ชั่นต่ำกว่าที่แนะนำ เว็บไซต์เรายิ่งตกอยู่ในความเสี่ยง และทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ

อีกจุดนึงที่อยากให้โฟกัสเช่นกัน คือ รองรับ SSL หรือ HTTPS สังเกตง่ายๆ ครับ ถ้าเว็บไซต์ไหนที่ไม่ได้ติดตั้ง SSL ที่มุมบนซ้าย ถ้าไม่มี SSL มันจะขึ้นว่า ไม่ปลอดภัยสีแดงๆ ทำให้เสียความน่าเชื่อถือ

และอีกปัญหานึงถ้าใช้ PHP เวอร์ชั่นที่ต่ำกว่า 7.3 คือ ปลั๊กอินบางตัวทำงานไม่สมบูรณ์ หรือ ไม่รองรับนั่นเองครับ

เช่น ปลั๊กอินสร้างร้านค้าออนไลน์ชื่อดังอย่าง Woocommerce มันต้องใช้สเปคของโฮสติ้งที่มี PHP version 7.2 เป็นต้นไป

และปัญหาสุดท้าย น่าจะเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดเลย คือ เพิ่มโอกาสทำให้เว็บโดน Hack มากขึ้น

แนะนำให้อ่านบทความ ทำไม WordPress ถึงโดน Hack

เทคนิคการเลือก WordPress Hosting ให้เหมาะกับเว็บไซต์

1. เลือก Hosting ให้ตรงกับประเภทเว็บไซต์

ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่า เว็บไซต์เราเป็นประเภทไหน เล็กใหญ่แค่ไหนละ แล้วมันมีฟังก์ชันอะไรหนักๆ หรือเปล่า

ผมขอแบ่งเป็น 3 ประเภท ใหญ่ๆ

  • เว็บไซต์ขนาดเล็ก
  • เว็บไซต์ขนาดกลาง
  • เว็บไซต์ขนาดใหญ่

เว็บไซต์ขนาดเล็ก

จะเป็นเว็บไซต์ธรรมดาทั่วไป เว็บไซต์บริษัท ที่มีเมนู 1-8 มนู เป็นข้อมูลข้อความผสมกับรูปภาพในจำนวนไม่เยอะ และ จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ในแต่ละเดือนประมาณ​ 10,000 Visits โดยเฉลี่ยในแต่ละเดือน

  • เมนู : 1-8 เมนู
  • ผู้เข้าชมเฉลี่ย 10,000 / เดือน
  • พื้นที่โฮสติ้งที่ควรใช้ : ไม่เกิน 10GB

เว็บไซต์ขนาดกลาง

จะเป็นเว็บไซต์ธรรมดาทั่วไป เว็บไซต์บริษัท เว็บไซต์องค์กรที่มีโครงสร้างและข้อมูลเยอะ รวมถึงเว็บไซต์ e-commerce ที่มีสินค้าประมาณ 500-1,000 ชิ้น แต่มีเมนูมากกว่า 10+ เมนู เป็นข้อมูลข้อความผสมกับรูปภาพในจำนวนไม่มากเกินไป และ จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ในแต่ละเดือนประมาณ​ 25,000 Visits โดยเฉลี่ยในแต่ละเดือน

  • เมนู : 10+ เมนู
  • ผู้เข้าชมเฉลี่ย 25,000 / เดือน
  • พื้นที่โฮสติ้งที่ควรใช้ : ไม่เกิน 20GB

เว็บไซต์ขนาดใหญ่

จะเป็นเว็บไซต์องค์กรขนาดใหญ่ เว็บไซต์ e-commerce ที่มีสินค้าประมาณ 1,000+ ชิ้น หรือเว็บไซต์ที่เป็นฮับให้ลงข้อมูลฟรี เช่น พวกเว็บฝากร้าน ฝากขายต่างๆ แต่มีเมนูมากกว่า 30+ เมนู เป็นข้อมูลข้อความผสมกับรูปภาพในจำนวนไม่มากเกินไป และ จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ในแต่ละเดือนประมาณ​ 100,000+ Visits โดยเฉลี่ยในแต่ละเดือน

  • เมนู : 30+ เมนู
  • ผู้เข้าชมเฉลี่ย 100,000 / เดือน
  • พื้นที่โฮสติ้งที่ควรใช้ : 40GB++

จำนวนเมนู, ผู้เข้าชมเฉลี่ย, พื้นที่โฮสติ้ง ผมแค่ประเมินจากประสบการณ์ที่เคยทำเว็บไซต์ให้ลูกค้านับไม่ถ้วน

แต่ถามว่าถ้าเช่าพื้นที่โฮสติ้ง มากกว่า หรือ น้อยกว่า จะเป็นอะไรไหม? ก็จริงๆ ก็ได้แหละ แต่อาจจะเกินจำเป็นไปนิด ไม่ก็ถ้าน้อยไป ก็อาจจะไม่พอจนทำให้เว็บล่มบางเวลา ทั้งนี้อยากให้เลือกตามการใช้งานจริง โดยจำข้อมูลที่ผมบอกไป ไปประกอบการพิจารณา ไม่มีถูกหรือผิด

2. รองรับการติดตั้งแบบ One-Click Installation

One-Click Installation คือ ระบบการติดตั้งอย่างง่าย ผ่าน Control Panel ทำให้เราสามารถติดตั้ง WordPress ได้ในไม่กี่นาที โดยที่ไม่ต้องอัพโหลดไฟล์ด้วยตัวเองให้วุ่นวาย

สำหรับคนที่รับทำเว็บไซต์ WordPress โดยตรง หรือโปรแกรมเมอร์ คิดว่าคงไม่มีปัญหาสำหรับการติดตั้ง WordPress ไม่ว่าจะวิธีไหนก็ตาม

แต่สำหรับมือใหม่พึ่งรู้จัก หรือกำลังเริ่มจะทำเว็บไซต์ WordPress ด้วยตัวเอง อาจจะยังไม่เข้าใจว่า FTP คืออะไร Database คืออะไร จะให้ติดตั้งแบบดิบๆ อย่างนั้นคงจะยุ่งยากไป

ฉะนั้นวิธีการติดตั้ง WordPress ที่ง่ายที่สุด ก็คือ ติดตั้งแบบ One-Click คลิกๆ ไม่กี่ทีก็ได้เว็บไซต์มาแล้ว แต่ต้องอาศัยการติดตั้งผ่านระบบ Control Panel เช่น Direct Admin, Plesk, cPanel etc…

ส่วนใหญ่เกือบจะทุกโฮสติ้งจะมีระบบ Control Panel ให้เราใช้เกือบจะทุกเจ้าแล้ว

3. เวอร์ชั่น PHP ขั้นต่ำที่รองรับ

WordPress ต้องการ PHP เวอร์ชั่น 7.3 หรือ เทียบเท่า

ถ้าติดตั้งด้วยเวอร์ชั่นต่ำกว่าจะได้ไหม? คำตอบคือ ได้ครับ แต่อาจจะทำงานได้ไม่สมบูรณ์ 100% และอาจจะส่งผลให้ปลั๊กอินบางตัวไม่ทำงานด้วย

เหตุผลที่ทาง WordPressให้ใช้ PHP เวอร์ชั่นสูงๆ เหตุผลหลักก็คือด้าน ความปลอดภัย หลายๆ เว็บไซต์โดนมัลแวร์ หรือ โดน Hack ปัจจัยนึงก็มาจากการที่ใช้โฮสติ้งรุ่นเก่าที่ใช้ PHP รุ่นเก่ามากๆ

และอีกเหตุผลนึงที่น่าสนใจมากๆ คือ เรื่องความเร็ว หรือ Speed ในการโหลด เรามาดูรูปด้านล่าง ที่เปรียบเทียบ PHP เวอร์ชั่น 5.6 – 7.3

เปรียบเทียบ PHP เวอร์ชั่น 5.6 - 7.3
Credit ภาพจาก Kinsta

จากภาพ สิ่งที่น่าสนใจคือ เวอร์ชั่น 7.3 เทียบกับเวอร์ชั่น 5.6 สังเกตว่า เวอร์ชั่น 7.3 เร็วกว่า 3 เท่ากว่า ด้วยความเร็ว 225+ Requuests ต่อวินาทีเลยทีเดียว

ผมขอสรุปอีกรอบนึง ว่าทำไมควรใช้ PHP เวอร์ชั่น 7.3 เป็นต้นไป

  • เพื่อให้ WordPress ทำงานได้สมบูรณ์ 100%
  • เพื่อความปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่อการโดนแฮก
  • เพื่อให้เว็บไซต์โหลดไวขึ้น

4. มี SSL แบบฟรีให้เราใช้

SSL / https
SSL / https

SSL คือ การเข้ารหัสข้อมูล เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการรับ-ส่งข้อมูล ระหว่างฝั่ง Server หรือ โฮสต้ิงที่เก็บข้อมูล กับเว็บเบราเซอร์ ผ่านโปรโตคอล HTTPS

SSL มีหลายประเภททั้งแบบฟรี และเสียเงิน แต่ส่วนใหญ่ที่มากับโฮสติ้ง และให้เราใช้ได้ฟรี คือประเภท Let’s Encrypt (LE)

ข้อดีของการเปิดใช้งาน SSL คือ ช่วยให้เว็บไซต์เราปลอดภัยยิ่งขึ้น น่าเชื่อถือ เพราะเบราเซอร์เดี๋ยวนี้ ถ้าไม่มี SSL ให้สังเกตที่ด้านหน้าชื่อโดเมน จะขึ้นว่า “Not Secured” “ไม่ปลอดภัย” เป็นสีแดงๆ

และยังส่งผลเสียต่ออันดับ SEO บนกูเกิลด้วยนะ

ดังนั้นก่อนที่จะเช่าโฮสติ้งที่ไหน ควรสอบถามก่อนว่า รองรับ ฟรี SSL หรือเปล่า จริงๆ เว็บไซต์สมัยใหม่ควรติดตั้ง SSL หรือ https เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว

5. Speed และ Caching

ความเร็วของเว็บไซต์ (Speed) เป็นปัจจัยหลักของเว็บไซต์ตอนนี้เลยก็ว่าได้ เพราะด้วยเทรนด์การเข้าเว็บไซต์เทไปทางมือถือเกิน 50% ไปแล้ว ทำให้เราต้องให้ความสำคัญกับมือถือเป็นหลัก

เมื่อพูดถึงเน็ตมือถือ แต่ละคนใช้แพคเกจไม่เหมือนกันเลย เร็วบ้าง ช้าบ้าง ถ้าบังเอิญคนที่เน็ตช้าเข้าเว็บไซต์เรา แล้วต้องรอนาน… ใครจะไปรอถูกไหมครับ

วิธีเช็คความเร็วเว็บไซต์

ทำไมต้องทำเว็บให้โหลดเร็ว?

เป้าหมายหลักก็เพื่อให้ คนเข้าเว็บอยู่ในเว็บไซต์เรานานที่สุด และมีโอกาสคลิกไปเจอสินค้า บริการต่างๆ แล้วไงต่อ? ยิ่งคนอยู่ในเว็บไซต์เรานาน มันบ่งบอกว่าเว็บไซต์เรามีคุณภาพ น่าเชื่อถือ และที่คำสัญที่สุด มันส่งผลต่ออันดับ SEO ของเว็บไซต์เราบน Google โดยตรงเลย

ปัจจัยที่ทำให้เว็บไซต์โหลดเร็ว มี 2 ประเด็นหลัก คือ 1.ฝั่งโฮสติ้งที่ใช้ 2. ฝั่งตัวเว็บไซต์เอง

การเลือกใช้เว็บโฮสติ้ง WordPress ที่เลือกใช้ฮาร์ดแวร์ที่มีคุณภาพ ปรับจูนระบบแคช (Cache) ได้ดี ส่งผลให้เว็บไซต์โหลดเร็วไปด้วย

บางโฮสติ้ง ได้พัฒนาปลั๊กอิน Cache สำหรับ WordPress โดยเฉพาะ ทำให้เข้ากันได้ดี ช่วยทำให้การดึงข้อมูลมาแสดงบนเบราเซอร์ได้เร็วที่สุด

6. มีระบบ Control Panel ให้ใช้ง่ายๆ

Hosting Control Panel
Hosting Control Panel

Hosting Control Panel เป็นเครื่องมือสำหรับการตั้งค่าต่างๆ ของเว็บโฮสติ้ง ตั้งแต่ระบบติดตั้ง WordPress, ตั้งค่า FTP, ตั้งค่า Database, สร้าง Sub-domain, ระบบอีเมล์, การเปิดใช้งาน Free SSL เป็นต้น

Control Panel เกิดมาเพื่อให้คนทั่วไป ที่ไม่ได้มีความรู้เรื่องการ Config Server ใช้งานได้ง่ายๆ ผ่านหน้าจอ เมนูต่างๆ

จากที่เคยใช้งานโฮสติ้งหลายๆ เจ้า ทั้งโฮสติ้งไทย และต่างประเทศ มี 3 ยี่ห้อ

  1. cPanel
  2. DirectAdmin
  3. plesk

ที่เจอบ่อยที่สุดคือ DirectAdmin แต่ละยี่ห้อมีวิธีการตั้งค่าต่างกันเล็กน้อย แต่โดยรวมแล้ว จะคล้ายๆ กันในแง่ความสามารถในการตั้งค่า และควบคุมโฮสติ้ง “เอาเป็นว่า เค้าแถมอะไรให้ ก็ใชัอันนั้นแหละครับ ไม่มีปัญหา

7. อ่านข้อจำกัดของแพคเกจโฮสติ้งให้ดี

สเปคของ Hosting
สเปคของ Hosting

แต่ละโฮสติ้งแต่ละแพคเกจ มีสเปคที่ไม่เหมือนกันเลย แน่นอนว่ารายละเอียดโฮสติ้งของแต่ละแพคเกจ ก็จะมีผลในการใช้งานด้วย

เรามาดูกันว่า เวลาจะเช่าโฮสติ้งต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง และข้อจำกัด

  • Disk Space : พื้นที่การใช้งานของโฮสติ้ง ควรเริ่มต้นที่ 5GB เป็นต้นไป
  • Data Transfer : หรือ Bandwidth คือ Data ที่วิ่งเข้า-ออก ระหว่าง Server หรือ Web Hosting รวมถึงจำนวนทราฟฟิค หรือ ผู้เข้าชมเว็บไซต์ แนะนำ 100GB เป็นต้นไป
  • Domain Limit : จำนวนโดเมน หรือ จำนวนเว็บไซต์ที่ติดตั้ง แล้วแต่การใช้งาน
  • Inode : จำนวนไฟล์ข้อมูลที่เก็บไว้ในเว็บโฮสติ้ง  เช่น File, Folder, Email, Database ถ้าเป็นเว็บไซต์ขนาดใหญ่ อาจจะต้องพิจารณาเรื่องนี้เป็นพิเศษ

นี่คือสเปคเบื้องต้นที่ต้องดูแน่ๆ เวลาจะเช่าโฮสติ้ง ไม่ว่าจะเจ้าไหน ก็จะมีตัวเลือกที่แตกต่างกัน แนะนำให้เลือกตามที่ใช้งานจริง อาจจะเผื่อๆ ไว้ก็ดีครับ

สวนใหญ่ถ้าเว็บไซต์ขนาดเล็ก ไม่ต้องคิดอะไรมากอยู่แล้ว เพราะส่วนใหญ่ทางโฮสติ้ง ได้ตั้งสเปคเผื่อๆ ไว้อยู่ แต่ถ้าเป็นเว็บไซต์ขนาดกลาง จนถึงขนาดใหญ่ รวมถึง เว็บไซต์ที่มียอดทราฟฟิค หรือ คนเข้าชมเว็บไซต์ ต่อเดือนเยอะๆ อาจจะต้องสอบถามทางโฮสติ้ง ว่าแนะนำแพคเกจโฮสติ้งไหนดี

8. มีระบบ BackUP แบบรายวัน

Daily BackUP การสำรองเว็บไซต์สำคัญยังไง? คือถ้าในกรณีปกติ ที่เว็บไซต์ไม่ได้มีปัญหาอะไร ก็ไม่ได้มีปัญหา แต่บ่อยครั้ง เว็บไซต์ที่ทำด้วย WordPress อาจจะมีการล่ม หรือเสียหาย ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ การมีไฟล์ BackUP ช่วยให้เว็บไซต์ต้นฉบับยังคงอยู่

บางโฮสติ้งมี BackUP รายสับดาห์ หลายเจ้าก็จะมีแบบ Daily BackUP หรือสำรองเป็นรายวันเลย วันไหนมีปัญหา ก็เอาเวอร์ชั่นก่อนหน้าที่มีปัญหาได้เลย ข้อมูลที่อัพเดตกันล่าสุด ก็จะยังอยู่ครบ

สาเหตุที่ทำให้เว็บไซต์​ WordPress เสียหาย พัง เข้าไม่ได้ มีไม่กี่สาเหตุ จากประสบการณ์ที่เคยเจอ เกิดจากการ Update Plugin, Theme, WordPress บางตัวอาจจะเข้ากันไม่ได้ หรือ เว็บไซต์โดน Hack ก็มีบ่อย ฉะนั้น การมีโฮสติ้งที่คอยสำรองเว็บไซต์ให้เรา ก็ค่อยอุ่นใจขึ้นมาหน่อย

นอกจากการสำรองของโฮสติ้งแล้ว ผมแนะนำให้ติดตั้ง Plugin สำหรับสำรองเว็บไซต์ ผ่านหลังบ้านของ WorPress อ่านวิธีการ BackUP WordPress

9. ทีมซัพพอร์ต 24ชม. (จริงๆ) และแก้ปัญหาได้ไว

เกือบทุกโฮสติ้งที่เคยเจอ ไม่ว่าจะโฮสติ้งในไทย หรือ โฮสติ้งต่างประเทศ ส่วนใหญ่เคลมว่า Support 24ชม.

แต่เอาเข้าจริง เวลาโพสตามใน Ticket เวลาโฮสติ้งมีปัญหา กลับต้องรอหลายชั่วโมง หรือ เป็นวันกว่าจะได้รับคำตอบ บางโฮสเร็ว บางโฮสช้า ก็ถมไป

วิธีนึงที่จะทดสอบว่า ทีมโฮสติ้ง Active ตลอดเวลาไหม อาจจะลองส่งเมล์ไปสอบถามอะไรก็ได้ ดูซิว่าจะตอบภายในกี่นาที กี่ชม.

แต่ถ้าจะเอาชัวร์ๆ และไม่อยากเสียใจภายหลัง แนะนำให้สอบถามจากผู้มีประสบการณ์ที่เคยใช้งานโฮสติ้ง ว่าการบริการหลังการขายเป็นยังไงบ้าง

และที่จะแนะนำเพิ่มเติม ให้หาโฮสติ้งที่มีระบบแชต หรือ Live Chat จะได้รับคำตอบเร็วขึ้น

การแก้ไขปัญหาให้เรา กรณีโฮสล่ม ก็สำคัญไม่แพ้กัน ควรหาโฮสติ้งที่แก้ไขปัญหาเก่งๆ ทีมวิศวะกรเก่งๆ วิธีเดียวที่จะรู้ได้คือ ถามคนที่เคยใช้บริการเจ้านั้นๆ และควรหาโฮสที่ถนัดด้าน WordPress โดยตรงจะดีมาก

10. รีวิวจากคนที่เคยใช้งานจริง

หารีวิวที่พูดถึงเกี่ยวกับ WordPress Hosting
หารีวิวที่พูดถึงเกี่ยวกับ WordPress Hosting

จริงๆ การเลือกเช่าโฮสติ้งเจ้าไหนดี ก็ไม่ต่างอะไรกับการหาซื้อของในเน็ต อันดับแรก เรามักจะไปอ่านรีวิวดูก่อนใช่ไหมครับ จากนั้นค่อยเทียบสเปค หรือฟังก์ชันการใช้งาน ค่อยตัดสินใจเลือกซื้อ

การเช่าโฮสติ้งก็เหมือนกันเลยครับ ถ้าเป็นไปได้ ให้ไปอ่านรีวิวจากคนที่เคยเช่าแล้ว ว่าเจ้าไหนดีหรือไม่ดี

แหล่งรีวิวโฮสติ้ง

  • Pantip : ในทันทิปมักจะมีคนไปตั้งคำถามอยู่บ่อยๆ ว่า เลือกโฮสติ้งสำหรับ WordPress เจ้าไหนดี?
  • Facebook Group : ในเฟสฯ ก็จะมีกลุ่มที่มีชาว WordPress รวมตัวกันอยู่เยอะ ก็ลองไปตั้งกระทู้ถามได้ครับ
  • ถามคนใช้จริงๆ : อาจจะลองหาเพื่อนๆ ที่รู้จัก ที่เคยใช้ก็ได้ครับ น่าจะตรงไปตรงมาที่สุด

Web Hosting WordPress ที่ไหนดี (แนะนำ)

จากประสบการณ์ที่ทำเว็บไซต์​ WordPress ให้กับลูกค้ามานับไม่ถ้วน และใช้เว็บโฮสติ้งมาแล้วเกือบจะทุกประเภท ตั้งแต่ แชร์โฮสติ้ง, คลาวด์โฮสติ้ง, วีพีเอสโฮสติ้ง,​ WordPress Hosting ทำให้เห็นภาพรวมว่า โฮสติ้งประเภทไหน เหมาะกับการใช้กับเว็บไซต์แนวไหน

แต่ละประเภทโฮสติ้ง มีสเปคที่ต่างกัน ข้อดี-ข้อเสียต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภทและราคาของแพคเกจ

สำหรับเว็บไซต์ที่สร้างด้วย WordPress ถ้าอยากให้เว็บไซต์มีความเสถียรที่สุด แน่นอนว่า ต้องหาเว็บโฮสติ้งที่ “รู้ใจ WordPress

ผมจะมาแนะนำ 3 WordPress Hosting ที่ผมเคยใช้งานมาด้วยตัวเอง ทั้งโฮสติ้งไทย และโฮสติ้งต่างประเทศ ใช้แล้วดี จึงมาบอกต่อ

1. SiteGround

SiteGround “เป็นตัวเลือกแรกของผม” เพราะใช้กับเว็บไซต์ส่วนตัว 5 เว็บไซต์ ชอบเจ้านี้ทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น Speed, Security, Support เป็นโฮสติ้งที่ค่อนข้างเก่งด้าน WordPress โดยตรง มีทีมซัพพอร์ตเก่งๆ ค่อยช่วยแก้ไขปัญหาให้เรา

เท่าที่ใช้มา เป็นโฮสติ้งที่เร็วจริงครับ ใช้แล้วมีปัญหาน้อยถึงน้อยมากๆ ติดขัดตรงไหน ทักถามผ่านระบบ Live Chat ได้เลย 24 ชั่วโมง

Control Panel ของโฮสติ้ง SiteGround
Control Panel ของโฮสติ้ง SiteGround

หน้าตา Control Panel ของ SiteGround ใช้งานง่ายมากครับ มีการจัดหมวดหมู่ของเมนูด้านซ้ายที่ดีมากครับ แยกหมวดได้ชัดเจนดี เมนูไม่เยอะไม่วุ่นวาย แต่สามารถตั้งค่าได้ทุกอย่างเช่นเดิม

3 เรื่องที่เป็นจุดเด่นของ Sitegorund คือ

  • Speed Boosters
  • Security Sulutions
  • Client Tools (Control Panel)

ข้อดีของโฮสติ้ง SiteGround

  • เลือกประเภทโฮสติ้งได้ เช่น Web Hosting, WordPress Hosting, WooCommerce Hosting, Cloud Hosting
  • ระบบย้ายเว็บไซต์ฟรี! WordPress Migrator Plugin
  • Free SSL Certificates
  • Control Panel ใช้ง่าย(มาก)
  • ทีมงาน Support 24ชม. ของจริง
  • ระบบสำรอง Backup & Restore คลิกเดียว
แพคเกจราคา SiteGround
แพคเกจราคา SiteGround

เพื่อนๆ สามารถเลือกแพคเกจโฮสติ้ง ตามที่ต้องการใช้งานได้เลยครับ (เลือกไม่ถูกปรึกษาได้นะ) เป็นโฮสติ้งต่างประเทศที่ราคาไม่แพงมาก ถ้าเทียบกับคุณภาพที่ได้ แพงกว่าโฮสติ้งไทยเล็กน้อย

SiteGround WordPress Hosting

โฮสติ้ง SiteGround

เป็นโฮสติ้ง WordPress ต่างประเทศที่ผมใช้เป็นหลัก เลยเชียร์เป็นลำดับแรก
คลิกอ่านรายละเอียดได้ครับ ลดพิเศษปีแรก เริ่มต้นแค่ 3.95$/เดือน

2. Cloudways

WordPress โฮสติ้งถัดจาก SiteGround ที่ผมใช้อยู่และ เก่งเรื่อง Cache WordPress โดยตรง ทำให้เว็บไซต์โหลดไวมาก ซึ่งเบื้องหลังของ Cloudways ก็คือ Server Cloud ระดับโลกนี่เองครับ จะมีให้เลือกดังนี้

  • DigitalOcean
  • linode
  • VULTR
  • aws
  • Google Cloud

Cloudways มีปลํ๊กอินแคชของตัวเอง ชื่อ Breeze – WordPress Cache Plugin หมายความว่า ปลั๊กอินจะช่วยปรับจูนให้ Performance ของ WordPeress ทำงานได้ดีที่สุดบนโฮสติ้งครับ ที่สำคัญคือใช้งานง่ายครับ เมนูไม่เยอะ *ถ้าทีมเค้าไม่เก่งจริง คงพัฒนาปลั๊กอินขึ้นเองไม่ได้

Control Panel ของ Cloudways
Control Panel ของ Cloudways

ภาพข้างบน เป็นหน้าตา Control Panel ของ Cloudways ครับ UI ใช้งานง่าย จัดระเบียบได้ดี คือสามารถตั้งค่าทุกอย่างผ่าน Control Panel ได้เลยครับ

ข้อดีของ Cloudways

  • เลือก Cloud Server ได้ว่าอยากเลือกเจ้าไหน เช่น DigitalOcean, linode, VULTR, aws, Google Cloud
  • เลือก สเปคโฮสติ้ง ได้ตามที่ต้องการได้เลย
  • ย้ายเว็บครั้งแรกฟรี!
  • Free SSL Certificates
  • ลงเว็บได้ไม่จำกัด
  • ทีมงาน Support 24ชม. ของจริง
  • ทดลองใช้ฟรี!
แพคเกจราคาโฮสติ้ง Cloudways
แพคเกจราคาโฮสติ้ง Cloudways

สามารถเลือกแพคเกจราคาตามต้องการได้เลยครับ ราคาขึ้นอยู่กับ ยี่ห้อ Cloud ที่เลือก จำนวนสเปคที่ต้องการ

Cloudways WordPress Hosting

โฮสติ้ง Cloudways

เป็นโฮสติ้ง WordPress ต่างประเทศที่เก่งด้าน WordPress โดยตรง
คลิกอ่านรายละเอียดได้ครับ เริ่มต้นแค่ 10$/เดือน

3. Hostatom

โฮสอะตอม เป็นโฮสติ้งไทยอีกตัวที่ผมใช้อยู่ คุณภาพของโฮสติ้งถือว่าดีมากครับ Server ตั้งอยู่ในไทย ใครที่กำลังมองหา WordPress Hosting ผมแนะนำ Hostatom ครับ เพราะมันมีแพคเกจ WordPress Hosting โดยตรง เป็นแพคเกจที่ปรับจูนให้เข้ากับ WordPress โดยตรง

โฮสติ้งอะตอม

โฮสติ้ง Hostatom

เป็นโฮสติ้งไทยอีกเจ้านึง ที่ผมใช้อยู่ คุณภาพดีครับ เหมาะกับ WordPress มาก
บริการหลังการขายดีมากครับ แก้ไขปัญหาได้เร็ว
คลิกอ่านรายละเอียดได้ครับ เริ่มต้นแค่ 690 บาท/ปี

4. RukCom (โฮสติ้งไทย)

ผมใช้โฮสติ้งไทยมาหลายเจ้าเลยครับ แต่รู้สึกไว้ใจ RukCom ครับ หลายๆ ด้านก็ทำได้ดีเลย ( แต่อย่าไปเทียบกับ 2 โฮสแรกที่ผมแนะนำไป เพราะคนละชั้นครับ ) สำหรับ WordPress มันมีปลํ๊กอิน RCache สำหรับปรับปรุงเรื่อง Speed โดยเฉพาะ

ทางด้าน Support ก็ถือว่ากลางๆ ไม่ถึงกับ 5 ดาว แต่ทำได้ดีครับ หากต้องการความช่วยเหลือด่วนๆ โทรไปเลยครับ ง่ายดี และสิ่งที่ชอบโฮสติ้งไทยๆ คือ คุยง่ายครับ ภาษาเดียวกัน

ส่วนตัวสิ่งที่ชอบที่สุดคือ ตัว Scan Virus ใน DirectAdmin มันบอกจุดที่ไวรัสอยู่ และช่วยแจ้งเตือนทางอีเมล์ให้เราเลย

ข้อดีของ Ruk-Com

  • เว็บไซต์โหลดเร็ว (เร็วแบบสมกับราคา)
  • สำรองข้อมูลทุกวัน
  • ย้ายข้อมูลฟรี!
  • ดูแล 24 ชั่วโมง
  • สแกนไวรัสฟรี (ชอบมาก)
  • Ruk-Com Techonology เช่น RCache
Rukcom WordPress Hosting

โฮสติ้ง RUK-COM

เป็นโฮสติ้งไทยเจ้าเดียว ที่ผมใช้อยู่ คุณภาพก็ใช้ได้เลยครับกับราคาไม่แพง
คลิกอ่านรายละเอียดได้ครับ เริ่มต้นแค่ 150 บาท/เดือน

ตารางเปรียบเทียบแพคเกจราคา

#ชื่อโฮสติ้งราคาเริ่มต้น/เดือนลิงค์
1SiteGround WordPress Hosting3.95$ (ปีแรก)รายละเอียด
2Cloudways WordPress Hosting10$รายละเอียด
3Ruk-Com Cloud WordPress Hosting150บาทรายละเอียด
4Hostatom690/ปีรายละเอียด
ตารางเปรียบเทียบราคาโฮสติ้ง

สรุป

การเลือกโฮสติ้งที่ถูกต้อง ถือว่าเป็นด่านแรกของการสร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress นอกจากช่วยประหยัดเงินแล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเว็บไซต์ด้วย หากเลือกโฮสติ้งผิดประเภท อาจจะเกินจำเป็น หรือ ทำให้เว็บไซต์มีปัญหาไปเลยก็ได้

ฉะนั้นการเลือกโฮสติ้งที่รู้ใจ WordPress คือสิ่งที่สำคัญที่สุด ก่อนที่จะเริ่มทำเว็บไซต์ด้วย WordPress

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *