Sitegound บริษัทเว็บโฮสติ้งก่อตั้งขึ้นเมื่อ 2004 หรือเกือบ 17 ปีมาแล้ว มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมือง Sofia ประเทศ Bulgaria มีพนักงานกว่า 600+ คน มี Data Center กระจายอยู่ทั่วโลก และที่ไกล้ประเทศไทยที่สุดอยู่ที่ สิงคโปร์ ทำให้การเข้าใช้เว็บไซต์จากไทยค่อนข้างเร็ว
Siteground เป็นหนึ่งในโฮสติ้งที่ผมแนะนำเป็นอันดับต้นๆ จากประสบการณ์ที่ใช้งานจริงพบว่า เป็นโฮสติ้งที่มีคุณภาพคุ้มกับราคาที่จ่ายไป ทำให้สบายใจได้ว่าเว็บไซต์เราจะไม่มีปัญหาที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น มีระบบ Daily Backups และสามารถติดต่อได้ 24 ชม. จริงๆ อุ่นใจได้เลย
เรามาถกด้วยกันว่า Siteground ดีไหม มีจุดเด่น-จุดด้อยอย่างไรบ้าง และผมจะพยายามสอดแทรกประสบการณ์ที่ผมเคยใช้งานมาจริง ว่ามีความคิดเห็นอย่างไร
Siteground คือ
Siteground เป็นผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งชื่อดัง และเป็นหนึ่งในโฮสติ้งที่ผู้ใช้ WordPress เลือกใช้เป็นอันดับต้นๆ จะเด่นในเรื่องการปรับจูน Speed ให้โหลดไว ความปลอดภัยที่ไว้ใจได้ ติดปัญหาอะไรก็ติดต่อผ่านระบบ Live Chat ได้เลย 24 ชั่วโมง
ทีมวิศวกรของ Siteground ค่อนข้างเก่งและเป็นที่รู้จักที่กลุ่มคนใช้ WordPress ทำเว็บไซต์ ด้วยความที่มันรองรับ WordPress 100% มีปลั๊กอิน Cache ของตัวเอง ซึ่งไม่แปลกที่ Siteground ถูกแนะนำโดย WordPress.org, Yoast, WooCommerce
เบื้องหลังของ Siteground คือ คลาวด์ระดับโลกอย่าง Google Cloud นั่นเอง ทำให้ไม่ต้องสงสัยในเรื่องประสิทธิภาพ
Siteground มี 4 บริการหลัก ได้แก่ Web Hosting, WordPress Hosting, WooCommerce Hosting, Cloud Hosting ซึ่ง 3 ประเภทแรกเป็นโฮสติ้งประเภท Share Hosting และอันสุดท้ายเป็น Cloud Hosting ซึ่งแน่นอนว่าทั้ง 2 แบบ มันมีความต่างอยู่ในเรื่องสเปค และราคา
- Share Hosting ของ Siteground : เหมาะสำหรับเว็บไซต์ขนาดเล็ก-กลาง, 1-10 เว็บไซต์, คนเข้าเว็บ ~10,000 – ~ 100,000 / เดือน ( ผมใช้แพคเกจนี้อยู่ ) ปีแรกลด 73%
- Cloud Hosting ของ Siteground : เหมาะสำหรับเว็บไซต์ขนาดใหญ่
ความแตกต่างระหว่าง Share Hosting กับ Cloud Hosting
- Share Hosting : ร่วมกันใช้ทรัพยากรกับผู้อื่น ถ้ามีเว็บนึงที่มีทราฟฟิคสูงมาก อาจจะกระทบเว็บไซต์อื่นๆ ไปด้วย แต่ข้อดีคือ ราคาถูก คุณภาพก็ยังดีระดับนึง
- Cloud Hosting : เราใช้คนเดียวไม่ต้องแบ่งทรัพยากรกับใคร ปรับแต่ง Server ได้ และมี Dedicated IP หรือ IP เฉพาะของเราเองไม่ได้แชร์กับใคร ข้อดีคือดีมาก ข้อเสียคือราคาก็แพงมากด้วยนะ ><
ฟีเจอร์เด็ดของ Siteground สำหรับ WordPress
ที่กลุ่มผู้ใช้ WordPress นิยมใช้บริการของ Siteground ไม่ใช่เพราะถูกหรือแพง ดีหรือไม่ดี แต่เป็นเพราะมันเข้าใจสภาพแวดล้อมของ WordPress เป็นอย่างดี ทำให้เว็บไซต์ทำงานได้ดีที่สุด
ก่อนหน้าที่ผมจะใช้ Siteground ผมใช้โฮสไทยมาหลายบริษัทเหมือนกัน โฮสติ้งไทยไม่ใช่ไม่ดีนะครับ ดีและคุ้มกับราคาที่จ่ายไป แต่พอมาเจอโฮสติ้งต่างประเทศอย่าง Siteground พบว่ามันทำงานร่วมกับ WorrdPress ได้ดี และเว็บไซต์โหลดเร็วขึ้นเยอะ
ทำให้ยอมจ่ายแพงกว่านิดหน่อยเพื่อแลกกับคุณภาพที่ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การเลือกโฮสติ้ง ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยนะครับ หนึ่งในนั้นคือ “งบประมาณ” ถ้างบไม่เยอะ แนะนำโฮสไทยน่าจะคุ้มที่สุดแล้วครับ วิธีเลือกโฮสติ้งที่เหมาะกับ WordPress
6 ข้อด้านล่าง แค่ส่วนหนึ่งที่ผมคิดว่ามันเป็น Features ที่มีประโยชน์และใช้บ่อย
Free SSL, CDN
มี SSL แบบ Let’s Encrypt ให้เราใช้งานได้ฟรีๆ ทำให้เว็บมีความปลอดภัยมากขึ้น และยังรองรับ การเชื่อม CDN ของ Cloudflare
Staging Tool
“โหมดทดสอบ” สามารถ Copy เว็บไซต์จริง ไปยังโหมดทดสอบ แล้วแก้ไขให้เต็มที่โดยไม่กระทบกับเว็บหลัก แล้วค่อยกด Live ทีเดียว
SG Optimizer
ปลั๊กอิน SG Optimizer ช่วยให้ Speed ของเว็บไซต์โหลดไวขึ้น พัฒนาโดย SiteGround ทำให้เข้าใจ Hosting ดีที่สุด
Daily Backups
สำรองข้อมูลเว็บไซต์ให้ทุกวัน ทำให้เราอุ่นใจได้ว่า เมื่อเว็บไซต์พังหรือมีปัญหา สามารถกดกู้คืนได้ตลอดเวลาในไม่กี่นาที
WordPress Transfer
ปลั๊กอิน “SiteGround Migrator” ช่วยให้เราย้ายเว็บไซต์เข้า SiteGround ได้ง่ายมากขึ้น ในไม่กี่ขั้นตอน และสมบูรณ์ 100%
WordPress Advanced Security
ฝั่งโฮสติ้งจะคอยตรวจสอบ เกี่ยวกับความปลอดภัยของ WordPress Core, Plugin หากพบสิ่งผิดปกติ มันจะจัดการให้เราทันที
ยังมีฟีเจอร์ที่น่าสนใจอีกเยอะมากๆ ถ้าเขียนในนี้เลย อาจจะเยอะไป แนะนำให้ไปอ่าน SiteGround HOsting Features
วิธีเลือกแพคเกจราคาของ Siteground
Siteground มีบริการให้เรา 4 แบบให้เลือก
- Web hosting
- WordPress Hosting
- WooCommerce Hosting
- Cloud Hosting
3 ตัวเลือกแรก จริงๆ มันคือ Share Hosting ครับ ถ้าลองคลิกเข้าไปดูแต่ละอัน สังเกตว่า ราคาโฮสติ้ง กับ รายละเอียดสเปคแทบจะเหมือนเปะ 100% เลย *ก็ไม่รู้ว่าจะแยกให้งงทำไม ><
เอาเป็นว่าถ้าเราใช้ WordPress ทำเว็บไซต์ ก็เลือก WordPress Hosting ละกันครับ ซึ่งหากคลิกเข้าไปดูแพคเกจ จะมี 3 แพคเกจย่อยให้เราเลือก
- StartUP
- GrowBig
- GoGeek

แต่ละแพคเกจจะแตกต่างกันในเรื่องราคาและสเปค ผมจะชี้จุดสังเกตหลักๆ เพื่อใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อ WordPress Hosting
- Website : เลือกว่าต้องการติดตั้งกี่เว็บไซต์ มีให้เลือก 1, 5, 10
- Web Space : จำนวนพื้นที่ มีให้เลือก 10GB, 20GB, 40GB
- Visits Monthly : คนเข้าเว็บโดยประมาณ แต่ตอนใช้จริง มันไม่ได้ตรวจจับขนาดนั้นครับ คนเข้าเว็บเกินที่กำหนดก็ได้
- GrowBig, GoGeek มีการปรับจูน PHP ให้โหลดไวขึ้น แบบ Ultrafast
- GrowBig, GoGeek มี On-demand BackUP Copies
- GrowBig, GoGeek มีระบบ Staging
ทุกแพคเกจลดราคาเกือบ 73% ในปีแรก เพื่อให้เราเริ่มต้นได้ง่ายขึ้น แล ะไม่ต้องห่วงครับถ้าใช้แล้วไม่พอใจจริง สามารถขอคืนเงินได้ใน 30 วัน
สำหรับเว็บไซต์ขนาดเล็ก หรือ ผู้เริ่มต้น ยังไม่อยากเสียเยอะ ให้เลือกแพคเกจเริ่มต้นอย่าง StartUP ก่อนครับ ถ้าใช้ไปแล้วพื้นที่เกือบเต็ม หรือทราฟฟิคเริ่มเยอะ สามารถอัพเกรดได้ตลอดเวลาครับ
การสำรองข้อมูล (BackUP)
การสำรองเว็บไซต์ หรือ BackUP ผมให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ ลองนึกดูครับ ถ้าอยู่ดีๆ เว็บไซต์เกิดพังขึ้นมา ไม่ว่าจะเกิดจากอะไรก็แล้วแต่ ถ้าไม่มีไฟล์ BackUP เราเจอปัญหาใหญ่แน่นอนครับ
แต่ละโฮสติ้งจะมีการสำรองไม่เหมือนกัน บางที่ 7 วันครั้ง, บางที่ 1 วัน, และระยะเวลาการเก็บก็ต่างกัน 7, 10, 15, 30 วัน
ซึ่งถ้าจะให้ผมแนะนำตามตรงคือ ควรเอาที่มัน BackUP ถี่ที่สุด และนานที่สุด เวลามีปัญหาจะได้เอาเวอร์ชั่นที่ไกล้เคียงกับล่าสุด
Siteground มีระบบ BackUP ที่ใช้งานง่ายแค่ไม่กี่คลิก ปกติแล้วระบบจะช่วย BackUP อัตโนมัติ วันละครั้ง และจะเก็บไฟล์สำรองไว้นานถึง 30 วัน และเรายังสามารถกด BackUP ด้วยตัวเองได้อีกด้วย
- BackUP ทุกวัน และเก็บไฟล์ 30วัน (สำหรับ Cloud 7 วัน)
- สามารถ BackUP ด้วยตัวเองได้ (Manual)
- สามารถเลือก Restore ไฟล์, ฐานข้อมูล และอีเมล์
- BackUP & Restores จะได้ใช้ทุกแพคเกจ
จากประสบการณ์ที่ใช้มาหลายปี ค่อนข้างแฮปปี้มากครับ เพราะเราไม่ต้องกังวลว่ามันพังแล้วไม่มีไฟล์สำรอง เพราะบางทีเราลืมกดสำรองด้วยตัวเอง
การช่วยเหลือ และ Support
Support ของ Siteground เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ผมประทับใจมาก และเป็นจุดแข็งของเค้าเลยละ จากที่ผมได้สัมผัสมา ทีมช่วยเหลือค่อนข้างให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดีเยี่ยม รวดเร็ว และเป็นกันเอง ไม่ว่าจะมีปัญหาอะไรก็แล้วแต่ เค้าจะคอยแนะนำเราตลอด ถ้าทีม Support เบื้องต้นช่วยไม่ได้ ก็จะส่งต่อ Ticket ให้วิศวกร หรือ ผู้เชี่ยวชาญ
จำนวนคนของ Support Team มีจำนวนเพียงพอ คอยให้บริการช่วยเหลือเรา และให้รอเราไม่นาน
ช่องทางในการติดต่อมี 4 ช่องทางเป็นหลัก
- Live Chat
- Tickets
- Phone support
ผมชอบติดต่อทาง Live Chat มากกว่า เพราะได้คุยกับคนจริงๆ ระบบมีบอกชื่อ รูปภาพและโปรไฟล์ของคนที่กำลังคุยกับเราด้วย ทำให้เรารู้สึกว่า เค้าส่งคนมาช่วยดูแลเราจริงๆ แก้ปัญหาได้ทันที
พูดถึงเรื่องบริการหลังการขาย หรือ Support ผมเคยใช้โฮสในไทยมาหลายเจ้า และมีประสบการณ์ที่ไม่ดีมาหลายที่เหมือนกัน
พูดถึงเรื่องความปลอดภัย (Security)

Siteground มีระบบคอยสแกน ป้องกันการโจมตีในรูปแบบต่างๆ ไวรัส มัลแวร์ และพวกสแปมต่างๆ และมีทีม Security Experts โดยเฉพาะ ที่คอยตรวจสอบช่องโหว่ของซอฟต์แวร์และเว็บไซต์
- Custom WAF (Web Application Firewall) : ทีมด้านความปลอดภัย คอยเขียน Patch ปิดช่องโหว่ตลอดเวลา
- AI Anto-Bot System : มีระบบ AI ที่คอยหยุดภัยคุกคามจากภายนอก การโจมตี ทุกวัน
- Free SSL : มี Let’s Encrypt SSL ให้ใช้ฟรีๆ ไม่ต้องซื้อแยก
จากประสบการณ์ที่ผมเคยทำเว็บไซต์ WordPress และดูแลเว็บไซต์ให้ลูกค้า มีอยู่ 2 เว็บไซต์ที่ชอบมีปัญหา โดนมัลแวร์บ่อยมาก แก้ยังไงก็ไม่หาย (ตอนนั้นอยู่โฮสติ้งไทย) จนผมทนไม่ไหว เลยลองย้ายไปติดตั้งใน Siteground ปรากฏว่า หายขาด ไม่เคยโดนมัลแวร์อีกเลย
“เลือกโฮสติ้งดี สบายใจไปเปาะนึงละ”
ผมมีหลักการง่ายๆ ในการดูแลเว็บไซต์ให้ปลอดภัย (1) ดูแลอัพเดตหลังบ้านสม่ำเสมอ, (2) เลือกโฮสติ้งคุณภาพ แค่นี้ก็พอครับ ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน ลองไปอ่านบทความที่ผมเคยกลั่นเขียนให้ครับ เป็นแนวทาง
และ Siteground มีปลั๊กอิน SiteGround Security ของตัวเองด้วยนะ ซึ่งบ่งบอกว่า เค้ามีทึมที่เก่งมากๆ
Siteground ดีไหม? เล่าจากประสบการณ์
คุณภาพ
เรื่องคุณภาพบอกได้เลยว่าดีมากครับ Siteground การันตี Uptime : 99.9% ซึ่งทำให้ผมสบายมั่นใจได้ว่า เว็บไซต์จะทำงานเกือบจะตลอดเวลา ซึ่งตั้งแต่ที่ใช้มา ยังไม่เคยมีล่มแม่แต่ครั้งเดียว (ถ้าโฮสติ้งทำงานน้อยกว่าที่เค้าการันตี จะชดเชยให้เราด้วยนะ)
ลองคิดดูครับ ถึงแม้เว็บล่มแค่ 1 ชั่วโมง อาจจะหมายถึง คุณเสียลูกค้าสำคัญไป ลูกค้าเริ่มลังเลที่จะซื้อสินค้ากับคุณ ถ้าเป็นเว็บร้านค้าออนไลน์ อาจจะอดได้ลูกค้าหลายออเดอร์ และยังลามไปถึงเรื่องอันดับ SEO อาจจะกระทบไปด้วย
Uptime : 99.9% คือระยะเวลาที่ Server ทำงาน ส่วนที่เหลืออาจจะเผื่อเรื่อง Maintenance
Sitetools ( Control Panel )
Control Panel ของ Siteground ได้เปลี่ยนจากตัวเก่าคือ cPanel เป็น Sitetools ซึ่งเป็นตัวที่พัฒนาขึ้นมาเอง ซึ่งภาพรวมผมมองว่าดีกว่าจากที่ใช้งานมา และรองรับ Responsive ใช้งานได้ทุกอุปกรณ์
Sitetools ออกแบบและจัดกลุ่มเมนูได้ดีกว่าเดิม ลดความซับซ้อน ทำให้เราใช้งาน หาเมนูต่างๆ ได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมเยอะ ถ้าใครเคยใช้ cPanel คงจะพอเห็นภาพว่ามันมีเมนูค่อนข้างซับซ้อนพอสมควร
Speed
จากที่ใช้มา ถือว่าทีม Siteground ปรับจูนได้ดีเยี่ยมครับ เพื่อให้ Server เพราะเบื้องหลังของ siteground คือ Google Cloud, SSD, NGINX, HTTP/2, Brotli
Support
การบริการหลังการขาย เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ ต่อให้โฮสติ้งดีแค่ไหน ถ้าบริการแย่ก็ไม่น่าใช้ แต่บริการหลังการขายของ Siteground ถือว่าเป็นอีกหนึ่งจุดแข็ง มีความเป็นมืออาชีพสูง แก้ไขปัญหาให้เราได้ ถ้าเป็นปัญหายากๆ ก็จะส่งต่อให้วิศวกรทันที
สามารถติดต่อได้ทั้ง Live chat, Email, Tickets หรือ โทรโดยตรง ตลอด 24 ชั่วโมง
ข้อดี-ข้อเสีย ของโฮสติ้ง Siteground
ข้อดี Siteground
ข้อเสีย Siteground
วิธีการใช้งานโฮสติ้ง Siteground (Site Tools) เบื้องต้น
Siteground ใช้ระบบการจัดการ หรือ Panel ของมันเอง มีชื่อว่า “Site Tools” หลายๆ ที่ มักจะใช้ Direct Admin, CPanel, Plesk ซึ่งมีแนวทางการตั้งค่าที่แตกต่างกัน แต่ตัว Site Tools ออกแบบ UI ให้เข้าใจได้ง่าย จัดกลุ่มเมนูได้ดี
เดี๋ยวผมจะพาไปรู้จักแต่ละเมนูเคร่าๆ ว่ามีหน้าที่อะไรบ้าง

- Dashboard
- แสดงภาพรวมของโฮสติ้งที่ใช้ เช่น Disk Space, Inodes, IP, Name Server รวมถึงสถิติของเว็บไซต์
- Site
- จุดที่ควบคุม File และ Database เช่น จะเปิดดูไฟล์ของเว็บไซต์, สร้างรหัส FTP, สร้าง Database
- Security
- ความปลอดภัย เช่น ระบบ BackUP, SSL, Https, การ Block IP
- Speed
- การจัดการแคช (Cache) และเชื่อมต่อกับ Cloudflare หรือ รวมๆ คือ การปรับแต่งให้เว็บไซต์โหลดเร็ว
- WordPress
- เกี่ยวกับ WordPress ล้วนๆ เช่น การติดตั้ง, การจำลอง, การย้าย, ตั้งค่าอัพเดตอัตโนมัติ
- Domain
- การตั้งค่าโดเมน, ซับโดเมน, การ Redirect, ตั้งค่า DNS Zone
- Email
- การตั้งค่าระบบอีเมล์
- Statistics
- สถิติของเว็บไซต์, Error Log ต่างๆ
- Devs
- สำหรับโปรแกรมเมอร์ที่ต้องการปรับแต่งการตั้งค่า เช่น Git, Cron Jobs, PHP Version, SSH
ถ้าเทียบกับ Direct Admin, CPanel, Plesk ส่วนตัวผมว่า Site Tools ใช้งานง่ายกว่า และมีการจัดระเบียบเมนูที่เรียบง่าย ไม่ว่าจะมือใหม่หรือมือเก๋า ก็ไม่มีปัญหาในการใช้งาน
อยากลองใช้ แต่ไม่มั่นใจ?
อาจจะด้วยเป็นโฮสติ้งต่างประเทศ และ Support พูดอังกฤษ บางคนอาจจะรู้สึกสนใจแต่ไม่มั่นใจ แต่จากประสบการณ์ที่ผมใช้ ผมว่าใช้งานง่ายมากนะครับ
- ขั้นตอนการสั่งซื้อ ก็เหมือนสั่งของทั่วไป สมัครสมาชิก หยิบใส่ตะกร้า จ่ายเงิน เรียบร้อย
- จด Domain ลิงค์ Name Server กับ Siteground ที่เราเช่า
- ฝึกใช้งาน Panel : Site Tools แปปเดียวก็เป็นละ
- ถ้าใช้แล้ว รู้สึกว่า ไม่เวิร์ค ทาง Siteground มีการันตีคืนเงินใน 30 วัน (ฝรั่งเค้าคืนจริงๆ ครับ ไม่มีเงื่อนไขใดๆ)
ฉะนั้นมั่นใจได้เลยว่า ต่อให้มันไม่ได้เป็นเหมือนที่เราคาดหวัง ก็ยังสามารถขอคืนเงินได้แบบ 100% แต่แน่นอนว่า ก่อนที่จะเช่าโฮสติ้ง ไม่ว่ากับเจ้าไหนก็แล้วแต่ ควรหาข้อมูลให้ครบถ้วน อ่านรีวิวจากคนที่เคยใช้มาก่อน ว่าดีจริงไหม จะได้ไม่เสียใจภายหลัง

โฮสติ้ง SiteGround
เป็นโฮสติ้ง WordPress ต่างประเทศที่ผมใช้เป็นหลัก เลยเชียร์เป็นลำดับแรก
คลิกอ่านรายละเอียดได้ครับ ลดพิเศษปีแรก เริ่มต้นแค่ 3.99$/เดือน
สรุป
Siteground เป็นในโฮสติ้งที่ผมแนะนำตัวแรก เพราะผมใช้งานเอง ติดตั้งเกือบสิบเว็บ ทำให้สรุปให้กับเพื่อนๆ ได้ว่า มันดีหรือไม่ดี แต่ก็ยังมีโฮสติ้งอื่นๆ ที่ผมแนะนำเช่นกัน เช่น Cloudways, Hostatom, Ruk-Com แนะนำให้ไปอ่านบทความ WordPress Hosting ที่ไหนดี?
หากชอบบทความแนวนี้ สาระแบบนี้ ฝากกดไลค์ กดแชร์ด้วยคร้าบบ