วิธีติดตั้ง WordPress เวอร์ชั่น 5.6 ผ่าน FTP คู่มือพื้นฐาน

วิธีติดตั้ง wordpress บน host จริง มีหลาย 2 วิธีด้วยกัน คือ การติดตั้งแบบอัตโนมัติ กับแบบติดตั้งด้วยตัวเองผ่าน FTP ในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกวิธีติดตั้งเฉพาะผ่าน FTP และใช้ Direct Admin ไม่ว่าจะเช่าโฮสติ้งที่ไหน จะมีขั้นตอนเหมือนกัน

ผมจะไล่เรียงวิธีการแบบ Step By Step เพื่อให้เพื่อนๆ ที่เป็นมือใหม่สามารถติดตั้ง WordPress ได้ด้วยตัวเอง ตั้งแต่สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนที่จะติดตั้ง วิธีสร้าง FTP และ Database จนถึงวิธีอัพโหลดไฟล์ต่างๆ ซึ่งผมจะใช้ WordPress 5.6 ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นล่าสุด ที่ผมแนะนำให้ใช้ตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นไป ถ้าเพื่อนๆ ใช้เวอร์ชั่นต่ำกว่าอยู่ แนะนำให้อัพเดตครับ

การติดตั้ง WordPress

WordPress เป็นที่รู้จักกันดีเรื่องความง่ายในการติดตั้ง เป็นขั้นตอนที่ง่ายมากและใช้เวลา “น้อยกว่า 5 นาที” ในการติดตั้ง ซึ่งตอนนี้ บริษัท Hosting เกือบทุกเจ้าจะมีเครื่องมือที่สามารถติดตั้ง WordPress ได้ง่ายๆ (เช่น Fantastico) เพื่อติดตั้ง WordPress ให้เราโดยอัตโนมัติ อย่างไรก็ตามหากต้องการติดตั้ง WordPress ด้วยตัวเอง เดี๋ยวผมจะพาไปติดตั้งที่ละขั้นตอน

สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนติดตั้ง WordPress

  1. ไฟล์ WordPress Version 5.6 สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี้ ดาวน์โหลด WordPress 5.6
  2. Domain Name หรือ ชื่อเว็บไซต์
  3. WordPress Hosting แนะนำให้อ่านบทความนี้ WordPress Hosting โฮสติ้งที่รู้ใจ WordPress ดีที่สุด
  4. FTP เพื่อใช้อัพโหลดไฟล์ WordPress เข้าไปใน Hosting ของเรา
  5. Database เพื่อเก็บฐานข้อมูลของ WordPress
  6. Email เอาไว้ใช้ตอนติดตั้ง แนะนำให้เป็นอีเมลที่ใช้งานจริง เอาไว้สำหรับกู้รหัสผ่าน และ แจ้งเตือนต่างๆ เกี่ยวกับ WordPress

FTP และ Database รหัสเหล่านี้ เราจะได้ตอนที่เช่าโฮสติ้งครั้งแรก หรือ หากจำไม่ได้ เดี๋ยวผมจะสอนวิธีการสร้าง FTP และ Database

วิธีติดตั้ง WordPress บน host จริง : 5 STEP

  1. วิธีสร้าง FTP
  2. วิธีสร้าง Database
  3. อัพโหลดไฟล์ WordPress 5.6 ผ่าน FTP
  4. วิธีอัพโหลดไฟล์ WordPress
  5. วิธีติดตั้ง WordPress 5.6

1. วิธีสร้าง FTP

  • ให้ Login เข้า Direct Admin ในบทความนี้ผมใช้เว็บโฮสติ้ง ruk-com ในการสอนติดตั้ง
    ซึ่งการสร้าง FTP ของแต่ละโฮสต์นั้น จะไม่เหมือนกัน หากเป็น โฮสต์ ruk-com จะมีลิงค์เข้าสู่หน้า Direct Admin ให้เลย
Login Direct Admin
Login Direct Admin
  • เมื่อ login เข้ามาแล้ว ให้เลือก Domain ของเรา ดังรูป
เลือก Domain ใน Direct Admin
เลือก Domain ใน Direct Admin
  • จากนั้นคลิ๊กที่ FTP Management ดังรูป
เมนูสร้าง FTP ใน Direct Admin
เมนูสร้าง FTP ใน Direct Admin
  • จากนั้นเลือก Create FTP account ดังรูป
เลือกสร้าง FTP ใน Direct Admin
เลือกสร้าง FTP ใน Direct Admin
  • จากนั้นก็สร้าง User ตามทั่วไปเลยครับ ซึ่งจะมีให้เราใส่ข้อมูลแค่ช่องเดี่ยว คือช่อง FTP Username ส่วน Enter Password แนะนำให้ Random ไปเลยครับ หรือจะใส่เองเผื่อจำง่ายๆ ก็ได้ครับ แล้วแต่สะดวก จากนั้น ติ๊กที่คำว่า Domain จากนั้นให้ Copy ทุกอย่างเก็บไว้ก่อนครับเผื่อเราจำไม่ได้ เช่น FTP Username: ในช่องนี้เวลาไปใส่ใน FTP ให้ใส่ @ ตามด้วย Domain ของเราด้วยครับ และ FTP Password: ควรจะ Copy เก็บไว้ แล้วกด Create ได้เลย ดังรูป
ตัวอย่างการสร้างข้อมูล FTP ใน Direct Admin
ตัวอย่างการสร้างข้อมูล FTP ใน Direct Admin

เพียงเท่านี้ เราก็จะได้ FTP User ของ Domain เพื่อทำการอัพโหลดไฟล์ WordPress แล้วครับ

2. วิธีสร้าง Database

ขั้นตอนนี้ให้ Login เข้า Direct Admin เช่นเดี่ยวกันครับ หลังจาก Login และ คลิ๊กที่โดเมนเสร็จแล้ว ให้เลือก MySQL Management ดังรูป

เมนูสร้าง Database ใน Direct Admin
เมนูสร้าง Database ใน Direct Admin
  • จากนั้นคลิ๊กที่ Create new Database
เลือกสร้าง Database ใน Direct Admin
เลือกสร้าง Database ใน Direct Admin
  • จากนั้นก็ใส่ข้อมูลตามต้องการเลยครับ ดังรูปตัวอย่าง
ตัวอย่างการสร้างข้อมูล Database ใน Direct Admin
ตัวอย่างการสร้างข้อมูล Database ใน Direct Admin

จะเห็นได้ว่า จะมี 2 ช่องเองที่ผมกรอก คือช่อง Database Name กับ Database Username ส่วน Username Password ผมจะ Random เอาครับ ซึ่ง Database Name กับ Database Username ไม่จำเป็นต้องใส่เหมือนกันก็ได้ครับ สามารถใส่ตามต้องการได้เลย

สังเกตที่ช่อง Database Name กับ Database Username จะมีคำว่า “dulaeweb_” แต่ละโดเมนจะขึ้นไม่เหมือนกัน ซึ่งจะหมายถึงชื่อ Hosting ของเรา แล้วตามด้วย Underscore (ขีดล่าง) อันนี้ แต่ละโฮสต์จะ Fix ให้มาแล้วครับ เวลาเราจะเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล จำเป็นต้องใส่ชื่อ Hosting ตามด้วย Underscore (ขีดล่าง) และชื่อ Database ที่เราตั้ง เช่น จากตัวอย่างที่ผมทำคือ “dulaeweb_test” เป็นต้น

เมื่อเรากรอกข้อมูลเสร็จหมดทุกอย่างแล้ว ให้กด Create ได้เลยครับ หลังจากกด Create แล้ว ก็จะลิงค์มายังหน้า ดังรูป

ผลลัพธ์ที่ได้จากการสร้าง Database ผ่าน Direct Admin
ผลลัพธ์ที่ได้จากการสร้าง Database ผ่าน Direct Admin

ให้เราทำการ Copy ข้อมูลเหล่านี้เก็บไว้ได้เลยครับ เป็นอันเสร็จของการสร้างฐานข้อมูล Database

เมื่อเรามีข้อมูลที่พร้อมทุกอย่างแล้ว ก็จะมาถึงขั้นตอนที่สำคัญของบทความนี้แล้วครับ คือ ติดตั้ง WordPress เวอร์ชั่น 5.5 ผ่าน FTP เรามาเริ่มติดตั้งกันเลยครับ

3. อัพโหลดไฟล์ WordPress 5.6 ผ่าน FTP

ในขั้นตอนนี้ ผมจะใช้โปรแกรม FileZilla เป็นหลักในการเชื่อมต่อ FTP และ อัพโหลดไฟล์ต่างๆ ของ WordPress ซึ่งเป็นโปรแกรมฟรี สามารถติดตั้งลงบนเครื่องตัวเองได้เลยครับ ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรม ผมอาจจะไม่สอนให้นะครับ เพราะส่วนมากแล้วน่าจะติดตั้งเป็นกันอยู่แล้ว โดยตอนดาวน์โหลดนั้น ให้เราดาวน์โหลด FileZilla Client มาครับ

เมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เราเปิดโปรแกรมได้เลยครับ หน้าต่างของโปรแกรมจะประมาณนี้

หน้าต่างโปรแกรม FileZilla
หน้าต่างโปรแกรม FileZilla

วิธีเชื่อมต่อ FTP : การเชื่อม FTP ให้ทำตามขั้นตอนดังนี้

  1. กด Open the Site Manager.
  2. กดสร้าง New Site
  3. ช่อง Protocol ให้เลือกเป็น FTP – File Transfer Protocol โดยช่องนี้ ค่า Default จะเป็นค่านี้อยู่แล้ว แต่ถ้าไม่ใช่ ก็ให้เลือกเป็นอันนี้ครับ
  4. ใส่ข้อมูลในช่อง Host ซึ่งในช่องนี้ ให้ใส่เป็นชื่อ Domain หรือ IP Address ที่ผู้ให้เช่า Hosting ให้มา เช่น exampledomain.com
  5. ใส่ Port โดยค่า Default ของ Port คือ 21
  6. ใส่ User ในช่องนี้ให้เราใส่ FTP Username ที่ผู้ให้เช่า Hosting ให้มา หรือจากที่เรา Copy ที่สร้างเมื่อสักครู่
  7. ใส่ Password ในช่องนี้ให้เราใส่ FTP Password ที่ผู้ให้เช่า Hosting ให้มา หรือจากที่เรา Copy ที่สร้างเมื่อสักครู่
  8. เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จเรียบร้อย ให้กด Connect ได้เลยครับ
ตัวอย่างการสร้าง FTP ผ่าน FileZilla
ตัวอย่างการสร้าง FTP ผ่าน FileZilla

เมื่อ Connect ผ่านแล้ว หน้าต่างก็จะเป็นประมาณนี้

ตัวอย่าง File เมื่อเชื่อมต่อ FTP ผ่าน
ตัวอย่าง File เมื่อเชื่อมต่อ FTP ผ่าน

โฟลเดอร์ของ Domain ของเราจะอยู่ฝั่งขวา ที่ผมได้วงไว้ ซึ่งจะมีโฟลเดอร์หลักๆ อยู่ประมาณนี้ สำหรับไฟล์ WordPress ให้ทำการอัพโหลดลงในโฟลเดอร์ private_html สำหรับ Hosting ที่เปิด SSL อยู่แล้ว แต่ถ้ายังไม่ได้เปิด SSL ซึ่งเมื่อกดเปิดโฟลเดอร์ private_html มันจะเด้งมายังโฟลเดอร์ public_html ทันที ดังนั้น ให้ทำการอัพโหลดไฟล์ WordPress เข้ามายังโฟลเดอร์นี้ก่อน ค่อยไปเปิด SSL ที่หลังก็ได้ครับ

4. วิธีอัพโหลดไฟล์ WordPress

กรณีดาวน์โหลดไฟล์ WordPress มาแล้ว ให้ทำการแตกไฟล์ได้เลยครับ ถ้าหากว่ายังไม่ดาวน์โหลด สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี้ WordPress 5.5 จากนั้นให้ทำการแตกไฟล์จากไฟล์ ออกจากไฟล์ Zip ดังรูป

ตัวอย่างไฟล์ WordPress
ตัวอย่างไฟล์ WordPress

หลังจากแตกไฟล์มาแล้วให้เข้าไปที่โปรแกรม FileZilla ซึ่งฝั่งซ้ายของโปรแกรม FileZilla ให้หาโฟลเดอร์ WordPress ที่เราแตกมาเมื่อสักครู่ แล้วทำการเลือกทั้งหมดโดยการกด Ctrl+A หรือจะใช้เมาส์ลากทั้งหมดก็ได้ครับ จากนั้นทำการลากไปวางในโฟลเดอร์ private_html ที่อยู่ฝั่งขวาของโปรแกรม ดังรูป

ตัวอย่างการลากไฟล์เข้าไปใน Domain
ตัวอย่างการลากไฟล์เข้าไปใน Domain

ในขนาดที่อัพโหลดไฟล์อยู่จะมี Popup ขึ้นมาจากโปรแกรม FileZilla อย่าเพิ่งตกใจครับ ให้ทำการติ๊กเลือก ดังรูป แล้วกด OK ได้เลยครับ จากนั้นโปรแกรมก็จะทำการอัพโหลดต่อจนเสร็จครับ

ตัวอย่างการตั้งค่าเมื่อ FileZilla ขึ้นแจ้งเตือน
ตัวอย่างการตั้งค่าเมื่อ FileZilla ขึ้นแจ้งเตือน

เมื่ออัพโฟลดไฟล์เสร็จแล้ว ให้ปิดโปรแกรมได้เลยครับ จากนั้นเข้าไปที่ Browser แล้วทำการพิมพ์ที่อยู่เว็บไซต์ของเรา หรือชื่อโดเมนของเรา แล้วกด Enter ได้เลยครับ

หากอัพโหลดไฟล์ถูกต้องตามขั้นตอนทุกอย่าง ก็จะขึ้นหน้าขั้นตอนการติดตั้ง WordPress ดังรูป

หน้าต่างการติดตั้ง WordPress
หน้าต่างการติดตั้ง WordPress

แต่ถ้าหากว่าไม่ขึ้นหน้านี้ ให้ย้อนดูที่ละขั้นตอนใหม่ครับ ว่าเราทำถูกต้องตามขั้นตอนทุกอย่างหรือเปล่า?

ดังนั้น หากใครที่ทำถูก แล้วขึ้นมาหน้านี้ แสดงว่าขั้นตอนการอัพโหลดไฟล์ของเรานั้นสมบูรณ์ทุกอย่าง เริ่มขั้นตอนต่อไปกันเลย

5. วิธีติดตั้ง WordPress 5.6

ตัวอย่างการติดตั้ง WordPress
ตัวอย่างการติดตั้ง WordPress

ทำการเลือกภาษาตามที่ถนัดเลยครับ แต่ถ้าให้ผมแนะนำ ให้ติดตั้งเป็นภาษาอังกฤษไปเลยครับ เราจะได้เรียนรู้ศัพท์ต่างๆ ไปควบคู่กันเลยครับ จากนั้นกด Continue ได้เลยครับ

จากนั้นให้ทำการกด Let’s go! ตามรูปด้านล่างได้เลยครับ

หน้าต่างแสดงความต้องการของ WordPress
หน้าต่างแสดงความต้องการของ WordPress

อย่างที่ผมได้บอกขั้นต้นไปแล้วว่า ควรเตรียมอะไรบ้าง ซึ่งเป็นขั้นตอนนี้แหละครับที่เราจะต้องใช้กัน ก็คือ

  • Database name:
  • Database username:
  • Database password:
  • Database host: อันนี้โดยส่วนมากแล้วจะใช้เป็น localhost แต่บาง Hosting อาจใช้เป็นอย่างอื่น อันนี้ขึ้นอยู่กับ Hosting ที่เราเช่ามาครับ
  • Table prefix: คือชื่อนำหน้าของตารางในฐานข้อมูล อันนี้แล้วแต่ควรเลยครับ สำหรับค่า Default ของ WordPress ก็จะเป็น “wp_”

ให้ทำการใส่ข้อมูลให้ครบถ้วน จากนั้นกด Submit ตามรูปตัวอย่างได้เลยครับ

ตัวอย่างการกรอกข้อมูล Database
ตัวอย่างการกรอกข้อมูล Database

หากการเชื่อมต่อฐานข้อมูลของเราถูก ก็จะขึ้นหน้าให้เรา Run the installation ดังรูป

ขั้นตอนต่อไปเมื่อเชื่อมต่อ Database ผ่าน
ขั้นตอนต่อไปเมื่อเชื่อมต่อ Database ผ่าน

ถ้าขึ้นมาดังรูป ให้กด Run the installation ได้เลยครับ แต่ถ้าหาการเชื่อมต่อฐานข้อมูลผิด จะขึ้น Error ให้เราทำการตรวจสอบฐานข้อมูลของเราว่าใส่ถูกไหม?

เมื่อกด Run the installation แล้ว ก็จะมาหน้าให้เราใส่ข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ของเรา เช่น

  • Site Title (หัวข้อเว็บ)
  • Username (ชื่อผู้ใช้) อันนี้ควรจดบันทึกไว้ด้วย เพราะต้องใช้ในการ Login เข้าสู่ระบบหลังบ้าน หรือเรียกว่าหน้า Dashboard ของ WordPress
  • Password ถ้าติดตั้งครั้งแรก มันจะสุ่มให้เราเป็นรหัสที่ปลอดภัยที่สุด แต่อาจจะจำยากไปหน่อย แนะนำให้เอาที่สุ่มมาจะดีที่สุด หรือถ้าหากจะเปลี่ยนใหม่ ก็สามารถเปลี่ยนได้ตามสมควรเลยครับ
  • Your Email อันนี้ให้เราใส่อีเมลที่เตรียมมา หรือ อีเมลที่เราใช้งานจริง *จำเป็นสำหรับการกู้คืนรหัสผ่าน และอื่นๆ อีกหลายอย่าง
  • Search engine visibility ตรงนี้ ถ้าหากใครยังไม่ต้องการให้ Google มองหาเว็บเราเจอ ให้ติ๊กถูกอันนี้ด้วย ซึ่งตรงนี้เราสามารถไปเปิดหลังบ้านในภายหลังได้ หรือ ถ้าหากใครต้องการให้ Google มองเห็นเว็บไซต์ของเรา ก็ไม่ต้องติ๊กถูกในช่องนี้

ให้ทำการใส่ข้อมูลให้ครบถ้วน (คำแนะนำ: ช่อง Username กับ Password ควรจดบันทึกเอาไว้ กันลืมครับ) จากนั้นกด Install WordPress ตามรูปได้เลย

ตัวอย่างการใส่ข้อมูลเพื่อเข้าสู่ WordPress
ตัวอย่างการใส่ข้อมูลเพื่อเข้าสู่ WordPress

เมื่อกด Install WordPress ไปแล้ว ก็จะขึ้นมาหน้าต่างดังรูปด้านล่าง แสดงว่าเสร็จเรียบร้อยสำหรับการติดตั้ง WordPress 5.5 ครับ จากนั้นกด Login เข้าสู่ระบบ เพื่อเข้าไปดูระบบหลังบ้าน หรือ ดูหน้าเว็บไซต์ของเราได้เลยครับ

ตัวอย่างหน้าต่างแจ้งเตือนเมื่อติดตั้ง WordPress เสร็จ
ตัวอย่างหน้าต่างแจ้งเตือนเมื่อติดตั้ง WordPress เสร็จ

การ Login เข้าสู่ระบบหลังบ้านครั้งต่อไปสำหรับ WordPress ให้พิมพ์ URL เว็บไซต์ แล้วตามด้วย “/wp-admin” ตัวอย่างเช่น https://www.exapledomain.com/wp-admin/ เป็นต้น

จากนั้น Login เข้าสู่ระบบตามปกติโดยการกรอก Username กับ Password ดังรูป

หน้าต่างสำหรับ Login WordPress
หน้าต่างสำหรับ Login WordPress
  • ตัวอย่างหน้า Dashboard หลังจากที่ Login เข้าสู่ระบบ
ตัวอย่างหน้าต่าง Dashboard WordPress
ตัวอย่างหน้าต่าง Dashboard WordPress

ตัวอย่างหน้า เว็บไซต์ หลังจากที่ติดตั้งเสร็จ สามารถพิมพ์ URL เว็บไซต์ เพื่อดูหน้าต่างเว็บไซต์ได้เลยครับ

ตัวอย่างหน้าต่าง เว็บไซต์ WordPress เมื่อติดเสร็จ
ตัวอย่างหน้าต่าง เว็บไซต์ WordPress เมื่อติดเสร็จ

หลังจากที่เพื่อนๆ เรียนรู้วิธีติดตั้ง WordPress เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนถัดไป ก็จะเป็นในเรื่องของการเรียนรู้ การใช้ Plugin, Theme การตั้งค่าพืนฐาน การจัดหน้าด้วย Page Builder อยากให้เพื่อนๆ ไปอ่านบทความชุดนี้เพิ่มเติมครับ

สรุป

วิธีการติดตั้ง WordPress บน host จริง ผ่าน FTP ไม่ได้ยากและวุ่นวายอย่างที่คิด แค่รู้หลักการหรือขั้นตอนนิดหน่อย รับรองได้เลยว่า มือใหม่ก็สามารถติดตั้ง WordPress ด้วยตนเองได้ แม้ว่าจะไม่ได้จบทางด้านการเขียนโปรแกรมโดยตรง ก็สามารถติดตั้ง WordPress ได้

ผมหวังว่าบทความนี้ จะทำให้เพื่อนๆ มีกำลังใจสู้ต่อไปกับการสร้างเว็บไซต์ครับ หากมีคำถาม หรือติดขัดตรงไหน เพื่อนๆ สามารถสอบถามเข้ามาได้เลยครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *