13 คำศัพท์ ที่คนใช้ WordPress ทุกคนควรรู้ ใช้ให้เป็นใน 5 นาที

ก่อนที่เราจะไปเรียนรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ต่างๆ ของ WordPress แนะนำให้ทำความเข้าใจกับเจ้าตัว WordPress ก่อนครับ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร อะไรคือ WordPress แนะนำให้อ่านบทความนี้ครับ WordPress คืออะไร? หรือ WordPress ทำเว็บไซต์อะไรได้บ้าง?

สำหรับมือใหม่ที่พึ่งหัดใช้ WordPress ผมเชื่อว่าน่าจะเคยเห็นคำศัพท์เหล่านี้มาบ้างแล้ว หรือ เรียนรู้ผ่านเว็บที่สอน WordPress

ในบทความนี้ ผมจะมารวบรวมคำศัพท์พื้นฐาน เกี่ยวกับ WordPress ที่มือใหม่ควรรู้เป็นอย่างยิ่ง มาไว้ในบทความเดียวแบบรู้เรื่อง

เมื่อเรารู้ศัพท์แสงทั้งหมดในภาพรวม ว่าแต่ละส่วนมันสามารถทำอะไรได้บ้าง จะทำให้การใช้งาน WordPress ง่ายขึ้นและสนุกมากขึ้น

รวมคำศัพท์ต่างๆ ที่ผู้ใช้งาน WordPress ควรรู้

1. Dashboard

Dashboard เป็นหน้าจอแรก หรือ หน้าแรกที่เราจะเห็นหลังจากที่เข้าสู่ระบบหลังบ้านของ WordPress ซึ่งจะแสดงภาพรวมของเว็บไซต์ หรือสิ่งที่เกิดขึ้นกับบล็อกต่างๆ ของหน้าเว็บไซต์ ทุกครั้งที่ Login เข้าสู่หลังบ้าน จะเห็นช่องด้านบนที่มีข้อความว่ายินดีต้อนรับสู่ WordPress (Welcome to WordPress!)

ตัวอย่างหน้าเมนู Dashboard ของ WordPress
ตัวอย่างหน้าเมนู Dashboard ของ WordPress

ที่เมนู Dashboard จะประกอบด้วย 2 เมนูย่อย คือ Home กับ Update เมนู Home ก็คือหน้าแรกของ Dashboard และเมนู Update ก็คือหน้าสำหรับการอัปเดตต่างๆ ของ WordPress ไม่ว่าเป็นการอัปเดตตัว WordPress เอง หรือ อัปเดตปลั๊กอิน และธีม

2. Posts

Posts ก็คือบทความ หรือ ข่าวสาร เหมาะสำหรับเขียนบทความ เขียน Blog  หรือข่าวสารกิจกรรม โพสต์มักจะมีช่องความคิดเห็นอยู่ด้านล่างของเว็บไซต์ไซต์ สามารถประยุกต์ใช้กับ เว็บไซต์บทความ เว็บไซต์ข่าวสาร/กิจกรรม เว็บไซต์รีวิว เป็นต้น วิธีการใช้งานสามารถอ่านได้จากบทความนี้ วิธี ลงข้อมูล Posts / Page ของ WordPress

ตัวอย่างหน้าเมนู Posts ของ WordPress

เมนู Post จะประกอบด้วย 4 เมนูย่อย ดังนี้

  • All Posts คือ หน้ารวมของบทความ หรือ ข่าวสารที่เราได้เขียนเอาไว้
  • Add New คือ การเพิ่ม หรือ สร้างบทความ และข่าวสาร การเพิ่มโพสต์ แนะนำให้อ่านบทความนี้ วิธี Add new Posts
  • Categories คือ หมวดหมู่ของบทความ หรือ ข่าวสาร หรือเป็นการแยกประเภทโพสต์ต่างๆ ให้เป็นระเบียบ
  • Tags คือ เป็นการจัดหมวดหมู่บทความ แต่ละโพสต์สามารถมีหลายแท็กและผู้เยี่ยมชมสามารถคลิกที่แท็กเพื่อค้นหาโพสต์ที่คล้ายกัน

3. Media

Media ก็คือไฟล์สื่อต่างๆ อาจจะเป็นภาพ, วีดีโอ, ไฟล์ Word/Exel/PDF และอื่นๆ ซึ่งเมื่อเราอัพโหลดเข้ามายัง WordPress แล้ว ไฟล์ทั้งหมดจะถูกรวมในเมนูนี้ทั้งหมด ไม่ว่าเราจะอัพโหลดผ่าน Posts หรือ Page ก็ตาม และใน Media เราสามารถ ดู, เพิ่ม, แก้ไข หรือ ลบวัตถุที่เกี่ยวข้องกับสื่อได้ในเมนูนี้ การใช้งานต่างๆ แนะนำให้อ่านบทความนี้ รู้จักระบบ Media Library และวิธีใช้งาน

ในเมนูนี้ จะมี 2 เมนูย่อยด้วยกันคือ Library และ Add New Library ก็คือหน้ารวมไฟล์ต่างๆ และ Add New คือเมนูสำหรับเพิ่มไฟล์ต่างๆ เข้ามายัง WordPress

ตัวอย่างหน้าเมนู Media ของ WordPress

4. Pages

Pages ก็คือเมนูสำหรับสร้างหน้าเว็บไซต์ เหมาะสำหรับการทำหน้าเพจทั่วไป เช่น Home, About, Contact, Service และหน้าอื่นๆ ซึ่งการสร้างหน้าจะไม่มีการแยกตามหมวดหมู่ (Categories) และแท๊ก (Tags) เหมือน Posts เพราะ Pages เป็นเพียงแค่หน้านิ่งๆ ที่ไม่ค่อยมีการอัปเดตข้อมูลบ่อยสักเท่าไหร่

เพราะฉะนั้นเมนู Pages ก็จะประกอบไปด้วย 2 เมนูย่อย คือ All Pages และ Add New All Pages ก็คือหน้ารวมสำหรับดูหน้าต่างๆ ที่เราได้สร้างเอาไว้ Add New ก็คือเมนูสำหรับ เพิ่มหน้าใหม่ วิธีการใช้งานสามารถอ่านได้จากบทความนี้ วิธี ลงข้อมูล Posts / Page ของ WordPress

ตัวอย่างหน้าเมนู Pages ของ WordPress

5. Comments

Comments เป็นเมนูสำหรับดู และจัดการกับ Comments ต่างๆ ที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้ Comments หรือ แสดงความคิดเห็นเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็นที่โพสต์ หรือ ที่สินค้า หากเป็นเว็บไซต์ประเภท E-Commerce ซึ่งทุกการ Comments หรือ แสดงความคิด ทั้งหมดจะถูกรวมมาที่เมนูนี้

ในเมนูนี้ เฉพาะ Admin (ผู้ดูแล) เท่านั้น ที่จะสามารถจัดการทุกอย่างกับ Comments ไม่ว่าจะเป็นการอนุมัติ, แก้ไข, ลบ หรือ ทำเป็น Spam

ตัวอย่างหน้าเมนู Comments ของ WordPress

6. Appearance

Appearance คือเมนูสำหรับการปรับแต่งเว็บไซต์ของเรา ไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งโทนสีหน้าเว็บไซต์ สร้างเมนู สร้าง Header (ส่วนหัว) หรือ Footer (ส่วนล่าง) ของเว็บไซต์ รวมไปถึงการเลือกรูปแบบของธีม และอื่นๆ อีกมากมาย อันนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละธีม ว่ามีการปรับแต่งอะไรบ้าง

ตัวอย่างหน้าเมนู Appearance ของ WordPress

ในเมนู Appearance หากเราติดตั้ง WordPress เป็นครั้งแรก ก็จะมีเมนูประมาณนี้ คือ

  • Themes คือ เป็นเหมือนหน้าตาภาพลักษณ์ของเว็บไซต์ที่เราสามารถเลือกใช้งานได้แบบฟรีๆ และก็ แบบเสียเงิน สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความนี้ WordPress Theme คืออะไร [พร้อมวิธีติดตั้ง และวิธีเลือกธีมเกรด A]
  • Customize  คือ เมนูปรับแต่งสำหรับ WordPress โดยจะแสดงผลแบบ Live หรือ แสดงการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ให้เราเห็นผลได้ทันที ทำให้เรานึกภาพออกว่าสิ่งที่เรากำลังจะทำนั้นให้ผลเปลี่ยนแปลงเช่นไรกับเว็บไซต์ของเรา ซึ่งแต่ละธีมก็มีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับธีม
  • Widgets คือ ส่วนขยายที่จะช่วยให้เราสามารถแสดงข้อมูลที่ต้องการไว้บนเว็บไซต์ ซึ่งมีความารถในการแสดงผล ณ จุดๆ นั้นได้ตลอดเวลา เช่น Header, Footer, sidebar และอื่นๆ เราสามารถเพิ่มในภายหลังได้
  • Background คือ พื้นหลังของเว็บไซต์ ซึ่งเมื่อกดที่ Background ก็จะเข้าไปยัง Customize ทันที
  • Theme Editor คือ หน้าสำหรับการปรับแต่งด้วยการเขียน Code ใส่ลงไปในไฟล์ของ WordPress เรา

7. Plugins

Plugins คือ เป็นส่วนเสริมของ WordPress ที่จะช่วยเพิ่มคุณสมบัติและฟังก์ชันใหม่ๆ ให้กับ WordPress ปลั๊กอินของ WordPress จะมีแทบทุกประเภทการใช้งาน ทุกหมวดหมู่เว็บไซต์ ตั้งแต่ปลั๊กอินระดับพื้นฐาน จนถึงปลั๊กอินระดับขั้นสูง แนะนำให้อ่านบทความนี้ WordPress plugin คืออะไร [พร้อมวิธีเลือกปลั๊กอินเกรด A มีคุณภาพ]

ตัวอย่างหน้าเมนู Plugins ของ WordPress

ในเมนู Plugins จะประกอบด้วย 3 เมนูย่อย Installed Plugins, Add New, Plugin Editor

  • Installed Plugins เป็นเมนูแสดงปลั๊กอินที่เราติดตั้งบนเว็บไซต์เราทั้งหมด
  • Add New คือ เมนูสำหรับเพิ่มปลั๊กอินลงในเว็บไซต์ของเรา
  • Plugin Editor เป็นแบบเดี่ยวกันกับ Theme Editor คือ การปรับแต่งด้วยการเขียน Code ใส่ลงไปในไฟล์ของ WordPress

8. Users

Users เป็นเมนูสำหรับแสดงรายชื่อ หรือ จัดการกับรายชื่อของผู้ใช้งานเว็บไซต์ ไม่จะเป็นการเพิ่ม, แก้ไข หรือ ลบ รายชื่อ ในเมนูนี้ เราสามารถ กำหนดได้ว่าจะให้ใครเป็น Admin หรือ Customer หรือ อื่นๆ ซึ่งในเมนูนี้จะประกอบด้วย 3 เมนูย่อย คือ All Users, Add New, Profile

  • All Users คือ เมนูสำหรับแสดงรายชื่อของผู้ใช้งานทั้งหมด
  • Add New คือ เมนูสำหรับเพิ่ม ผู้ใช้งาน
  • Profile คือ หน้าสำหรับแก้ไขโปรไฟล์ของเรา
ตัวอย่างหน้าเมนู Users ของ WordPress

9. Tools

Tools คือ เป็นเครื่องมื่อการจัดการกับ WordPress ไม่ว่าจะเป็นการ Import หรือ Export ข้อมูลต่างๆ ซึ่งเมนูนี้จะประกอบด้วย 6 เมนูย่อย ดังนี้

  • Available Tools คือ หน้าแรกของเมนู Tools
  • Import คือ การนำเข้าข้อมูลต่างๆ บน WordPress ไม่ว่าจะเป็น Post, Page, Product หรือ อื่นๆ
  • Export คือ การส่งออกข้อมูลต่างๆ บน WordPress ไม่ว่าจะเป็น Post, Page, Product หรือ อื่นๆ
  • Site Health เป็นเครื่องมือของ WordPress ที่ช่วยตรวจสอบว่าไซต์ของเราทำงานเป็นอย่างไร ประกอบด้วยสองส่วนคือหน้าจอสถานะและหน้าจอข้อมูล นอกจากการตรวจสอบของ WordPress แล้วนักพัฒนาปลั๊กอินยังสามารถสร้างปลั๊กอินเพื่อทำงานร่วมกับ Site Health ได้อีกด้วย
  • Export Personal Data เป็นการจัดการของข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) ซึ่งเริ่มมีใช้งานใน WordPress เวอร์ชั่น 5 ขึ้นไป สามารถทำการนำออกหรือลบข้อมูลส่วนบุคคล (Export or Erase Personal Data) ได้
  • Erase Personal Data เช่นเดี่ยวกันกับ Export Personal Data
ตัวอย่างหน้าเมนู Tools ของ WordPress

10. Settings

Settings เป็นเมนูสำหรับตั้งค่าต่างๆ เกี่ยวกับ WordPress ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขวันเวลา, ชื่อเว็บไซต์, เปลี่ยนภาษา, หรือ อื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งจะประกอบด้วย 7 เมนูย่อย ดังนี้

  • General เป็นการตั้งค่าทั่วไป เช่น เปลี่ยนชื่อเว็บไซต์, เปลี่ยนภาษา, ตั้งวันเวลา เป็นต้น
  • Writing เป็นการตั้งค่าที่เกี่ยวกับการเขียนหน้าบทความ (Post) และการเขียนบทความผ่านอีเมล์ พร้อมทั้งส่งข้อมูลการอัปเดตบทความให้กับเสิร์ชเอ็นจิ้น (Search Engine) ต่างๆ
  • Reading เป็นการตั้งค่าเกี่ยวกับการอ่าน หรือจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์ให้มีการแสดงผลแบบใด เช่น การตั้งค่าแรก และหน้าแสดงโพสต์ พร้อมทั้งเปิด/ปิด Search engine
  • Discussion เป็นการตั้งค่าการสนทนา ส่วนใหญ่จะเป็นการตั้งค่าเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็น (Comments) เช่น การกำหนดจำนวนการแสดงความคิดเห็นในหนึ่งหน้า หรือ การส่งอีเมลเมื่อมีการแสดงความคิดเห็นจากผู้อ่าน
  • Media เป็นการตั้งค่าไฟล์สื่อ (Media) ที่เกี่ยวข้องกับรูปภาพ เช่น กำหนดขนาดของรูปภาพ และการระบุถึงตำแหน่งโฟลเดอร์สำหรับรูปภาพที่อัพโหลด
  • Permalinks เป็นการตั้งค่าลิงก์ถาวร การกำหนดค่าลิงก์แต่ละบทความหรือค่าลิงก์ของหมวดหมู่ (Category) และป้ายกำกับ (Tags) ให้อยู่ในโครงสร้างลิงก์ตามที่ต้องการได้ เช่น ตรง URL แสดงเป็นแบบ ID Page, ชื่อเรื่อง และอื่นๆ
  • Privacy เป็นการตั้งค่านโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อให้สอดคล้องกับกฏหมายควบคุมความเป็นส่วนตัวทั้งในและนอกประเทศ เช่น เราจะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้กับบุคคลภายนอก หรือ เราจะนำมาใช้เพื่อการตลาด เป็นต้น
ตัวอย่างหน้าเมนู Settings ของ WordPress

11. Domain Name

Domain Name หรือ ชื่อโดเมน คือ ชื่อเว็บไซต์ เป็นที่อยู่ที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ได้ ใช้สำหรับค้นหา หรือ เป็น URL ของเว็บไซต์ ด้วยเหตุนี้ ชื่อโดเมน จึงได้รับการพัฒนาและใช้เพื่อระบุเอนทิตีบนอินเทอร์เน็ตแทนที่จะใช้ที่อยู่ IP

ชื่อโดเมน สามารถใช้ตัวอักษรและตัวเลขผสมกันได้และสามารถใช้ร่วมกับส่วนขยายชื่อโดเมนต่างๆเช่น .com, .net และอื่นๆ การตั้งชื่อโดเมนต่างๆ หรืออยากรู้จักว่าโดเมนคืออะไรฦ? แนะนำให้อ่านบทความนี้ โดเมนและโฮสติ้ง(Domain/Hosting) คืออะไร?

ตัวอย่างชื่อโดเมน (Domain Name)
ตัวอย่างชื่อโดเมน (Domain Name)

12. Web Hosting

Web Hosting คือ พื้นที่สำหรับเก็บไฟล์ของเว็บไซต์บนเซิฟเวอร์ ที่เราเรียกว่า Web Server ซึ่งจะจัดเก็บข้อมูลเว็บไซต์ ฐานข้อมูล อีเมล์ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถออนไลน์ได้ตลอดเวลา โดยที่ต้องเชื่อม โดเมนเนม หรือ ชื่อเว็บไซต์ ลิงค์กับ เว็บโฮสติ้ง เข้าด้วยกัน เว็บไซต์จึงจะสามารถออนไลน์ได้ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ WordPress Hosting ที่ไหนดี? แนะนำ (จากประสบการณ์จริง) หรือ WordPress Hosting โฮสติ้งที่รู้ใจ WordPress ดีที่สุด

13. HTTPS หรือ SSL

HTTPS หรือ SSL คือ ความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เว็บไซต์ขององค์กรหรือเว็บไซต์บริษัท การทำ HTTPS หรือ SSL นี้จะทำให้เว็บไซต์ของเรามีความปลอดภัยในการรับส่งข้อมูลและไม่เป็นอันตรายต่อคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งาน

เคยสังเกตใหมครับ เวลาเข้าเว็บไซต์ ด้านบนซ้ายจะมีรูปแบบของ URL คือ http และ htts (มี S) พร้อมมีคำว่า “ปลอดภัย” กำกับไว้ เพื่อให้การรับรองว่าเว็บไซต์นี้ปลอดภัย ซึ่ง SSL จะช่วยเข้ารหัสข้อมูลเว็บไซต์เรา ซึ่งหลายๆ โฮสติ้งจะมีบริการ SSL แบบฟรีด้วย

สรุป

คำศัพท์ต่างๆ ที่ผู้ใช้งาน WordPress ควรรู้นั้นมีมากมายหลายคำมาก ซึ่งหากว่าเรารู้ และเข้าใจคำศัพท์ของ WordPress มากแค่ไหน เราก็จะยิ่งเก่งขึ้น ง่ายขึ้นต่อการสร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress บางคำอาจเป็นคำที่เราคุ้นเคยกันดี และบางคำเราไม่รู้จักมันเลย

ผมหวังว่าในบทความนี้ คงจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ ทุกคน ไม่มากก็น้อย ถึงแม้ว่าผมอาจจะเขียนมาได้ไม่หมดเท่าที่ควร แต่พยายามเขียนให้เพื่อนๆ เข้าใจมากที่สุดครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *