“เชื่อไหมครับ แค่เว็บ WordPress โหลดช้า อาจจะทำให้ลูกค้ากลุ่มหมาย ออกจากเว็บไซต์ของคุณไปหาคู่แข่งทันที” สำหรับเว็บที่ทำด้วย WordPress สามารถปรับแต่งได้ไม่ยากเย็นนัก เพราะมีเครื่องมือ เทคนิค วิธีทำให้ wordpress โหลดเร็ว
จากสถิติโดย Google พบกว่า 53% ของผู้เข้าเว็บผ่านมือถือ จะออกจากเว็บไซต์ที่โหลดช้ากว่า 3 วินาที นั่นหมายความว่า เรามีโอกาสที่จะสูญเสียลูกค้าและทราฟฟิคอย่างแน่นอน ไม่มากก็น้อย
เว็บไซต์ที่โหลดเร็ว สามารถช่วยให้ประสบการณ์การใช้เว็บไซต์ดีขึ้น เพิ่มยอดการเข้าชมเว็บไซต์ รวมถึง เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อันดับ SEO บน Google อยู่อันดับต้นๆ
ผมจะพาเพื่อนๆ ไปเจาะลึกทีละประเด็น ทำไมเว็บไซต์ต้องโหลดไว สาเหตุที่ทำให้เว็บโหลดช้า วิธีแก้ปัญหา เทคนิคพิเศษ และทุกเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับ “Speed” บนเว็บไซต์
ทำไม “เว็บโหลดเร็ว” จึงสำคัญ?
ถ้ามองความเป็นจริง แน่นอนว่าทุกคนที่เข้าเว็บไซต์ ต้องการเข้าเว็บไซต์ที่โหลดไวที่สุด ไม่ต้องเสียเวลารอ ข้อมูลด้านในจะเป็นยังไงก็ช่าง แต่สปีดต้องโหลดไวก่อนเลย เหมือนเป็น “First Impression” ทาง Google Search ก็เช่นเดียวกันครับ เค้าจะมองที่ User Experience (ประสบการณ์ผู้ใช้งาน) เป็นหลัก
Google ชอบเว็บไซต์ที่โหลดเร็วกว่า หมายความว่า เว็บไซต์ที่โหลดเร็วกว่า คะแนน SEO มีโอกาสจะดีกว่า
แน่นอนว่าคนเราเวลาค้นหาอะไรสักอย่าง ย่อมต้องการคำตอบทันที หรือไวที่สุด ซึ่งถ้า Google เอาเว็บไซต์ที่โหลดช้าอยู่หน้าแรกของ Google จะส่งผลกับคนที่กำลังค้นหาอยู่แน่นอน “ซึ่งทาง Google ไม่หาทำแน่นอน”
ลองจินตนาการ ถ้าเราเข้าเว็บนึง ใช้เวลาโหลดประมาณ 20วินาที ผมเดาได้เลยว่า เราจะออกไปตั้งแต่ 5วินาที แรกแล้วละ
เรามาดูตัวเลขชัดๆ จาก Think with Google เป็นสถิติจาก Mobile Page Speed
- 1วิ – 3วิ : มีโอกาสที่คนออกจากเว็บไซต์ 32%
- 1วิ – 5วิ : มีโอกาสที่คนออกจากเว็บไซต์ 90%
- 1วิ – 6วิ : มีโอกาสที่คนออกจากเว็บไซต์ 106%
- 1วิ – 10วิ : มีโอกาสที่คนออกจากเว็บไซต์ 123%
หมายความว่า ยิ่งเว็บไซต์โหลดช้า ยิ่งมีโอกาสทำให้คนออกจากเว็บไซต์เราสูง (Bounce Rate) *เพราะขี้เกียจรอ เสียเพลา

ทาง Google ได้ประกาศไปแล้วว่า ได้ใส่เรื่อง Speed ใน Algorithm ถ้าเราหวังผลอันดับ SEO บน Google ดีๆ หนึ่งในจุดที่ต้องมาปรับคือ เรื่อง Speed นี้แหละครับ
สำหรับเว็บไซต์ที่ทำด้วย WordPress ไม่ต้องห่วงครับ ปรับไม่ยาก มีเครื่องไม้เครื่องมือ ให้เราปรับจูนเรื่องสปีดให้โหลเร็วได้ง่ายๆ
สาเหตุที่ทำให้เว็บโหลดช้า
ถ้าเราเช็คความเร็วเว็บด้วย เครื่องมือเช็ค Page Speed ปกติแล้วมันจะสรุปผลและให้คำแนะนำแนวทางแก้ไข แต่ส่วนใหญ่จะแนะนำในเชิงเทคนิค ใช้ศัพท์แสงต่างๆ ถ้าไม่ใช่โปรแกรมเมอร์คงไม่เข้าใจง่ายๆ
แต่ไม่ต้องเป็นห่วงครับ ผมจะพาเพื่อนๆ ไปทำความเข้าใจสาเหตุที่ทำให้เว็บโหลดช้า แบบที่เข้าใจกันได้ง่ายๆ และมองเห็นภาพรวมได้
สาเหตุหลักที่ทำให้เว็บโหลดช้า
- Image, Files : ไฟล์รูปภาพหนักเกินไป ไม่ได้บีบอย่างถูกต้อง และ Size ใหญ่เกินไป
- Web Hosting : ใช้ WordPress Hosting ที่ไม่มีคุณภาพ ยิ่งราคาถูกๆ คุณภาพก็ยิ่งแย่ลง
- Cache : ทั้งในโฮสติ้ง และหลังบ้านของ WordPress ไม่ได้ตั้งค่าแคชอย่างถูกต้อง
- Plugins : ใช้ปลั๊กอินที่ไม่มีคุณภาพ ปลั๊กอินที่น้ำหนักบวม และใช้ปลั๊กอินเยอะเกินจำเป็น (วิธีเลือก Plugin เกรด A)
- External scripts : ลิงค์ภายในอก เช่น Facebook, Google Font, Icon, Ads, Analytics, Youtube เป็นต้น
นี่เป็นสาเหตุหลักๆ ที่ส่งผลให้เว็บไซต์โหลดช้าโดยตรง ปัญหาอันดับหนึ่งที่เจอส่วนใหญ่ เป็นไฟล์ภาพขนาดใหญ่ เดี๋ยวผมจะพาเพื่อนๆ ไปรู้จักเครื่องมือเช็ค Page Speed เราจะรู้ได้เลยว่า ที่เว็บเราช้าเนี่ย มาจากปัญหาอะไรกันบ้าง
3 เครื่องมือเช็ค Page Speed
1. GTmetrix

GTMetrix เป็นเครื่องมือวัด Page Speed ของเว็บไซต์ที่ผมใช้บ่อยที่สุดอันดับแรก เพราะเป็นเครื่องมือที่ บอกทั้งสาเหตุและวิธีแก้ปัญหาได้ครบถ้วน
เวลาเทสให้เลือก Test Server Region เป็น Hong Kong, China ก่อนครับ
จุดสังเกตเคร่าๆ
- Performance Scores : เป็นจุดสังเกตง่ายๆ ว่า PageSpeed Score กับ YSlow เราได้เกรดเท่าไหร่กันบ้าง
- Page Details : เราสามารถดูได้ว่าใช้เวลาโหลดกี่วินาที, Page Size หรือ น้ำหนักรวมของหน้านั้นๆ, และจำนวน Requests ที่ดึงจาก Server
ตรงแท็บด้านล่าง PageSpeed, YSlow, Waterfall เราสามารถดูปัญหาเชิงเทคนิคได้ ว่าสาเหตุที่ทำให้เว็บโหลดช้า มาจากจุดไหน เช่น Browser chacing, Images, Script ต่างๆ เป็นต้น
คำแนะนำ!
Loading Time : ควรอยู่ระหว่าง 1-3 วินาที
Page Size : ไม่ควรเกิน 3-5MB
2. Google PageSpeed Insights

Google PageSpeed Insights เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ไม่ควรพลาด เพราะกูเกิลพัฒนาขึ้นมาเอง ซึ่งสถิติแต่ละข้อ มีความสำคัญทั้งสิ้น
สามารถเช็ค PageSpeed แยกเป็น Mobile Desktop ซึ่งถ้าได้คะแนนอยู่ในช่วงที่สาม 90-100 จะดีมากๆ แต่ก็ยากมากเช่นกัน อย่างน้อยๆ ควรให้ได้อย่างต่ำ 50+ เป็นต้น
3. Pingdom Website Speed Test

Pingdom เป็นเครื่องมือที่แจกแจงปัญหาเชิงเทคนิคได้เยอะมาก โดยจะแยกเป็น Contentsize by content type, Content size by domain, Requests by content type, Requests by domain
หมายความว่า เราสามารถดูได้ว่า สาเหตุที่ทำให้เว็บโหลดช้ามาจากจุดไหนกันบ้าง มาจากไฟล์ไหนเป็นพิเศษ หรือมาจากลิงค์อะไร และยังสามารถดูว่า ไฟล์ไหนใช้เวลาโหลดกี่วินาที อย่างละเอียดมาก
สูตร 9 วิธีทำให้ wordpress โหลดเร็ว
1. จัดการรูปภาพให้เบา
หนึ่งในสาเหตุหลักที่ส่งผลให้เว็บไซต์โหลดช้า คือ “รูปภาพ” นี้แหละครับ หลายๆ เว็บไซต์ยังจัดการกับรูปภาพไม่ถูกวิธี ใช้ภาพขนาดใหญ่เกินจำเป็น (Oversize) ไม่ได้บีบอัดรูปภาพให้เบาลง
ผมเข้าใจว่าบางเว็บมีความจำเป็นต้องใช้ภาพที่ละเอียดมากๆ เพื่อดึงดูดความสนใจ เช่น เว็บไซต์ผลงาน เว็บไซต์งานดีไซน์ต่างๆ แต่ถ้าหนักเกินไป ก็ย่อมส่งผลต่อความเร็วเว็บไซต์เต็มๆ บางคนถ้าเว็บโหลดนานเกินไป ก็ออกไปก่อนที่จะโหลดเสร็จ (ได้ไม่คุ้มเสีย)
รูปภาพ หนักแค่ไหน ถึงจะเรียกกว่าหนัก?
แนะนำว่า แต่ละรูปภาพไม่ควรมีน้ำหนักเกิน 250kb
บางเว็บที่ผมเคยเจอ ใส่ภาพแต่ละภาพน้ำหนักประมาณ 1MB ลองคิดต่อว่า ถ้ามีภาพ 1MB สัก 10 ภาพซิครับ รวมๆ ก็ 10+ MB แล้วครับ
“เว็บไซต์ทั้งหน้า ผมแนะนำว่าไม่ควรเกิน 3MB กำลังดี ยิ่งน้อยยิ่งดีครับ”

ภาพด้านบน คือ วิธีดูน้ำหนักของหน้าเว็บทั้งหน้า เช็คด้วย GTMetrix และสังเกตุที่ Total Page Size ตามในภาพผมเช็คของเว็บไซต์ tumweb.co มีน้ำหนักเพียง 602KB
1.1 ใช้รูปภาพขนาด = ที่แสดงจริงในหน้าเว็บ
อย่าพยายามใช้ภาพใหญ่เกินที่แสดงจริง สมมติในเว็บไซต์แสดงกว้างแค่ 750pixel ต่อให้เราใช้ภาพใหญ่ชัดสัก 2,000pixel สุดท้ายเบราเซอร์ก็แสดงให้เราเห็นแค่ 750pixel อยู่ดี
เห็นไหมครับว่า ต่อให้ใช้ภาพใหญ่ขนาดใหน ก็แสดงเท่าที่โครงเว็บกำหนดอยู่ดี และยังกดความเร็วเว็บไซต์ให้ช้าลงด้วย
วิธีเช็คว่าภาพที่แสดงในเว็บ ต้องใช้ขนาดเท่าไหร่
คลิกขวาที่รูปภาพนั้นๆ แล้วคลิก “Inspect” ทุกเบราเซอร์จะมีฟังก์ชันนี้หมด

- คลิกที่ icon ด้านซ้ายสุด
- เอาเมาส์ชี้บนรูปภาพ
- เบราเซอร์จะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับภาพเคร่าๆ และบอก Size ตามภาพด้านล่าง

ทีนี้เราทราบเคร่าๆ แล้วว่าแต่ละจุดใช้ภาพขนาดไหน
แต่สำหรับภาพ Slider แบบเต็มหน้าจอ ผมแนะนำให้ใช้ภาพขนาดความกว้าง 1920px เพราะถ้าใช้ภาพเล็กไป เราจะเห็นภาพไม่เต็มหน้าจอ จะดูแหว่งๆ
เราสามารถใช้โปรแกรมแต่งภาพทั่วไป ในการปรับ Size รูปภาพ เช่น Photoshop
1.2 บีบอัดรูปภาพให้ถูกต้อง
หลังจากที่เราเช็คและเตรียมภาพเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนถัดมาคือ การบีบรูปภาพให้เบากว่าเดิม แต่คุณภาพแทบจะเหมือนเดิมทุกประการ
วิธีบีบรูปภาพให้เบา มีหลายวิธี ผมจะพาไปใช้วิธีที่ง่ายที่สุด ที่ทุกคนทำได้
เข้าเว็บไซต์ : tinyjpg.com

อัพโหลดรูปภาพที่ต้องการบีบอัด โดยสูงสุด 20ภาพ / ครั้ง และไม่เกิน 5MB / ภาพ *ถ้ามีภาพมากกว่านั้น แนะนำให้ทำเป็นรอบๆ ไปครับ
สังเกตว่า หลังจากที่ระบบได้บีบอัดให้เราแล้ว ภาพตัวอย่าง สามารถลดได้ถึง -36% และภาพที่ได้คุณภาพแทบจะเหมือนเดิมเลยครับ
ลองดูภาพตัวอย่าง Before After ด้านล่างครับ สังเกตว่า ความคมชัดแทบจะไม่ต่างกันเลย

1.3 ใช้ปลั๊กอิน ShortPixel

ShortPixel ปลั๊กอินสำหรับบีบอัดรูปภาพ ให้มีน้ำหนักเบาลง เป็นหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลทำให้ WordPress โหลดเร็ว ปลั๊กอินตัวนี้มาช่วยให้การบีบรูปภาพได้ง่าย และเร็วขึ้น ด้วยวิธีการบีบแบบ Bulk Optimize (ทำทีเดียวหลายรูป) ไม่ต้องเสียเวลาไปบีบทีละภาพสองภาพ
ทันทีที่เราอัพโหลดภาพใหม่ขึ้นไป ระบบจะบีบให้เราอัตโนมัติ ยังสามารถย้อนกลับไปบีบรูปภาพเก่าๆ และมีระบบ BackUP Image สำรองภาพให้เราสบายใจได้มากขึ้น
การที่ภาพเบาขึ้น แน่นอนว่ามันช่วยในเรื่องอันดับ SEO โดยตรง
สามารถเลือกระดับความละเอียดของภาพได้ (Compression Level)

- Lossy : (แนะนำให้เลือก) เป็นการบีบที่มี % ในการบีบที่มากที่สุด แต่ก็ยังคงความคมชัดแทบจะไม่ต่างกับภาพต้นฉบับ
- Glossy : เป็นการบีบอัดระดับปานกลาง % ในการบีบน้อยกว่าแบบแรก น่าจะเหมาะสำหรับภาพที่ต้องการความละเอียดขึ้นมาหน่อย
- Lossless : เป็นการบีบอัดระดับต่ำ % ในการบีบที่สุดที่สุด ความคมชัดยังอยู่ เหมาะสำหรับภาพที่ต้องการความละเอียดสูงมากๆ เช่น ภาพศิลปะ, ภาพกราฟฟิคดีไซน์, ภาพแบบบ้าน เป็นต้น
จุดเด่นของปลั๊กอินบีบอัดภาพ ShortPixel
- เลือกระดับความคมชัดได้ : Lossy, Glossy, Lossless
- รองรับไฟล์ภาพ : JPG, PNG, GIF และ PDF
- สามารถแปลงรูปภาพเป็น WebP เพื่อให้โหลวไวขึ้นไปอีกขั้น
- แปลงไฟล์ .png เป็น .JPG *ปกติแล้ว .png จะหนักกว่า .JPG
- เลือกบีบอัดภาพสำหรับ Thumbnail หรือภาพหน้าปกต่างๆ
- Resize ขนาดของรูปภาพ
- มีระบบ BackUP ไฟล์ภาพต้นฉบับ
- ทำงานร่วมกับปลั๊กอินตัวอื่นได้อย่างดี เช่น WPML, WooCommerce, NextGEN gallery, Slider etc…
- แปลชุดสีของภาพจาก CMYK เป็น RCB
นี่เป็นส่วนหนึ่งของฟีเจอร์หลักๆ ที่ปลั๊กอิน ShortPixel มีให้ครับ ดูรายละเอียด
ShortPixel ตัวฟรี มีพื้นที่ให้เราใช้แค่ 100 ภาพ ผมเลยแนะนำให้ใช้ตัว Premium มากกว่า เสียเงินไม่แพงมาก แต่คุ้มกับความสามารถในการปรับแต่งรูปภาพ ส่งผลให้เว็บไซต์โหลดเร็วขึ้น และยังส่งผลดีต่ออันดับ SEO ด้วยครับ เรียกว่า “ยิงครั้งเดียว ได้ 2 เด้ง“
วิธีติดตั้งและตั้งค่า ShortPixel
2. เลือก WordPress Hosting ที่รู้ใจ WordPress
WordPress Hosting คือ โฮสติ้งที่มีการปรับจูนเป็นพิเศษ ให้สามารถทำงานร่วมกับเว็บไซต์ WordPress ได้ดีที่สุด เพื่อให้เว็บไซต์โหลดข้อมูลได้เร็วขึ้น มีความปลอดภัย รวมถึงให้เราสามารถติดตั้ง WordPress ได้แบบง่ายๆ ผ่านระบบ Control Panel
โฮสติ้งที่รองรับ WordPress ส่วนใหญ่จะมีการปรับจูนเรื่องการเก็บแคช เพื่อให้เบราเซอร์เรียกข้อมูลจากเว็บโฮสติ้งได้ไวที่สุด ซึ่งจะมีบริษัทโฮสติ้งแค่ไม่กี่เจ้าที่เก่งเรื่องนี้
การเลือก WordPress Hosting ที่รู้ใจ WordPress โดยตรง นอกจากช่วยให้เว็บไซต์โหลดเร็ว ยังมีผลในด้านการทำอันดับบน Google ด้วย หรือว่าการทำ SEO
ซึ่งผมจะพาแนะนำโฮสติ้งโดยแยกเป็น โฮสติ้งไทย และ โฮสติ้งต่างประเทศ ซึ่งแต่ละตัวก็มีสเปคและราคาต่างกัน แต่แก่นของทั้งหมดที่ผมเลือกมาแนะนำคือ “เข้าใจ WordPress”
โฮสติ้งไทย
1.Hostatom
เป็นโฮสติ้งไทยที่หลังๆ ผมเลือกมาติดตั้งให้ลูกค้ามากขึ้น คุณภาพถือว่าดีระดับนึง คุ้มกับราคาที่จ่ายไป จากประสบการรณ์ผมเคยใช้โฮสติ้งไทยหลายเจ้า แต่ก็สุดท้ายมาจอดที่โฮสอะตอม ทั้งในแง่ของคุณภาพและการบริการหลังการขาย ถือว่าทำได้ดีมากครับ

โฮสติ้ง Hostatom
เป็นโฮสติ้งไทยเจ้าเดียว ที่ผมใช้อยู่ คุณภาพก็ใช้ได้เลยครับกับราคาไม่แพง
คลิกอ่านรายละเอียดได้ครับ เริ่มต้นแค่ 690/ปี
2. RukCom
เป็นโฮสติ้งไทยที่ผมใช้มาก่อน Hosatom ซึ่งคุณภาพโดยภาพรวม ถือว่าดีครับ ทางด้าน Support ก็ถือว่ากลางๆ ไม่ถึงกับ 5 ดาว แต่ทำได้ดีครับ หากต้องการความช่วยเหลือด่วนๆ โทรไปเลยครับ ง่ายดี และสิ่งที่ชอบโฮสติ้งไทยๆ คือ คุยง่ายครับ ภาษาเดียวกัน

โฮสติ้ง RukCom
เป็นโฮสติ้งไทยลำดับที่ 2 ที่ผมใช้อยู่ คุณภาพก็ใช้ได้เลยครับกับราคาไม่แพง
คลิกอ่านรายละเอียดได้ครับ เริ่มต้นแค่ 599/ปี
โฮสติ้งต่างประเทศ
1.SiteGround
SiteGround “เป็นตัวเลือกแรกของผม” เป็นโฮสติ้งที่ค่อนข้างเก่งเรื่อง Cache คุณภาพดีกว่าโฮสติ้งไทยครับ แต่ถ้ากล้าลงทุน อาจจะแพงกว่านิดหน่อย แต่รับรองว่าคุ้มเกินราคาครับ ผมใช้อยู่กับเว็บไซต์ส่วนตัวหลายเว็บ มีปลั๊กอิน SG Supercache ของตัวเอง และที่ชอบมากคือ มัน BackUP ให้เราอัตดนมัติครับ

โฮสติ้ง SiteGround
เป็นโฮสติ้ง WordPress ต่างประเทศที่ผมใช้เป็นหลัก เลยเชียร์เป็นลำดับแรก
คลิกอ่านรายละเอียดได้ครับ ลดพิเศษปีแรก เริ่มต้นแค่ 3.95$/เดือน
2.cloudways
WordPress โฮสติ้งถัดจาก SiteGround ที่ผมใช้อยู่และ เก่งเรื่อง Cache WordPress โดยตรง ทำให้เว็บไซต์โหลดไวมาก ซึ่งเบื้องหลังของ Cloudways ก็คือ Server Cloud ระดับโลกนี่เองครับ จะมีให้เลือกดังนี้ DigitalOcean, linode, VULTR, aws, Google Cloud และยังมีปลั๊กอินแคชของตัวเองชื่อ Breeze

โฮสติ้ง Cloudways
เป็นโฮสติ้ง WordPress ต่างประเทศที่เก่งด้าน WordPress โดยตรง
คลิกอ่านรายละเอียดได้ครับ เริ่มต้นแค่ 10$/เดือน
ผมเคยเขียนบทความเกี่ยวกับ WordPress Hosting แบบละเอียด(มากๆ) ตั้งแต่พื้นฐานจนถึงวิธีเลือกสเปคโฮสติ้ง เทียบราคา ลองไปอ่านตามลิงค์ด้านล่างครับ
3. ติดตั้งปลั๊กอิน Cache
ปลั๊กอิน Cache คือ ปลั๊กอินที่ช่วยให้เราตั้งค่าการเก็บแคชบนเบราเซอร์ เวลามีคนเข้าเว็บไซต์เราครั้งแรก เบราเซอร์จะเก็บแคชหรือข้อมูลเว็บไซต์เคร่าๆ พอเข้าเว็บไซต์เดิมในครั้งต่อไป เบราเซอร์จะดึงข้อมูลประวัติการใช้งานเก่ามาใช้ก่อน ทำให้การเข้าเว็บไซต์ได้เร็วขึ้น
นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องการ Optimize หรือ การปรับแต่งอื่นๆ ที่ส่งผลต่อเรื่อง Speed โดยตรง
ปลั๊กอิน Cache ของ WordPress ตัวที่ดีมีคุณภาพมีหลายตัว ทั้งตัวฟรีและพรีเมี่ยม
ปลั๊กอิน Cache FREE
- WP Fastest Cache (ตั้งค่าใช้งานง่ายกว่าตัวอื่น แนะนำ)
- LiteSpeed Cache (กำลังมาแรง)
- W3 Total Cache (ดีแต่การตั้งค่าเยอะไปหน่อย)
- WP Super Cache (ดีครับ)
- SG Optimizer (คนพัฒนาคือโฮสติ้ง SiteGround ใช้คู่กันครับ)
- Breeze (ครพัฒนาคือ โฮสติ้ง Cloudways ใช้คู่กันครับ)
ปลั๊กอิน Cache PREMUIM
- WP ROCKET (ถ้ามีกำลัง แนะนำให้ซื้อตัวนี้มากที่สุดครับ ดีและครบเครื่องกว่าทุกตัวที่กล่าวมาครับ ผมก็ใช้ตัวนี้ครับ)
4. เลือก Theme ที่เบา และได้มาตรฐาน
Theme WordPress ถ้านับเฉพาะธีมฟรี ที่อยู่ใน wordpress.org ก็มีตั้ง 3,950 ธีม ยังไม่รวมธีม Premium ที่ขายกันคงมีหลักหลายหมื่นธีม
แต่ถ้านับเฉพาะธีมที่เขียน Code ได้ตามมาตรฐานของ WordPress ธีมที่วางโครงสร้างได้ถูกหลัก และธีมที่เบา มีไม่กี่ธีมที่มีคุณภาพจริงๆ ส่วนตัวผมจะเลือกธีมโดยดูที่ “คะแนนรีวิวธีม” และ “ยอดดาว์นโหลดธีม” ถ้าธีมไหนที่มีคะแนนรีวิว 4.x เป็นต้นไป บวกกับ ยอดดาว์นโหลดธีมสูง ก็สรุปง่ายๆ ว่า ธีมนั้นคือน่าใช้
เทคนิควิธีเลือก WordPress Theme ที่มีคุณภาพ ให้พิจารณาจากข้อมูลด้านล่างประกอบ
- Last updated : วันที่อัพเดตล่าสุด (บ่งบอกว่าคนพัฒนาไม่หยุดนิ่ง)
- Active Installations : จำนวนคนที่ใช้ธีม
- WordPress Version : เวอร์ชั่นที่รองรับขั้นต่ำ
- PHP Version : ภาษา PHP ที่รองรับ
- Ratings : คะแนนรีวิว รวมถึงการ Feedback จากผู้ใช้จริง
Theme ฟรี จาก wordpress.org
ข้อดีของ WordPress ก็ตรงที่มีธีมฟรีนี่แหละครับ สำหรับคนที่มีงบน้อย ก็ถือว่าใช้ได้ดีระดับนึง เพราะธีมมันก็แค่เป็นโครงสร้างภาพรวมของเว็บไซต์ ส่วนการจัด Layout ตรงกลาง จะสวยหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการ จัดหน้าด้วยปลั๊กอิน Page Builder
แนะนำให้ใช้ธีมฟรีที่มีคนใช้ที่สุดตามลำดับ เพราะคนใช้เยอะ ก็สรุปได้ว่า คุณภาพดี พยายามเลือกธีม 30 อันดับแรก

WordPress Theme Premium
นอกจากธีมฟรีแล้ว ยังมีธีมพรีเมี่ยม หรือธีมที่ต้องเสียเงินซื้อ ข้อดีของธีมที่ซื้อ เป็นธีมที่มีลูกเล่นการใช้งาน (Options) แบบครอบจักรวาล มีเมนูการปรับแต่งต่างๆ ค่อนข้างละเอียดมาก แบบที่หาไม่ได้จากธีมฟรี
และอีกหนึ่งจุดเด่นของธีมพรีเมี่ยม คือ มี Demo ตัวอย่างดีไซน์ให้เราเลือก บางตัวมีตัวอย่างให้เราเลือกเป็นร้อยแบบ ถ้าเจอแบบที่ต้องการแล้ว ก็แค่คลิก Import Demo ภายในคลิกเดียว ก็จะได้หน้าเว็บไซต์สวยๆ ที่เหมือน Demo เกือบทุกประการ

ใน Themeforest มีธีมเกือบทุกประเภท ทุกหมวดหมู่ แนะนำให้เลือกธีมจากที่ขายดีที่สุด ส่วนใหญ่เป็นธีมเจ๋งๆ สวยๆ ทั้งนั้น
ธีมที่ซื้อ ส่วนใหญ่เป็นธีมคุณภาพ แทบจะไม่มีพวกไฟล์แปลกปลอม มัลแวร์ ติดมา แต่ถ้าธีมฟรีไม่แน่ ถ้าเลือกธีมไม่เป็น ก็อาจจะมีลิงค์แปลกๆ แทรกเข้ามาได้ ฉะนั้นการเลือกธีมซื้อ ก็สบายใจได้ระดับนึง ส่วนใหญ่เขียนโค้ดตามมาตรฐาน ทำให้เว็บไซต์ไม่โหลดช้า
5. เชื่อม Cloudflare’s
Cloudflare คือ ผู้ให้บริการ CDN (Content Delivery Network) แปลเป็นภาษาปกติอีกแบบง่ายๆ เจ้า Cloudflare เนี่ยเค้ามีเครื่อง Server กระจายอยู่ทั่วโลก ทำหน้าที่กระจายข้อมูลเว็บไซต์ของเราไปทั่วโลก มากกว่า 200 เมือง ครอบคลุม 100 กว่าประเทศ

สมมติถ้าเราเปิดเว็บไซต์จากประเทศไทย Cloudflare ก็จะดึงข้อมูลที่อยู่ใน Server ประเทศไทย, ถ้าเราอยู่อเมริกา Cloudflare ก็ดึงข้อมูลจาก Server ที่อยู่อเมริกา ทำให้ไม่ว่าเข้าจากที่ไหนทั่วโลก ก็มีโอกาสจะเร็วพอๆ กัน
นอกจากมันทำให้เว็บไซต์ WordPress โหลดเร็วแล้ว มันช่วยแบ่งเบาภาระฝั่งโฮสติ้งของเราด้วยครับ และยังช่วยในเรื่อง Security
วิธีเชื่อมต่อกับ Cloudflare
- สมัครสมาชิก Cloudflare
- คลิก “Add site” แล้วกรอกชื่อเว็บไซต์ครับ

- เลือกแพคเกจ Free (ฟรีก็พอแล้วครับ) แล้วคลิก Confirm plan
- คลิกแล้วรอสัครู่ครับ ระหว่างที่มันกำลังสแกน DNS Records

- หลังจากที่ระบบสแกน DNS เสร็จเรียบร้อย ให้คลิกปุ่ม “Continue“
- เข้าสู่ขั้นตอนการตั้งค่า “Name Server“
ปกติแล้วเราจะชี้ Name Server จากโดเมน ไปที่ Hosting แต่ในกรณีการเชื่อมต่อกับ Cloudflare เราต้องแก้โดยชี้ไปที่ Name Server ที่ทาง Cloudflare กำหนดตามภาพด้านล่าง

หลังจากแก้ไข Name Server เรียบร้อย ก็ให้รอประมาณ 1-24 ชั่วโมง *แต่จากประสบการณ์ ประมาณ 1-2 ชั่วโมง ก็น่าจะ Active หรือ ทำงานแล้ว
รอสักพัก แล้วลองรีเฟรซดูครับ ถ้าขึ้นเหมือนภาพด้านล่าง แสดงว่ามัน Active เรียบร้อย

จบขั้นตอนการเชื่อมต่อกับ Cloudflare
6. ติดตั้งปลั๊กอิน เท่าที่จำเป็นต้องใช้
อีกหนึ่งจุดเด่นของ WordPress คือ มีปลั๊กอินให้เราเลือกใช้มหาศาล ทั้งแบบฟรีและแบบเสียเงิน บางครั้งทำให้เราอยากลอง อยากเทียบดูว่าแต่ละตัวต่างกันยังไงบ้าง นานเข้า ทำให้หลังบ้านเรามีปลั๊กอินหลายสิบตัวถึงหลักร้อยตัว มีใช้บ้างไม่ใช้บ้างก็ว่ากันไป
หรือบางครั้งเราติดตั้งปลั๊กอินเสริมเข้ามาเพียงเพราะ อยากเพิ่มฟ้อนต์เข้ามา แต่ไม่แน่ธีมที่เราใช้อาจจะมีฟังก์ชันให้เราเพิ่มฟ้อนต์ได้อยู่แล้ว หมายความว่า เรากำลังพึ่งปลั๊กอินมากเกินจำเป็น

เกิดอะไรขึ้นครับ หลังจากที่เราติดตั้งปลั๊กอินเยอะเกินจำเป็น มันย่องส่งผลทำให้เว็บไซต์โหลดช้า ทั้งระบบหลังบ้านและหน้าเว็บไซต์ เพราะแต่ละปลั๊กอิน จะมี script ของใครของมัน ยิ่งใช้เยอะ ก็ยิ่งต้องใช้เวลาโหลดนานยิ่งขึ้น
ผมขอสรุปคำแนะนำดังนี้ครับ
- ติดตั้งปลั๊กอินที่ต้องใช้จริงๆ
- ปลั๊กอินที่ไม่ได้ใช้ ให้ถอนออกไป
- อัพเดตปลั๊กอินสม่ำเสมอ
- เลือกใช้ปลั๊กอินที่ไว้ใจได้ ปลอดภัย (วิธีเลือกปลั๊กอินคุณภาพ)
7. ใช้ PHP Version 7.x
ทำไม WordPress ต้องใช้ PHP Version 7.x เป็นต้นไป? จากทีม Kinsta ได้ทำการทดสอบกับ WordPress 5.3 พบว่า เว็บไซต์ที่รันบน version 5.6 โหลดช้ากว่า แต่ถ้ารันบน PHP Version 7.4 จะโหลดไวกว่า “3 เท่า”
สรุปคือ ยิ่งใช้ PHP Version สูงขึ้น จะทำให้เว็บไซต์ WordPress โหลดเร็วขึ้น
เพราะฉะนั้น เวลาเช่า WordPress Hosting ต้องสอบถามก่อนเลยว่า รองรับ PHP Versoin 7.x เป็นต้นไปหรือเปล่า แต่ถ้าเช่าตาม WordPress Hosting ที่ผมแนะนำ ส่วนใหญ่รองรับอยู่แล้วครับ หายห่วง

นอกจากทำให้เว็บไซต์โหลดเร็วขึ้นแล้ว ยังช่วยในเรื่องของความปลอดภัยด้วยครับ ยอมลงทุนสักหน่อย หาโฮสติ้งคุณภาพดี ดีกว่ามาปวดหัวในภายหลังครับ
8. ทำความสะอาด Database
ฐานข้อมูล หรือ Database ของเว็บไซต์เรา ยิ่งนานขึ้น ก็จะยิ่งบวมขึ้นเรื่อยๆ (เหมือนคนเรานี้แหละ ^-^) ซึ่งเกิดจากที่เราอัพเดตข้อมูลต่างๆ นาๆ WordPress ก็จะเก็บประวัติการแก้ไขและข้อมูลไว้ที่ฐานข้อมูลทั้งหมด รวมถึง Plugin ต่างๆ ที่เราเคยติดตั้งและเคยถอนไปแล้วก็ตาม แต่ table ยังอยู่ไม่ได้หายไปไหน
สิ่งที่เราต้องทำคือ ต้องทำความสะอาดขยะที่ตกค้างใน Database เพื่อให้เว็บไซต์โหลดข้อมูลได้ไวมากขึ้น
ซึ่งวิธีการ ผมได้เขียนวิธีการไว้แล้ว เพื่อนๆ สามารถไปลองอ่านดูได้เลยครับ “จัดการฐานข้อมูล WordPress ให้เบา“
9. ใช้ External scripts ให้น้อยที่สุด
External scripts คือ ลิงค์ภายนอก ที่เราดึงมาเชื่อมกับเว็บไซต์เรา สมมติเราจะดึง Youtube มาแงสดงในเว็บไซต์ ทุกครั้งที่เราเปิดหน้านั้นขึ้นมา เว็บไซต์เราจะไปดึง scripts จาก Server ของ Youtube มาแสดงในเว็บไซต์ แน่นอนว่ามันกระบกับ Speed โดยตรง
ไม่ใช่ใช้ไม่ได้ครับ แต่ควรใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น
External scripts มีอะไรบ้าง
- Youtube
- icon font ต่างๆ
- Google Font
- เป็นต้น
โดยเฉพาะการแสดง VDO จาก Youtube อย่าแสดงหลายวิดีโอเยอะในหน้าเดียว กระจายในหลายหน้าก็ยิ่งดีครับ
ถ้าใช้ปลั๊กอิน WP-Rocket มันจะมีวิธีจัดการพวกนี้อยู่ครับ
สรุป
ผมได้เจาะลึกไปแล้วว่า ทำไม “เว็บโหลดเร็ว” จึงสำคัญ ต้นเหตุที่ทำให้เว็บไซต์โหลดช้า รวมถึง 9 วิธีทำให้ wordpress โหลดเร็ว ลองไปประยุกต์กันดูครับ ถ้าทำตามทุกข้อ คิดว่าน่าจะได้คะแนน 80-90+ ไม่ยากครับ(เทสด้วย GTMetrix)
9 เทคนิค วิธีทำให้ wordpress โหลดเร็ว เรามาเจาะลึกว่าทำไม เว็บโหลดเร็ว จึงสำคัญ สาเหตุและแนวทางอัพสปีดให้ได้เกรด A
จากสถิติโดย Google พบกว่า 53% ของผู้เข้าเว็บผ่านมือถือ จะออกจากเว็บไซต์ที่โหลดช้ากว่า 3 วินาที นั่นหมายความว่า เรามีโอกาสที่จะสูญเสียลูกค้าและทราฟฟิคอย่างแน่นอน ไม่มากก็น้อย
ไฟล์ภาพ, โฮสติ้งคุณภาพต่ำ, ปลั๊กอินเยอะเกินไป, เชื่อมลิงค์ภายในเกินจำเป็น, ไม่ได้ตั้งค่าการเก็บแคช
1.GTmetrix, 2.Google PageSpeed Insights, 3.Pingdom Website Speed Test
Hosting + Cloudflare + WP-Rocket + ShortPixel