[11 ขั้นตอนสำคัญ] ของ การทำ SEO บน WordPress ที่ไม่ควรพลาด

WordPress เป็น CMS ที่เป็นมิตรต่อการทำ SEO ก็จริง แต่ถ้าคุณพลาดเรื่องพื้นฐานสำคัญของ การทำ SEO บน WordPress ถึงแม้จะเขียนบทความเจ๋งแค่ไหน ก็อาจจะทำให้เว็บไซต์ไม่ติดอันดับเลยก็ได้

ถ้าอยากให้เว็บไซต์ WordPress ของคุณติดอันดับดีๆ ก็ไม่ควรพลาด 11 ขั้นตอนสำคัญ ที่ผมกำลังจะพูดถึงต่อจากนี้คับ

ทำความเข้าใจกันก่อนว่า WordPress ไม่ได้ช่วยให้อันดับ SEO บน Google ดีขึ้น เพราะมันแค่เป็นเรื่องมือเท่านั้น แต่ WordPress มันช่วยให้การทำ SEO ของเราสะดวกมากขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องธีมที่รองรับ SEO และมีปลั๊กอินช่วย

แม้แต่คนที่รู้แค่พื้นฐาน WordPress ก็สามารถปรับแต่งทำ SEO บน WordPress ได้ไม่ยากมาก

1. ตั้งค่า เปิด-ปิด การมองเห็นของ Search Engine

Search engine visibility” เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดที่ต้องเข้าใจ ถ้าเราใช้ไม่ถูกต้อง ก็อาจจะทำให้เว็บไซต์ของเราทยอยหายไปจากกูเกิลแน่นอน

  • ถ้าติ๊ก : หมายถึง การบล็อคไม่ได้ Google เก็บข้อมูลเว็บไซต์ของเราเพื่อจัดอันดับ
  • ถ้าไม่ติ๊ก : หมายถึง ให้ Google มาเก็บข้อมุลเว็บไซต์เพื่อจัดอันดับ

ถ้าเว็บไซต์พึ่งติดตั้งใหม่ๆ แนะนำให้มาเช็คดูตรงจุดนี้ก่อนครับ ว่าเปิด หรือ ปิดอยู่

Settings > Reading : เลื่อนลงด้านล่างสุด

ตั้งค่า เปิด-ปิด การมองเห็นของ Search Engine | การทำ SEO บน WordPress
ตั้งค่า เปิด-ปิด การมองเห็นของ Search Engine

แต่ถ้าเว็บไซต์อยู่ระหว่างปรับปรุง ไม่อยากให้ปรากฏบน Google ก่อน ก็สามารถติ๊กก่อน แล้วพอเว็บไซต์พร้อมออนไลน์ก็ค่อยมาติ๊กออกก็ได้ครับ

2. ตั้งค่า Permalinks ให้เป็นมิตรกับการทำ SEO

หลังจากติดตั้ง WordPress ใหม่ๆ โดยปกติแล้วรูปแบบ URL จะเป็นรูปแบบ Plain เหมือนด้านล่าง

https://tumweb.co/?p=123

และ URL ที่เป็นมิตรต่อ SEO จะเป็นแบบนี้ครับ ตัวอย่าง

https://tumweb.co/wordpress-seo

เพื่อนๆ ก็น่าจะดูออกว่า รูปแบบที่สอง อ่านง่าย เข้าใจความหมาย ว่าหน้านั้นจะพูดถึงเกี่ยวกับอะไร เวลาเราเห็น URL แบบนี้ที่ไหน ก็รู้สึกอยากคลิกเข้ามาอ่าน ช่วยเพิ่มในเรื่อง CTR

วิธีการตั้งค่า Permalinks ให้เป็นมิตรกับการทำ SEO ไม่ยากครับ ไปที่เมนู Settings > Permalinks

วิธีการตั้งค่า Permalinks | การทำ SEO บน WordPress
วิธีการตั้งค่า Permalinks

ให้คลิกเลือก “Post name

ทันทีที่เรากดบันทึก ระบบจะไปเขียนการตั้งค่าที่เราเลือกที่ไฟล์​ .htaccess แต่สำหรับ Hosting ที่ไม่ได้รองรับ WordPress อาจจะทำให้การบันทึกไม่สมบูรณ์ เราจำเป็นต้อง Copy CODE ไปวางในไฟล์ .htaccess เองครับ

ถ้าใช้ Hosting ที่รู้ใจ WordPress ก็ไม่น่ามีปัญหาครับ

กรณีที่เป็นเว็บไซต์ที่ใช้มานานแล้ว การเปลี่ยนรูปแบบ Permalinks จะทำให้ URL เก่าที่ถูกกูเกิลจัดอันดับไปแล้ว ถ้ามีคนคลิกเข้ามา จะกลายเป็นลิงค์เสียแน่นอน (404) ให้ทำ Redirect 301 เพื่อแก้ปัญหาลิงค์เสียครับ

3. ติดตั้งปลั๊กอิน SEO

ปลั๊กอิน SEO เป็นปลั๊กอินที่จะมาช่วยเราในเรื่องเชิงโครงสร้างของเว็บไซต์ วิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ที่ส่งผลต่อ SEO โดยตรง รวมถึงช่วยแนะนำการปรับแต่งแต่ละหน้า ให้ถูกต้องตามหลัก SEO On-Page

ปลั๊กอิน SEO ที่มีคุณภาพมีหลายตัว ที่ได้รับความนิยม เช่น Yoast SEO, All in One SEO Pack, Rank Math

ปลั๊กอินที่ผมแนะนำ และตัวที่คนใช้เยอะที่สุด คือ Yoast SEO (อ่านวิธีติดตั้งปลั๊กอิน)

ปลั๊กอิน SEO : Yoast SEO
Yoast SEO

Yoast SEO มีฟีเจอร์ที่มีประโยชน์ต่อ การทำ SEO บน WordPress เยอะมากครับ เช่น สามารถปรับแต่ง SEO Title, Meta Description, ตั้งค่าการแชร์การโซเชียลมีเดีย, Schema, XML Sitemap, Robots.txt, Breadcrumbs, Canonical URLs, วิเคราะห์ปัญหาต่างๆ, วิเคราะห์การทำ SEO On-Page, และอื่นๆ อีกเยอะ

การวิเคราะห์ SEO ของ Yoast SEO
การวิเคราะห์ SEO ของ Yoast SEO

ภาพข้างบน คือ ตัวอย่างการวิเคราะห์ SEO On-Page ของปลั๊กอิน Yoast SEO จุดไหนที่เราทำถูกต้องตามหลัก ก็จะขึ้นสีเขียวๆ จุดไหนที่ไม่ถูกต้องก็สีแดงๆ

ทำให้คนที่มีพื้นฐานน้อย สามารถทำ SEO ได้ง่ายๆ ไม่จำเป็นต้องแตะโค้ดเลย

หากต้องการฟีเจอร์ที่มากขึ้น สามารถอัพเกรดเป็นเวอร์ชั่น Premium ได้ครับ ราคาเริ่มต้นที่ 89$

ปลั๊กอิน SEO ไม่ควรติดตั้งหลายตัวพร้อมๆ กัน อาจจะทำให้มีปัญหาเกิดขึ้นได้ ควรใช้ตัวเดียวเท่านั้น และควรคิดแต่แรกว่าจะใช้ตัวไหน ก็ใช้ไปยาวๆ เพราะถ้ามาเปลี่ยนระหว่างทาง อาจจะทำให้บางจุดมีปัญหาได้

4. เลือก WordPress Theme ที่เป็นมิตรต่อ SEO

Theme ของ WordPress ทั้งของฟรีและพรีเมี่ยมมีเยอะมาก แต่ถ้าพูดถึงธีมที่มีคุณภาพและเป็นมิตรต่อ SEO มีไม่เยอะมาก ฉะนั้นเวลาเลือกธีม ต้องดูในหลายๆ เรื่องครับ

ก่อนที่จะโหลดธีมมาติดตั้ง วิธีที่ผมแนะนำ คือ เลือกธีมที่มีคนใช้เยอะ คนโหลดมากที่สุด แสดงว่าอันนั้นแหละดี เชื่อว่าอย่างงั้น เลือกที่มีรีวิว 4 ดาวเป็นต้นไป ไม่ว่าจะธีมฟรี หรือ พรีเมี่ยม

หากเลือกธีมฟรีที่ไม่ดี หรือ โหลดธีมพรีเมี่ยมตัวเถื่อน มีโอกาสติดมัลแวร์ได้ครับ ซึ่งส่งผลต่อเรื่อง SEO โดยตรง

WordPress Theme ที่เป็นมิตรต่อ SEO

  • รองรับมือถือ (Responsive Design)
  • น้ำหนักเบา โหลดไว
  • โครงสร้าง Theme ถูกต้องตามหลัก SEO

รองรับมือถือ WordPress Theme ปัจจุบันน่าจะรองรับมือถือเกือบทั้งหมดแล้ว แต่อาจจะต้องวัดกันที่ เวลาเปิดในมือถือแล้ว ธีมไหนที่โหลดได้ดีกว่า ประสบการณ์ในการใช้งานดีกว่า วิธีทดสอบว่าเว็บไซต์รองรับมือถือหรือเปล่า

น้ำหนักเบา โหลดไว ธีมบางตัว พยายามใส่ฟีเจอร์ครอบจักรวาล จะได้ขายให้ได้เยอะๆ แต่ต้องแลกด้วยน้ำหนักของธีมที่หนักขึ้น และโหลดช้าขึ้น ถ้าออกแบบมาไม่ดี อาจจะส่งผลให้โหลดช้าได้แน่นอน

โครงสร้างของ Theme โครงสร้างของธีมที่ดี ต้องเป็นมิตรกับ SEO ด้วย การใช้แท็ก HTML ถูกต้อง ทำให้ Google bot เข้าใจเว็บไซต์เราได้ง่ายขึ้น

ถ้าเป็นธีม Premium (PRO) แนะนำให้ซื้อธีมที่ขายดีที่สุดตามลำดับ และธีมที่เรทติ้งสูงๆ ก็บ่งบอกว่าธีมนั้นมีคุณภาพ มันเลยขายดี ^^

5. เปิดใช้งาน Breadcrumbs

Breadcrumbs คือ เมนูนำทางที่อยู่ในเว็บไซต์ ช่วยให้เรารู้ได้ว่า ณ ตอนนี้เราอยู่จุดไหนของเว็บไซต์ ถ้าเราอยู่ในหน้าสินค้า มันก็จะบอกว่าเราอยู่ภายใตัหมวดหมู่อะไรบ้าง ซึ่งมันมีประโยชน์ทั้งตัวเราเอง ให้มีประสบการณ์ในการท่องเว็บง่ายขึ้น และ มีประโยชน์ในการทำ SEO

Breadcrumbs - เมนูนำทางบน WordPress
Breadcrumbs – เมนูนำทางบน WordPress

มันช่วยให้ Google เข้าใจเว็บไซต์เรามากขึ้นในแง่ของโครงสร้าง และเวลาแสดงใน Google search results จะดูสวยงาม น่าคลิกกว่า เว็บไซต์ที่ไม่เปิด Breadcrumbs

แสดงเส้นทางใน Google Search สวยงามน่าคลิก
แสดงเส้นทางใน Google Search สวยงามน่าคลิก

…แต่อย่าพึ่งไปเข้าใจว่า เปิด Breadcrumbs แล้วอันดับ SEO จะดีขึ้นทันที มันไม่ได้เป็นปัจจัยหลักขนาดนั้น ส่วนตัวผมมองว่า มันช่วยในแง่ของประสบการณ์ในการใช้งานมากกว่า หรือ User Experience

ถ้าใช้ปลั๊กอิน Yoast SEO มันจะมีฟังก์ชันนี้ให้เราใช้งานเรียบร้อย

SEO > Search Appearance > Breadcrumbs : Enable Breadcrumbs

วิธีเปิดใช้งาน Breadcrumbs
วิธีเปิดใช้งาน Breadcrumbs

Breadcrumbs จะแสดงในเว็บไซต์หรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่า Theme ที่เราใช้รองรับฟังก์ชัน Breadcrumbs ของ Yoast SEO หรือไม่ ถ้าธีมดังๆ น่าจะรองรับ

6. กรอง Spam comments

เว็บไซต์ WordPress ถ้าเราไม่ได้ตั้งค่าความปลอดภัย กรองพวกสแปมต่างๆ ปัญหานึงที่เรามักจะเจอบ่อยๆ คือ “Spam comments” 

ถ้าเป็นความคิดเห็นที่มาจากคนที่เขียนถึงเราจริงๆ ก็ดีครับ แต่ถ้าเป็นความคิดเห็นที่เป็นพวกสแปม อันนี้เริ่มไม่ค่อยดีละ

Spam comments ส่วนใหญ่มาจาก โปรแกรมอัตโนมัติ ที่ยิงไปหาเว็บไซต์ต่างๆ ตลอดเวลา จุดประสงค์เพื่อสร้าง Backlinks จำนวนมาก ส่งกลับไปหาเว็บเป้าหมายของเค้า

ถ้าเราไม่ได้ตั้งค่าให้ Manual approval หรือ ต้องอนุมัติจากเราเท่านั้น ก็มีโอกาสที่จะมีพวก Spam comments  เข้ามาโผล่ในหน้าเว็บไซต์

แล้วมันส่งผลต่อเรื่อง SEO ในด้านลบยังไงบ้าง?

  • ถ้ามีส่วนหนึ่งของหน้านั้นๆ มีข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องเลยกับหัวข้อและเนื้อหาภาพรวม เช่น ความคิดเห็นสแปม ก็ย่อมส่งผลด้านลบไม่มากก็น้อย
  • การมีความคิดเห็นสแปมโผล่ให้เห็น มันส่งผลเรื่อง Experience ด้วย หรือ ความน่าเชื่อถือ

วิธีตั้งค่า Manually approval

วิธีตั้งค่า Manually approval
วิธีตั้งค่า Manually approval

ไปที่เมนู Settings > Discussion : Before a comment appears

แค่นี้ ทุกข้อความที่เข้ามา จะต้องถูกอนุมัติจากเราทุกครั้งเสมอครับ

7. เขียน URL Slug ให้เข้าใจได้ง่าย

URL Slug คือ ลิงค์ของหน้าแต่ละหน้า ที่อยู่ถัดจากชื่อโดเมนหลัก เช่น

https://tumweb.co/im-url-slug

ซึ่งหลักการเขียน URL Slug มันก็ไม่ไ่ด้มีกฏเกณฑ์ตายตัว และไม่ได้ส่งผลต่ออันดับ SEO อย่างงั้น แต่การเขียน URL Slug ที่ดีเนี่ย มันส่งผลทางอ้อมมากกว่า เช่น เวลาปรากฏใน Google Results ลิงค์จะถูกตัดอัตโนมัติเพราะมันยาวเกินไป และถ้า URL Slug ที่เราเขียน อ่านแล้วไม่เข้าใจ และยาวเกินไป ก็อาจจะส่งผลในเรื่องของ CTR ก็ได้

URL Slug ที่แย่

  • tumweb.co/wordpress/id=11?2929
  • tumweb.co/393434
  • tumweb.co/wordpress/hi-as-di-im-url-slug-dont-make-me-to-long-because-ugly-guys

สังเกตไหมครับว่า แค่ดูก็ไม่น่าดูแล้ว อ่านก็ไม่เข้าใจความหมายว่ามันคืออะไร ถ้าเราไปเจอลิงค์นี้ที่ไหนสักแห่ง ก็ไม่ค่อยอยากคลิกเข้าไปใช่ไหมครับ ต่อให้ลิงค์บทความนั้นมีประโยชน์แค่ไหน ก็ไม่อยากเก็บลิงค์ นั้นแหละครับ มันส่งผลในเรื่อง CTR แบบอ้อมๆ

URL Slug ที่เยี่ยม

  • tumweb.co/wordpress-seo
  • tumweb.co/seo-checklist
  • tumweb.co/wordpress-settings

น่าจะเห็นความแตกต่างใช่ไหมครับ? URL Slug แบบที่เยี่ยม น่าอ่าน อ่านแล้วเข้าใจทันทีว่า หน้านั้นน่าจะพูดถึงเกี่ยวกับอะไร มันดูคลีนและกระชับ เจอที่ไหนก็อยากคลิก หรือคัดลอกเก็บลิงค์เอาไว้

สำหรับ WordPress เตรียมระบบ Permalink ให้เราใช้กันง่ายๆ สามารถเขียน URL Slug ในแบบของเราเองได้อิสระ

วิธีเขียน URL Slug
วิธีเขียน URL Slug

WordPress เวอร์ชั่นล่าสุด สังเกตการตั้งค่าด้านขวามือครับ ไม่ว่าจะเป็น Page หรือ Posts เหมือนกันครับ

เพื่อนๆ สามารถตั้ง Slug เป็นภาษาไทยก็ได้ครับ แต่ส่วนตัวผมไม่ค่อยชอบ เพราะเวลา Copy แล้วมันจะเป็นตัวอัขระต่างดาว มันไม่ค่อยสวยเท่าไหร่

8. ใส่คำอธิบายรูปภาพ “ALT”

ALT หรือ Alternative Text คือ คำอธิบายของรูปภาพ ทุกรูปที่เราใส่ในเว็บไซต์ ควรใส่คำอธิบายทุกครั้ง ถึงแม้ใส่แล้วเราจะไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่อย่าลืมว่า Google ตาบอกนะ กูเกิลจะเข้าใจรูปภาพก็ต่อเมื่อเราใส่คำอธิบายรูปภาพ

ถ้าเราใส่คำอธิบายรูปภาพถูกต้องครบถ้วน ก็มีโอกาสที่รูปภาพของเราจะติดอันดับใน Google Images เวลามีการค้นหาด้วยรูปภาพ

ตัวอย่าง Code HTML เวลาใส่คำอธิบายภาพในแท็ก alt

<img src="..../path" alt="ข้าคือ คำอธิบายรูปภาพ" />

วิธีใส่คำอธิบายรูปภาพ “ALT” ใน WordPress

โชคดีที่ WordPress ได้เตรียมช่องใส่ให้เรียบร้อย ผ่านระบบหลังบ้าน มือใหม่ทำได้ง่ายๆ

วิธีใส่คำอธิบายรูปภาพ "ALT" ใน WordPress
วิธีใส่คำอธิบายรูปภาพ “ALT” ใน WordPress

ALT มีประโยชน์มากสำหรับ Google Images ถ้าต้องการให้รูปภาพติดอันดับต้นๆ ควรใส่ให้ถูกต้องครับ

9. เขียน SEO Title และ Meta Description ให้น่าคลิกเข้ามาอ่าน

SEO Title กับ Meta Description เป็นจุดแรกที่คนเห็นจากการค้นหาใน Google ซึ่งถ้าเราเขียนแบบไม่น่าคลิก อ่านแล้วงงๆ ว่าหน้านั้นเกี่ยวกับอะไรกันแน่ หรือ เขียนสั้นเกินที่จะเข้าใจภาพรวมของหน้านั้นๆ ซึ่งหมายความว่า โอกาสที่คนเห็นแล้วผ่านไปสูงมาก

ถ้าใครยังไม่เห็นภาพว่า Title กับ Description หน้าตาเป็นยังไง ตามภาพด้านล่างครับ

SEO Title กับ Meta Description
SEO Title กับ Meta Description

Title เป็นส่วนหัวข้อแรกสุด ควรเขียนให้ยูนีค หรือ แตกต่างในแต่ละหน้า แต่ละสินค้า ห้ามซ้ำกัน เขียนไม่ยาวเกินไป และควรเขียนให้น่าคลิกด้วยนะ

Description ส่วนคำอธิบาย ควรเขียนให้ยูนีคเช่นเดียวกัน และอธิบายได้กระชับ ให้พอเข้าใจภาพรวมของหน้านั้นๆ

หลายๆ เว็บไซต์ที่ผมเคยเจอ มักจะละเลยในการปรับแต่ง Title/Description แต่ผมบอกได้เลยว่า เป็นจุดนึงที่สำคัญไม่แพ้คอนเทนต์

Yoast SEO ช่วยให้เราสามารถเขียน Title, Description แต่ละหน้าที่ไม่ซ้ำกัน หากติดตั้งปลั๊กอินเรียบร้อย เข้าไปที่หน้าที่ต้องการแก้ไข แล้วเลื่อนลงด้านล่างสุด ก็น่าจะมีช่องให้เราตั้งค่าเหมือนรูปด้านล่าง

วิธีตั้งค่า Title, Description ด้วย Yoast SEO
วิธีตั้งค่า Title, Description ด้วย Yoast SEO

เทคนิควิธีเขียน Title, Description

  • Title : ความยาวไม่เกิน 70 อักขระ (เขียนให้ขึ้นแถบสีเขียว)
  • Description : ความยาวไม่เกิน 300 อักขระ (เขียนให้ขึ้นแถบสีเขียว)
  • มี Keyword ประกอบ
  • เขียนโดยใช้คำที่น่าดึงดูด

10. ปรับแต่งเว็บไซต์ให้โหลดเร็ว

เรื่อง Speed เป็นปัจจัยสำคัญในการทำ SEO หากต้องการอันดับต้นๆ บน Google

ลองนึกเล่นๆ ดูครับว่า ถ้าเราเข้าเว็บไซต์นึง กว่าจะโหลดหน้าเว็บเสร็จ ใช้เวลาถึง 10วินาที ผมเดาได้เลยว่า คงจะออกไปตั้งแต่ 5 วินาทีแรกแล้วละ

เรามาดูตัวเลขชัดๆ จาก Think with Google เป็นสถิติจาก Mobile Page Speed

  • 1วิ – 3วิ : มีโอกาสที่คนออกจากเว็บไซต์ 32%
  • 1วิ – 5วิ : มีโอกาสที่คนออกจากเว็บไซต์ 90%
  • 1วิ – 6วิ : มีโอกาสที่คนออกจากเว็บไซต์ 106%
  • 1วิ – 10วิ : มีโอกาสที่คนออกจากเว็บไซต์ 123%

ยิ่งเว็บไซต์โหลดช้า ยิ่งมีโอกาสทำให้คนออกจากเว็บไซต์เราสูง (Bounce Rate)

เว็บไซต์ที่โหลดช้า หมายความว่า เว็บไซต์นั้นมอบประสบการณ์ที่ไม่ดีให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์ (User Experience) ซึ่งแน่นอนว่า Google ให้ความสำคัญกับเรื่อง “User Experience”

แน่นอนว่า Google จะดึงเว็บไซต์ที่มีประสบการณ์ดีกว่า มาอยู่อันดับต้นๆ และเว็บไซต์ที่จะอยู่อันดับต้นๆ ก็ต้องตอบคำถามที่ตรงกับคนที่กำลังค้นหาด้วยนะ

ลองไปอ่านบทความฉบับเต็ม วิธีทำให้ WordPress โหลดเร็ว

11. ปรับแต่ง SEO On-Page

SEO On-Page คือ การปรับแต่งเแต่ละหน้าเพจ เพื่อให้ Algorithm ของ Search Engine เข้าใจได้ไวขึ้นว่า หน้านั้นเกี่ยวกับอะไร ตอบคำถามให้กับคนที่กำลังค้นหาได้หรือเปล่า ยิ่งเราจัดวางโครงสร้างของ Content ให้ถูกต้องตามหลัก On-Page เว็บไซต์เราก็จะยิ่งติดอันดับง่ายขึ้น

“แก่น” สำคัญของการทำ SEO คือ การเขียน Content ให้ตรงกับคนที่กำลังค้นหา เช่น ถ้าเว็บไซต์เราเกี่ยวกับ รับทำเว็บไซต์ เนื้อหาภายในเว็บไซต์ก็ต้องตอบคำถามทุกอย่าง ที่เกี่ยวข้องกับการทำเว็บไซต์

ต่อให้เราจัดวาง SEO On-Page ครบทุกข้อ แต่เนื้อหาไม่ตรงประเด็น ก็อย่าคิดว่าอันดับจะดีขึ้น

สรุป

หัวใจหลักของการทำ SEO ให้ติดอันดับคือ Content แต่ถ้าเราพลาดจุดง่ายๆ ที่ไม่ควรพลาด ก็อาจจะกระทบกับอันดับโดยตรง ข้อดีของ การทำ SEO บน WordPress คือ มันมีเครื่องไม้เครื่องมือพร้อมใช้ทุกอย่างแล้ว เหลือแค่ให้เราไปตั้งค่านิดหน่อย บวกกับเขียนคอนเทนต์ให้ตรงประเด็น

เพื่อนๆ ลองไปเช็คเว็บไซต์ของตัวเองได้ ว่าได้ทำตามครบ 11 ขั้นตอนสำคัญแล้วหรือยัง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *